การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน, ยาละลายลิ่มเลือดบทคัดย่อ
กรณีศึกษาหญิงไทย วัย 72 ปี เข้ารับการรักษาใน stroke unit หอผู้ป่วยอายุรกรรมชายโรงพยาบาลสิงห์บุรี เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 มาโรงพยาบาล ด้วยอาการ 30 นาทีก่อน ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด แขนขาซ้ายอ่อนแรง ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นความดันโลหิตสูงและระดับไขมันในเลือดสูง 5 ปี และเบาหวาน 3 ปี รับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี แต่ควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในได้ไม่ดี แพทย์วินิจฉัยว่าเป็น Acute ischemic stroke with Stroke fast track และ CT brain พบ Moderate brain atrophy,No demonstrable intracranial hemorrhage.NIHSS 7 BW 55.4 kgs. แพทย์รักษาโดยการใช้ยาละลายลิ่มเลือด (rtPA) หลังจากได้ยาละลายลิ่มเลือด ครบ 24 ชั่วโมง ส่ง CT brain ซ้ำ พบ Hypodense lesion involed right parietooccipital lobe, possibly acute infarction of right PCA territory. ประเมินการกลืน พบว่ากลืนได้ปกติและสามารถรับประทานอาหารอ่อนจืดเบาหวานได้ ซึ่งบทบาทของพยาบาลมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความสามารถในการดูแลให้การพยาบาลในก่อนและหลังการให้ยาละลายลิ่มเลือด เพื่อติดตามประเมินอาการเปลี่ยนแปลงและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ จนอาการคงที่ แล้วจึงส่งทำกายภาพบำบัด นอนโรงพยาบาลเป็นระยะเวลา 6 วัน จึงจำหน่าย โดยผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองได้ และนัดติดตามอาการที่คลินิกโรคหลอดเลือดสมอง
การพยาบาล ทั้งด้านร่างกายและจิตใจในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในทุกระยะ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
References
American stroke Association. “. Learn about stroke2008.” [Internet].[cited 19 May 2019]. available form: URL://www. strokeassociation.org/Presenter.jhtml.
นลินี พสุคันธภัค สายสมร บริสุทธิ์, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. “แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป สถาบันประสาทวิทยา.” กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด, 2559.
กิ่งแก้ว ปาจรีย์. “การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ.” กรุงเทพฯ: บริษัท แอล. ที.เพรส, 2557.
เสาวลักษณ์ กองนิล. “การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบ.”วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกัน. กรุงเทพฯ: 2557;4(1): 90-97.
Hacke, W., Kaste , M., Skyhoj Olsen, T., Hacke, W., Orgogozo, J.M. For the EUSI Executive Committee.“Acute treatment of ischemic stroke.” Cerebrovasc.2000;10 (3): 22-33.
Hickey, J.A. “The Clinical Practice of Neurological and Neurosurgical Nursing.” 5thed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2003:164-165.
World Health Organization. “. World stroke Campaign.2015.” [Internet].[cited 18 May 2019]. available form:htt://www. World-strokeassociation.org/advocacy/world-stroke-campaiggn.
งานเวชระเบียน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. “รายงานสถิติประจำปี2558-2561.” เอกสารอัดสำเนา.
ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์. “Ambulatory Neurology.” กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 2558.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว