ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมอง, ระบาดวิทยาโรคหลอดเลือดสมองบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นปัญหาสำคัญที่ควรเร่งหาแนวทางการจัดการอย่างตรงเป้าหมายและเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ งานวิจัยฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อหาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตอำเภอบางระจัน เพื่อใช้วางแผนการป้องกันและควบคุมโรคในเขตอำเภอบางระจันในอนาคต
วิธีวิจัย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ศึกษาเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ที่ขึ้นทะเบียนที่โรงพยาบาลบางระจัน ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2560
ผลการวิจัย ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเป็นเพศชาย ร้อยละ 55.7 อายุเฉลี่ย 64 ปี เป็นความดันโลหิตสูง ร้อยละ 79.4 คุมความดันโลหิตได้ดี ร้อยละ 54.4 เป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 26.7 คุมระดับน้ำตาลได้ดี ร้อยละ 67.7 สูบบุหรี่ร้อยละ 24.4 เป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 11.5 เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ร้อยละ 12.7 ดัชนีมวลกาย ≥ 23 kg/m2 ร้อยละ 48.1 มีระดับไขมันแอลดีแอล > 100 mg/dL ร้อยละ 68.5 อัตราการกรองของไต < 60 ml/min/1.73 m2 ร้อยละ 25 ผู้ป่วยมีสาเหตุเกิดจากหลอดเลือดสมองแตกร้อยละ 30 ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเป็นโรคเบาหวานและมีภาวะเสี่ยงเบาหวานมากกว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตก 1.9 (95%CI 0.72-5.3) และ 1.2 (95%CI 0.48-3.07) เท่าตามลำดับ พบตำบลสระแจงมีอัตราการเกิดผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองรายใหม่มากที่สุด และมีผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมาถึงโรงพยาบาลภายใน 3 ชั่วโมงหลังเกิดอาการในระยะเฉียบพลัน ร้อยละ 45.3
สรุปผล ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตอำเภอบางระจัน มีความเสี่ยงเรื่องดันโลหิตสูงมากเมื่อเทียบกับเขตอื่น และยังควบคุมความดันโลหิตได้น้อย มีภาวะอ้วนและน้ำหนักเกินมาก เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การเข้าถึงการรักษายังใช้ระยะเวลานาน เมื่อเกิดอาการในระยะเฉียบพลัน เพิ่มโอกาสเกิดภาวะทุพพลภาพภายหลังการเกิดโรคได้มาก
References
Feigin VL, Norrving B, Mensah GA. Global Burden of Stroke. Circulation research. 2017;120(3):439-48.
The top 10 causes of death 2017 [cited 2018 Mar 31]. Available from: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs310/en/.
Strong K, Mathers C, Bonita R. Preventing stroke: saving lives around the world. The Lancet Neurology. 2007;6(2):182-7.
Norrving B, Kissela B. The global burden of stroke and need for a continuum of care. Neurology. 2013;80(3 Suppl 2):S5-12.
Mukherjee D, Patil CG. Epidemiology and the global burden of stroke. World neurosurgery. 2011;76(6 Suppl):S85-90.
Suwanwela NC. Stroke Epidemiology in Thailand. Journal of Stroke. 2014;16(1):1-7.
กระทรวงสาธารณสุข ก. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2559 นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข;2560[cited2561 มีนาคม 31]. Available from: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_strategy2559.pdf.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2557. นนทบุรี: บริษัท เดอะ กราฟิโก ซิศเต็มส์ จำกัด 2560 พ.ศ.2560.
O'Donnell MJ, Xavier D, Liu L, Zhang H, Chin SL, Rao-Melacini P, et al. Risk factors for ischaemic and intracerebral haemorrhagic stroke in 22 countries (the INTERSTROKE study): a case-control study. Lancet (London, England). 2010;376(9735):112-23.
Hanchaiphiboolkul S, Poungvarin N, Nidhinandana S, Suwanwela NC, Puthkhao P, Towanabut S, et al. Prevalence of stroke and stroke risk factors in Thailand: Thai Epidemiologic Stroke (TES) Study. Journal of the Medical Association of Thailand = Chotmaihet thangphaet. 2011;94(4):427-36.
Poungvarin N. Burden of stroke in Thailand. International journal of stroke : official journal of the International Stroke Society. 2007;2(2):127-8.
Nilanont Y, Nidhinandana S, Suwanwela NC, Hanchaiphiboolkul S, Pimpak T, Tatsanavivat P, et al. Quality of acute ischemic stroke care in Thailand: a prospective multicenter countrywide cohort study. Journal of stroke and cerebrovascular diseases : the official journal of National Stroke Association. 2014;23(2):213-9.
Barker-Collo S, Bennett DA, Krishnamurthi RV, Parmar P, Feigin VL, Naghavi M, et al. Sex Differences in Stroke Incidence, Prevalence, Mortality and Disability-Adjusted Life Years: Results from the Global Burden of Disease Study 2013. Neuroepidemiology. 2015;45(3):203-14.
Tan CS, Muller-Riemenschneider F, Ng SH, Tan PZ, Chan BP, Tang KF, et al. Trends in Stroke Incidence and 28-Day Case Fatality in a Nationwide Stroke Registry of a Multiethnic Asian Population. Stroke. 2015;46(10):2728-34.
Yamanashi H, Ngoc MQ, Huy TV, Suzuki M, Tsujino A, Toizumi M, et al. Population-Based Incidence Rates of First-Ever Stroke in Central Vietnam. PloS one. 2016;11(8):e0160665.
Mehndiratta MM, Khan M, Mehndiratta P, Wasay M. Stroke in Asia: geographical variations and temporal trends. Journal of neurology, neurosurgery, and psychiatry. 2014;85(12):1308-12.
Chutarat Sathirapanya PS, Jammaree Trichan. Prevalence, Risk Factors of Stroke and Post Stroke Depression in Phatthalung Province: A Cross Sectional Study. Songkla Med J. 2014;32(5):275-82.
Venketasubramanian N, Yoon BW, Pandian J, Navarro JC. Stroke Epidemiology in South, East, and South-East Asia: A Review. J Stroke. 2017;19(3):286-94.
Khonputsa P, Veerman JL, Vos T, Aekplakorn W, Bertram M, Abbott-Klafter J, et al. Joint prevalence and control of hypercholesterolemia and hypertension in Thailand: third national health examination survey. Asia-Pacific journal of public health. 2012;24(1):185-94.
Chow CK, Teo KK, Rangarajan S, Islam S, Gupta R, Avezum A, et al. Prevalence, awareness, treatment, and control of hypertension in rural and urban communities in high-, middle-, and low-income countries. Jama. 2013;310(9):959-68.
Deerochanawong C, Ferrario A. Diabetes management in Thailand: a literature review of the burden, costs, and outcomes. Global Health. 2013;9:11.
Chen R, Ovbiagele B, Feng W. Diabetes and Stroke: Epidemiology, Pathophysiology, Pharmaceuticals and Outcomes. The American journal of the medical sciences. 2016;351(4):380-6.
Kuklina EV, Tong X, George MG, Bansil P. Epidemiology and prevention of stroke: a worldwide perspective. Expert review of neurotherapeutics. 2012;12(2):199-208.
Masson P, Webster AC, Hong M, Turner R, Lindley RI, Craig JC. Chronic kidney disease and the risk of stroke: a systematic review and meta-analysis. Nephrology, dialysis, transplantation : official publication of the European Dialysis and Transplant Association - European Renal Association. 2015;30(7):1162-9.
Binthaisong T, Panpakdee O, Orathai P, Ratanakorn D. Factors ralated to onset arrival time in patients with acute stroke. Kuakarun journal of nursing. 2013;20:15-29.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว