การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ร่วมกับภาวะผิดปกติของสมดุลแร่ธาตุและกระดูก
คำสำคัญ:
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ความผิดปกติของสมดุลแร่ธาตุและกระดูกบทคัดย่อ
โรคไตเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตมีความผิดปกติหรือสูญเสียหน้าที่อย่างต่อเนื่องนานกว่า 3 เดือน เมื่อไตวายถึงระยะสุดท้ายอัตราการกรองของไตลดลงน้อยกว่า 15 มล./นาที/1.73ตรม./ปี ส่งผลให้ไตไม่สามารถทำหน้าที่กรองของเสีย รักษาสมดุลของน้ำ กรดด่าง เกลือแร่ได้ ผู้ป่วยจำเป็นต้องรักษาโดยการบำบัดทดแทนไต การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้พยาบาลไตเทียมจึงมีบทบาทสำคัญในการประเมิน วางแผน เฝ้าระวังและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมถึงการดูแลแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างปกติสุข
การศึกษาผู้ป่วยรายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ รายงานการพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ที่รับการรักษาโดยวิธีฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นระยะเวลานานร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุความผิดปกติของสมดุลแร่ธาตุ และกระดูก โดยผู้ป่วยชายไทย อายุ 28 ปี สถานภาพสมณะ ได้รับการวินิจฉัยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย รักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพระพุทธบาทมานาน 10 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอาการปวดต้นขาซ้ายเนื่องจากขาซ้ายกระแทกพื้นขณะญาติพาเข้าห้องน้ำ ส่งตรวจเอ็กซเรย์พบกระดูกต้นขาซ้ายหัก (Close fracturesubtrochanter of Lt. femur) แพทย์ให้การรักษาโดยใส่ skin traction ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาลผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ได้ให้การพยาบาลและแก้ไขปัญหาต่างๆทั้งในระยะก่อนฟอกเลือด ระหว่างฟอกเลือด หลังเสร็จสิ้นการฟอกเลือด และดูแลต่อเนื่อง ได้แก่ การประเมินผู้ป่วยก่อนฟอกเลือด การดูแลเฝ้าระวังและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือด หลังฟอกเลือด
นอกจากนี้ความผิดปกติของสมดุลแคลเซียม ฟอสเฟต ซึ่งเป็นสาเหตุให้กระดูกผุและแตกหักง่ายทำให้ผู้ป่วยขาดความมั่นใจในการเคลื่อนไหวร่างกาย สภาพดังกล่าวจึงไม่เหมาะสมต่อการเดินทางไปฟอกเลือด พยาบาลต้องให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลในการตัดสินใจเปลี่ยนเป็นวิธีล้างไตทางช่องท้อง ให้ความรู้ การฝึกปฏิบัติการล้างไตทางช่องท้อง และวางแผนจำหน่ายเมื่อสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง การให้การพยาบาลแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่องนับว่าสำคัญมากแม้ว่าผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตนเองที่บ้านและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้วก็ตาม
References
ทวี ศิริวงศ์และคณะ.2011 Standard of Care in Kidney Disease. คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น : หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.2554.
บัญชา สถิระพจน์และคณะ.ESSENTIAL NEPHROLOGY. โครงการตำราวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์.2557.
ประเสริฐ ธนกิจจารุ.ตำราการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมและการพยาบาล. มูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.2551.
พงศธร คชเสนี และคณะ. Essential in Hemodialysis. กรุงเทพฯ: บริษัท เท็กซ์ แอนด์เจอร์นัล พับลิเกชั่น.2557.
สมชาย เอี่ยมอ่อง และคณะ.TEXTBOOK OF HEMODIALYSIS. กรุงเทพฯ : บริษัท เอ ไอ พริ๊นติ้งจำกัด.2553.
อิษณี พุทธิมนตรีและคณะ.INTEGRATE NURSING CARE IN DIALYSIS. กรุงเทพฯ : กรุงเทพเวชสาร.2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว