การศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่ง ก่อนและหลังใช้ แบบประเมิน Alvarado score
คำสำคัญ:
การผ่าตัดไส้ติ่ง, แบบประเมิน Alvarado scoreบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดไส้ติ่งก่อนและหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วย กลุ่มประชากรเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2560 วินิจฉัยว่าเป็นไส้ติ่งอักเสบและได้รับการผ่าตัด Appendectomy จำนวน 1006 คน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มก่อนใช้แบบประเมิน Alvarado score จำนวน 466 คน และกลุ่มหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score จำนวน 540 คน ศึกษาข้อมูลเปรียบเทียบเกี่ยวกับลักษณะส่วนบุคคล ลักษณะทางคลินิก และผลการดูแลรักษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ Chi-Square Test และ t-test
ผลการศึกษา : ในการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกันด้านอายุ ระยะเวลาที่ปวดท้องก่อนมาถึงโรงพยาบาล และจำนวนเม็ดเลือดขาว WBC ซึ่งเป็นผลจากความแตกต่างของการวินิจฉัยที่เร็วขึ้น โดยผลการดูแลรักษา พบว่า ด้านระยะเวลาการวินิจฉัย ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และค่ารักษาพยาบาลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.00 อัตราการเกิดไส้ติ่งแตก และอัตราการวินิจฉัยผิดพลาดในกลุ่มผู้ป่วยหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score น้อยกว่ากลุ่มก่อนใช้แบบประเมิน Alvarado score และพบว่าการใช้แบบประเมิน Alvarado score มีความสัมพันธ์กับการเกิดไส้ติ่งแตกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p ≤ .01) โดยกลุ่มก่อนใช้แบบประเมิน Alvarado score จะมีความเสี่ยงการเกิดไส้ติ่งแตก มากกว่า 2.46 เท่าของกลุ่มหลังใช้แบบประเมิน Alvarado score (95% CI : 2.302-2.707)
สรุป อภิปรายผล : จากผลการศึกษาการใช้แบบประเมิน Alvarado score สามารถใช้ในการวินิจฉัยไส้ติ่งอักเสบได้ง่าย และเร็วขึ้น เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับผู้ป่วยที่สงสัยไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันหรือมาด้วยอาการปวดท้องทุกราย เพราะจะสามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณารับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้
References
Wagner JM, Mckinney WP,Carpenter JL. Does this patient have appendicitis. JAMA.1996; 276(19): 1589-94.
DeKoning EP. Acute appendicitis. In : Tintinalli JE, editor. Tintinalli's Emergency Medicine: a comprehensive study guide. 7th ed. New York: Mc Graw Hill. 2011; 574-8.
Jaffe BM, Berger DH. The Appendix In: Brunicardi FC, Anderson DK, Biliar TR, Dunn DL, Hunter JG, Pollock RE., editors. Swartz’s Principle of Surgery. 8th ed. Mcgraw-Hill In; 2005. 119-37.
Khan I, Rehman AU. Application of Alvarado scoring system in diagnosis of acute appendicitis. J Ayub Med Coll Abbottabad. 2005; 17(13) : 41-44.
Sanei B, Mahmoodieh M, Hosseipour M. Evaluation of validity of Alvarado scoring system for diagnosis of acute appendicitis. Pak J Med Sci. 2009; 25 (2): 298 -301.
Chatbanchachai W, Hedley AJ, Ebrahim SB, Areemit S, Hoskyns EW, de Dombal FT. Acute abdominal pain and appendicitis in north east Thailand. Paediatr Perinat Epidemiol. 1989; 3(4): 448-459.
Owen TD, Wiliams H, Stiff G, Jenkinson LR, Ree BI. Evaluation of the Alvarado score in acute appendicitis. J R Soc Med. 1992; 85: 87-88.
Kaewkungsdarn V, Tiewprasert P. Evaluation of Alvarado score in Acute appendicitis for Acute appendicitis diagnosis. J asso Gen Surg Thailand. 2004; 1(1): 8-16.
Singh K, Gupta S, Pargal P. Application of Alvarado scoring System in Diagnosis of Acute appendicitis. JK sci. 2008; 10(2): 84-86.
Memon AA, Vohra LM, Khaliq T, Lehri AA. Diagnostic Accuracy of Alvarado score in the Diagnosis of acute appendicitis: Pak J Med Sci. 2009; 31(1): 118-121.
Ben-David K, Sarosi GA. Appendicitis. In: Feldman M, editor. Feldman: Sleisenger and Fordtran's gastrointestinal and liver disease. 9th ed: Amsterdam: Elsevier Inc. 2010: 2059-70.
Ho HS. Appendectomy. In:Souba WW, Fink MP, Jurkovich GJ, Kaiser LR, Pearce WH, Pembertom JH, Soper NJ., editors. ACS Surgery Principles & Practice. WebMD Inc; 2004. 598-606.
Jaffe BM, A"rg", DH. The appendix. ln: Brunicard, editor. Schwartz's principle of surgery. 8'h ed. USA : McGraw-Hill; 2005. 1119-38.
พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์, ยุวเรศมคฐ์ สิทธิชาญบัญชา. การศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะไส้ติ่งอักเสบแตกในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี. Thammasat Medical Journal. 2013; 13 (1). 36-42.
ไพรัตน์ สระโสม. ความถูกต้องในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลันของ Alvarado score. ขอนแก่น เวชสาร. 2554; 35(1): 32-39.
วิริยะ แก้วกังสดาล และปิยะ เตียวประเสริฐ. การประเมิน Alvarado score ในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะ ไส้ติ่งอักเสบฉับพลัน เพื่อการวินิจฉัย โรคไส้ติ่งอักเสบฉับพลัน. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2547; 57(2): 59-67.
เนตรา เนตรโพธิ์แก้ว. การประเมินผลของการใช้ระบบคะแนน Alvarado score ในการวินิจฉัยโรคไส้ติ่งอักเสบ. วารสารสมาคมศัลย์แพทย์ทั่วไปแห่งประเทศไทย. 2560; 2: 3-16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว