ความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยการตรวจพิเศษ ทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียม โรงพยาบาลบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • วศินันท์ พลพืชน์ -

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, การตรวจพิเศษทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยการตรวจพิเศษทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับบริการที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีข้อบ่งชี้และสงสัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักมารับบริการการตรวจพิเศษทางรังสีโดยการสวนแป้งแบเรียมที่แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลบ้านหมี่ ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2557 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยที่รังสีแพทย์เป็นผู้ตรวจและแปลผลการตรวจคนเดียวกัน จำนวน 195 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ หาความเที่ยงได้เท่ากับ 0.96 หลังจากนั้นเก็บข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสหสัมพันธ์

ผลการวิจัย พบว่า ในจำนวนผู้มารับบริการ 195 ราย พบความผิดปกติจำนวน 82 ราย (42.05%) ลักษณะทางรังสีที่ตรวจพบส่วนใหญ่เป็นโรคถุงผนังลำไส้ใหญ่ (diverticular disease) จำนวน 56 ราย (68.29%) รองลงมาเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักจำนวน 26 ราย (31.71%) ตำแหน่งของโรคที่ตรวจพบมากที่สุด คือ บริเวณทวารหนัก (Rectum) จำนวน 8 ราย (30.78%) รองลงมาเป็นบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (Transverse colon) จำนวน 6 ราย (23.08%) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่า เพศ อายุ โรคประจำตัว อาการที่มาโรงพยาบาล ระยะเวลาที่มีอาการผิดปกติ มีประวัติโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว การดื่มสุราการรับประทานเนื้อสัตว์และอาหารมัน การรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง และมีประวัติการขับถ่ายผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบความผิดปกติจากการตรวจหาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักโดยการตรวจพิเศษทางรังสีด้วยการสวนแป้งแบเรียมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

สรุป การตรวจพิเศษทางรังสีโดยการสวนแป้งแบเรียม เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และทวารหนักยังคงเป็นการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคที่ดีในปัจจุบันและจากการศึกษาปัจจัย พบว่าล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สามารถป้องกันได้ทั้งสิ้น จึงควรมีการให้ความรู้และรณรงค์เพื่อลดความเสี่ยง

References

ชัยวัฒน์ เชิดเกียรติกุลม, ภัชภิชา แสงจันทร์, วันพามี ผิวทอง.การตรวจพิเศษรังสีลำไส้ใหญ่. Journal of Siriraj Radiology. 2018; 2: 21-29.

Landis SH, Murray T, Bolden S, Wingo PA. Cancer statistics, 1998. CA Cancer J Clin. 1998; 48:6–29

Scott NA, Wieand HS, Moertel CG, Cha SS, Beart RW, Lieber MM. Colorectal cancer: Dukes’ stage, tumor site, preoperative plasma CEA level, and patient prognosis related to tumor DNA ploidy pattern. Arch Surg. 1987; 122: 1375–9.

Dukes CE. The classification of cancer of the rectum. J Pathol Bacteriol 1932 ; 35 : 323–32.

กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลบ้านหมี่. ประชุมวิชาการของหน่วยงาน พ.ศ. 2561. โรงพยาบาลบ้านหมี่

Eivind Strom, John L. Larsen. Colon cancer at barium enema examination and colonoscopy: A study from the Country of Hordaland, Norway. Radiology 1999;211(1).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: วี. อินเตอร์พริ้นท์, 2551.

Cohen, J. Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). New York: Lawrence Erlbaum Associate. 1992.

บรรลือ เฉลยกิตติ และคณะ. มะเร็งลำไส้ใหญ่ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. พ.ศ. 2542-2548 และอัตราการรอดชีวิต 5 ปี. เวชสารแพทย์ทหารบก. 2549; 59: 189-98.

Revathy B. lyer, Paul M. Silverman, Ronelle A. Dubrow and Chuslip chamsangavej. Imaging in the Diagnosis, Staging, and Follow-up of colorectal cancer. American Journal of Roentgenology 2002; Vol 179(1).

วิมลรัตน์ เด¬ชะ, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด. วารสารเกื้อการุณย์. 2559; 23 : 133-47.

สุวิมลกิมปี,สุพรดนัยดุษฎีกุล, กนกวรรณบุญสังข์, วิรุณบุญนุช. ปัจจัยทำนายระยะเวลาก่อนการรักษาของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2558; 31. 2 : 16-25.

วิมลรัตน์ เดชะ, รุ้งระวี นาวีเจริญ. ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่มีทวารเทียมและได้รับเคมีบำบัด. วารสารเกื้อการุณย์ ; 23(1) : 133-46.

Mc Caffery K, Wardle J, Waller J. Knowledge, attitudes, and behavioral intentions in relation to the early detection of colorectal cancer in the United Kingdom. Prev Med. 2003;36(5):525-35.

JudyYee. CT screening for colorectal cancer : Radiographics 2002; 22: 1525-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022