ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วยและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

ผู้แต่ง

  • ผาสุก มั่นคง Singburi Hospital

คำสำคัญ:

การรับรู้การเจ็บป่วย, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 197 ราย สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์การรับรู้การเจ็บป่วย และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

            ผลการวิจัย พบว่า การรับรู้การเจ็บป่วย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 557, p < .01 ตามลำดับ)

          จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะ ให้พยาบาลและทีมบุคลากรทางสุขภาพนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โดยการสร้างเสริมการรับรู้การเจ็บป่วย

References

American Heart Association. Heart disease and stroke statistic-2012 update. Texas: American Heart Association. 2012.

เกรียงไกร เฮงรัศมีและกนกพร แจ่มสมบูรณ์. มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. กรุงเทพฯ: สุขขุมวิทการพิมพ์. 2555.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2554 – 2559. กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ). 2559.

งานเวชระเบียนและสถิติโรงพยาบาลสิงห์บุรี. สถิติผู้ป่วยใน 2559 – 2561.

Srimahachota, S., Kanjanavanit, R., & Boonyaratabej, S. Demographic, management practice and inhospital outcomes of Thai acute coronary syndrom registry (TACSR): The difference from the western world. In C. Prajaomao (Ed.), Thai acute coronary syndrome registry. Bangkok: Health. pp. 10-14. 2006.

LeMone, P., & Burke, K. M. (2000). Medical-surgical nursing: Critical thinking in client care. California: Addison-Wesley. Lesneski, 2008.

Meijer, A., Conridi, H. J., Bos, E. H., Thombs, B. D., Melle, J. P., & Jonge, P. Prognostic association of depression following myocardial infarction with mortality and cardiovascular events: a meta-analysis of 25 years of research. General Hospital Psychiatry: 33, 203-216. 2011.

เบญจมาศ แสนแสง. การดูแลผู้ป่วยที่ตรวจสวนหัวใจและขยายหลอดเลือดหัวใจตีบ (PTCA). ในเพลินตา ศิริปการ, สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ, กาญจนา สิมะจารึก, และชวนพิศ ทำนอง (บรรณาธิการ), การปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผู้ใหญ่ระยะวิกฤต. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา. หน้า 187-211. 2551.

เชิญขวัญ อินทร์แก้ว, พิกุล บุญช่วง, ประทุม สร้อยวงค์. ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและอาการเจ็บอกในผู้ป่วยที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย. พยาบาลสาร. 42.2558.

Leventhal, H. The common sense model of illness representation: Theoretical and practical considerations. Social Distress and the Homeless, 5(1), 11-38. 1996.

Polit, D. F., & Hunger, B. P. Nursing research: Principles and methods (7thed.) Philadelphia:Lippincott. 2004.

ผาสุก มั่นคง. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย บุคลิกภาพที่เข้มแข็ง การสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ที่เข้าเกณฑ์ภาวะเมตาบอลิกซินโดรม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณทิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2557.

ประคอง กรรณสูตร. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2542.

สิริลักษณ์ วินิจฉัย. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเจ็บป่วย พฤติกรรมการรับประทานอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายของผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์อ้วนลงพุง.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณทิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

17-06-2022