ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงานโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • ทองสุก ศรีจำปา ฝ่ายสวัสดิการสังคม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงาน, โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงานโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จำนวน 312 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการบริหารงาน ความคิดเห็นต่อการบริหารงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน นัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05  

ผลการวิจัยพบว่า ระดับปัจจัยที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ วัฒนธรรมองค์กร (= 3.56) ระดับปานกลาง ได้แก่ โครงสร้างองค์กร (= 3.36) ภาวะผู้นำ (= 3.32) การบังคับบัญชาและอำนาจในการตัดสินใจ (= 3.17) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (= 3.09) และการบริหารทรัพยากรบุคคล (= 3.08) ส่วนระดับการบริหารงานอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจภาครัฐ และด้านประโยชน์สุขต่อประชาชน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานในระดับสูง ได้แก่ โครงสร้างองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล การบังคับบัญชาและอำนาจในการตัดสินใจ (r = .805, .772 และ .708) และมีทิศทางเดียวกัน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานในระดับปานกลาง ได้แก่ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร และแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (r = .681, .677 และ .601) และมีทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < 0.001

สรุปได้ว่า โครงสร้างองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล การบังคับบัญชาและอำนาจในการตัดสินใจ  มีความสัมพันธ์กับการบริหารงาน (p < 0.001) จึงควรเน้นเรื่องโครงสร้างองค์กร การบริหารทรัพยากรบุคคล การบังคับบัญชาและอำนาจในการตัดสินใจเป็นอันดับแรก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ทำให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพ

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์. 2559.

Schermerhorn, J. R., Jr. Management 9 e. Associate Publisher Judith R: Joseph. 2008.

Lim & et al.Human Resource Management.Singapore:Cengage Learning Asia Pte Ltd. 2010.

Bateman, Thomas S. and Snell, Scott A. Management :Leading and Collaborating in the Competitive World (8 th ed.). New York:McGraw-Hill/ Irwin Corporation Inc.2009.

Bovee & et al. Management. New York: McGraw–Hill. 1993.

Koontz, Harold and Weihrich; Heinz. Planning, Doing and Reviewing. Retrieved March 15, 2018. From:https://books.google.co.th/books?isbn=1134019904.1988.

Peter, Tomas J. & Robert H. Waterman, Jr. In Search of Excellence: Lessons from America’s Best-Run Companies. New York: Harper & Row Publishers.1982.

ฉัตรา โพธิ์พุ่ม. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานของโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน).วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 2556.

Yamane, Taro. Statistics; An introductory analysis. New York: Harper & Row. 1973.

สุทัศน์ ฟังประเสริฐกุล. รูปแบบการบริหารพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนและพึ่งพาตนเอง กรณีศึกษา : พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ้านภัณฑารักษ์. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 2558.

มกรพ์พล พันสวัสดิวง และชัยวุฒิ จันมา. การพัฒนาการบริหารตามกระบวนการบริหารและทักษะการบริหารของผู้บริหารระดับต้นในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 2560; 11(24): 9-19.

เสาวลักษณ เอี่ยมละออ และคณะ. ความสัมพันธระหวางการบริหารงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับประสิทธิผลการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 4. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2555; 6(3): 85-93.

Dubrin, A. J. & Ireland, R. D. Management and organization (2nd ed.). Cincinnati, OH: South-Western Publishing. 1993.

ปิยะวัฒน์ แสงบัณฑิต. ปัจจัยการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ส่งผลต่อการให้บริการด้านสุขภาพ กรณีศึกษา : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่านัด อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. การศึกษาอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-06-2022