ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วยและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

ผู้แต่ง

  • ผาสุก มั่นคง Singburi Hospital

คำสำคัญ:

การรับรู้การเจ็บป่วย, โรคหลอดเลือดสมอง, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ที่มารับบริการที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ โรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 197 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้การเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้การเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r =.385 , p < .01 )

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ให้พยาบาลและทีมบุคลากรทางสุขภาพนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง โดยการสร้างเสริมการรับรู้การเจ็บป่วย

References

Moser, D. K., Kimble, L. P., Alberts, M. J., Alonzo, A., Croft, J. B., Dracup, K. & et al. Reducing delay in seeking treatment by patients with acute coronary syndrome and stroke. Circulation. 2006; 11: 168-182.

Roger, V. L., Go, A. S., Lloyd-Jones, D. M., Adams, R. J., Berry, J. D., Brown, T. M., & et al., Heart disease and stroke statistics--2011 update: a report from the American Heart Association. Circulation. 2011; 18: 426.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. จำนวนและอัตราตายต่อประชากร 100,000 คน จำแนกตามสาเหตุที่สำคัญ พ.ศ. 2548- 2552. สืบค้นวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553, จาก http://bps.ops.moph.go.th/ Statistic/2.3.4-52.pdf.

Rosamond, W., Flegal, K., Furie, K., et al. Heart Disease and Stroke Statistics—2008 Update: A Report from the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation, 2008; 117: 25-146.

ตวงทิพย์ บินไทยสงค์, อรสา พันธ์ภักดี, พิศสมัย อรทัย, และดิษยา รัตนากร.ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะเวลามาถึงโรงพยาบาลหลังจากเกิดอาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. Kuakarun Journal of Nursing. 2013; 20: 15-29.

สมาคมโรคหลอดเลือดสมองแห่งประเทศไทย. วันโรคหลอดเลือดสมองโลก (Stroke Awareness Day). กรุงเทพฯ: สถาบันประสาทวิทยา. 2550.

National Stroke Association. What is stroke?. Retrieved January 10, 2009, from http://www.stroke.org/site/PageServer?pagename=stroke.

Hickey, A., Hanlon, A., McGee, H., Donnellan, C., Shelley, E., Horgan, F. & et al. Stroke awareness in the general population: knowledge of stroke risk factors and warning signs in older adults. Biomedcentral geriatric, 2009; 9: 35.

Leventhal, H. The common sense model of illness representation: Theoretical and practical considerations. Social Distress and the Homeless, 5(1), 11-38.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. Nursing research: Principle and Method (6th ed.). Philadelphia: Lippincott, P.P. 416-417. 1999. and Lung, 26, 253-252. 1997.

ผาสุก มั่นคง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย บุคลิกภาพที่เข้มแข็ง การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. วิทยานิพน พยาบาลศาสตรมหาบัณทิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557.

ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2542.

ผาสุก มั่นคง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022