การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยวิธีการล้างไตทางช่องท้อง (DM with END Stage Renal Disease : CAPD)

ผู้แต่ง

  • พจี สมปอง -

คำสำคัญ:

เบาหวาน, ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้อง

บทคัดย่อ

กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 44 ปี ตรวจพบเป็นโรคเบาหวานมา 10 ปี ผู้ป่วยมีปัญหาควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีภาวะแทรกซ้อนทางไต แพทย์วินิจฉัยเป็นโรคไตเรื้อรังมา 3 ปี ผู้ป่วยรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลสระโบสถ์  มาโรงพยาบาลบ้านหมี่ ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก CKD Clinic ได้ใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ในระยะก่อนการตรวจ ขณะตรวจ และหลังการตรวจ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาที่รวดเร็ว เหมาะสม โดยพยาบาลประเมินคัดกรอง ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ และประเมินแบบแผนสุขภาพ   แพทย์ตรวจร่างกายวินิจฉัยโรค DM with End Stage Renal Disease ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ Hyperkalemia ได้ดูแลผู้ป่วยประสานรับยาด่วน stat dose จากฝ่ายเภสัชกรรม เฝ้าระวัง อาการผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจและมีความวิตกกังวลในการปฏิบัติตัวในการเตรียมผ่าตัดวางสายล้างไตทางช่อง ได้ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติในการปฏิบัติตัว การจัดสิ่งแวดล้อมที่บ้าน ประสานทีมสหสาขา ส่งปรึกษานักโภชนากรให้ความรู้เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เพียงพอ และการแปลงเมนูอาหารให้ได้ปริมาณโปรตีน จำกัดปริมาณโซเดียม หลังได้รับการตรวจรักษา ผู้ป่วยอาการดีขึ้น ทุเลาเหนื่อย ประสานการส่งต่อผู้ป่วยนอนโรงพยาบาล เพื่อผ่าตัดวางสายล้างไตทางช่องท้อง ได้ติดตามผู้ป่วยในขณะที่นอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยไม่พบภาวะแทรกซ้อนขณะผ่าตัด จำหน่ายกลับบ้านรวมอยู่โรงพยาบาล 4 วัน ผู้ป่วยมาตรวจตามนัด ที่ห้องผู้ป่วยนอก ได้ประสานส่งข้อมูลให้ทีมเยี่ยมบ้านและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สระโบสถ์ ออกไปเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสถานที่และความพร้อมของครอบครัวผู้ป่วยอีกครั้ง แพทย์นัดตรวจทุก 1 เดือน ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล ผู้ป่วยสามารถปรับตัวได้ ผู้ป่วยและญาติมีข้อมูลเบอร์โทรศัพท์ของพยาบาล สามารถติดต่อได้เมื่อมีปัญหาสุขภาพ และทุกครั้งที่มาตรวจตามแพทย์นัดจะมีการทบทวนความรู้และการปฏิบัติตัวโดยดูผลการตรวจเลือด ประกอบคำแนะนำทุกครั้งที่ CKD Clinic ห้องผู้ป่วยนอก

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือการดูแลผู้ป่วยเบาหวาที่มีภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สิ่งสำคัญ คือทีมผู้ดูแลต้องความรู้ความสามารถ มีจิตบริการ มีความตั้งใจ ในการเสริมพลังให้ผู้ป่วยและครอบครัวให้มีความมั่นใจ ในการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง การติดต่อประสาน งานกับทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อการดูแลและการติดตามประเมินผล ในการดูแลแบบองค์รวม

References

สถิติเวชระเบียน.กลุ่มงานเวชระเบียนโรงพยาบาลบ้านหมี่, 2561.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์ และคณะ (บรรณาธิการ). คู่มือแนะนำการล้างไตทางช่องท้อง ฉบับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด (มหาชน), 2553.

ธนันดา ตระการวนิช และวิจิตรา กุสุมภ์. ไตวายเรื้อรัง ใน วิจิตรา กุสุมภ์ (บก). การพยาบาลผู้ป่วยภาวะไตวาย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล สหประชาพาณิชย์, 2554.

สมชาย เอี่ยมอ่อง, เกรียง ตั้งสง่า และเกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. โรคไต กลไก พยาธิสรีรวิทยา การรักษา. กรุงเทพฯ: เท็กซ์ แอน เจอร์นัล, 2558.

ทวี ศิริวงศ์. แนวปฏิบัติล้างไตทางช่องท้อง พ.ศ. 2550. นนทบุรี: สานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, 2550.

ชนะชัย จันทร์คิด. ผลการดาเนินงานคลินิกล้างไตทางช่องทองโรงพยาบาลวิเชียรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, ตุลาคม 2555 – มีนาคม 2556.2556; 22:1005-1010

ศรินยา พลสิงห์ชาญ. การปรับตัวของผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบถาวร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2558.

นฤมล แก่นสาร. การพยาบาลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มีการติดเชื้อของเยื่อบุช่องท้อง.วารสารโรงพยาบาล มหาสารคาม ,พฤษภาคม – สิงหาคม.2558; 12:81-91.

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุศย์. เอกสารประกอบการประชุมเพื่อจัดทำเกณฑ์การประเมินความพร้อมของหน่วยบริการที่ให้บริการทดแทนไต สำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ด้วยวิธีการล้างไตผ่านทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง และจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรของหน่วยงานที่จะให้บริการ CAPD ในเขตพื้นที่ภาคกลาง. กรุงเทพมหานคร. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

นันทา มหันธนันท์. Nursing aspect for CAPD. ใน: สมชาย เอี่ยมอ่อง, บรรณาธิการ. Textbook of Peritoneal Dialysis. กรุงเทพมหานคร: เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น; 2551.

นุชจรีย์ หอมนาน. การสอนผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง. ใน: ทวี ศิริวงศ์, บรรณาธิการ. Update on CAPD 2007. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550. p. 89 - 95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022