คุณภาพบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ปราณี มีหาญพงษ์ -

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการพยาบาล, การผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์

บทคัดย่อ

การศึกษาศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพบริการพยาบาล  ตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิงและเปรียบเทียบคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การพักรักษาตัวในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิง ผู้วิจัยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้ผู้ป่วยจำนวน 140 คน เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดเฉพาะวันคู่ ไม่เว้นวันหยุดราชการ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามคุณภาพบริการพยาบาล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการศึกษา พบว่า

  1. คุณภาพบริการพยาบาลโดยรวมตามการรับรู้ที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิงอยู่ในระดับมาก  ( = 3.96, SD = 1.00)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านและพบว่าด้านความเป็นรูปธรรมอยู่ในระดับมากแต่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( = 3.89, SD = 0.90)
  2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิงที่มีอายุ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน พบว่า ผู้ป่วยที่มีอายุ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาลที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (F = .649, p=.52 และ F = .664, p=.57 ตามลำดับ)
  3. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรม ออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิง พบว่าผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลที่แตกต่างกัน มีการรับรู้คุณภาพบริการพยาบาล ที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 (t= - .088, p = .90)

จากผลการศึกษาครั้งนี้หัวหน้าหอผู้ป่วยควรส่งเสริมให้พยาบาลรักษาระดับพฤติกรรมบริการไว้ให้คงที่หรือเพิ่มมากขึ้น ควรเพิ่มการพัฒนาคุณภาพบริการด้านความเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิงรับรู้คุณภาพบริการมากขึ้น

 

References

กฤษดา แสวงดี, ธีรพร สถิรอังกูร, อมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์. การประกันคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล: แนวทางการประเมินคุณภาพภายใน. นนทบุรี: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2547.

หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย- หญิง โรงพยาบาลสิงห์บุรี . สถิติการผ่าตัดหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย – หญิง; 2560.

วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม และคณะ. ตำราออร์โธปิดิกส์ เล่ม 2. สมาคมออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซท; 2539.

Kneedler JA, Dodge GH. Perioperative patient care: the nursing perspective: Jones & Bartlett Learning; 1994.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล; 2549.

Omachonu VK. Quality of care and the patient: New criteria for evaluation. Health Care Manage Rev. 1990; 15(4): 43-50.

Zeithaml VA, Parasuraman A, Berry LL. Delivering quality service: Balancing customer perceptions and expectations: Simon and Schuster; 1990.

กิ่งแก้ว ทรัพย์พระวงศ์. จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: ไทยเจริญการพิมพ์; 2552.

จิราภา เต็ง ไตรรัตน์ และคณะ. จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2554.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice; 2006.

Rehnström L, Christensson L, Leino‐Kilpi H, Unosson M. Adaptation and psychometric evaluation of the Swedish version of the Good Nursing Care Scale for Patients.Scand J Caring Sci. 2003; 17(3):308-14.

Leinonen T, Leino‐Kilpi H, Ståhlberg MR, Lertola K. The quality of perioperative care: development of a tool for the perceptions of patients. J Adv Nurs.2001; 35(2):294-306.

. Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. Delivery quality service: Balancing customer perception and expectation. New York: Free Press; 1990.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานการบริการในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2550.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานบริการสาธารณสุข (พิมพ์ครั้งที่ 2 ปรับปรุงแก้ไข). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย; 2550.

Taro Yamane. Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York. Harper and Row Publications; 1973.

เรืองฤทธิ์ ศรีนัครินทร์. คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยนรีเวชกรรม โรงพยาบาลสกลนคร. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2558.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560. (2560) เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2562, จาก: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20180315154733_1_.pdf

สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.ยุทธศาสตร์การบริการพยาบาลระดับประเทศ พ.ศ. 2556 – 2560. กรุงเทพฯ: มหานครกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2560

วนิดา สิงโต. การพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้รับบริการหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลชัยนาท. งานนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์; 2549.

พิศมัย กองทรัพย์. คุณภาพการพยาบาลในระยะคลอดและระยะหลังคลอดตามการรับรู้ของผู้คลอดในโรงพยาบาลสกลนคร. งานนิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารการพยาบาล,คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2556.

โศรดา ชุมนุ้ย. คุณภาพบริการพยาบาลตามการรับรู้ของผู้ป่วยใน โรงพยาบาลร่องคา จังหวัดกาฬสินธ์.

ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554.

โสรยา พูลเกษ. ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร.ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารและนโยบายสวัสดิการ สังคม).ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2550.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, 2560. (2560) เข้าถึงเมื่อ 4 มีนาคม 2562, จาก: http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20180315154733_1_.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022