การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง โดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ประภัสสร วีระประสิทธิ์ กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, การฝังเข็ม, แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว, ระยะสำคัญของการฟื้นฟู, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

บทนำ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางหลังจากพ้นระยะวิกฤต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางให้มีประสิทธิภาพ

วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากพ้นระยะวิกฤต รายกรณีแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 1 ราย ที่โรงพยาบาลท่าวุ้ง  ติดตามประเมินผลการดูแลรักษา ตั้งแต่รับกลับมาดูแลรักษาในโรงพยาบาลด้วยโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง จำนวน 10 วัน และดูแลต่อเนื่องในชุมชน ช่วงเวลาสำคัญของการฟื้นฟู (Golden period for stroke rehabilitation) ในระยะเวลา 6 เดือนระหว่างเดือนตุลาคม 2563 – มีนาคม 2564

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยก่อนเข้าโปรแกรมการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางโรงพยาบาลท่าวุ้ง มีอาการแขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด กำลังกล้ามเนื้อ : แขนซ้ายระดับ 1 ขาซ้าย ระดับ 2 แขนและขาขวาระดับ 5  แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (The Barthel Activity of Daily Living Index)  ได้ 45 คะแนน หลังเข้ารับการดูแลโปรแกรมการดูแล กำลังกล้ามเนื้อ: แขนซ้ายระดับ 2+ ขาซ้ายระดับ 4+ แขนและขาขวาระดับ 5 แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน  ได้ 90 คะแนน ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น เดินได้โดยไม่ใช้ไม้เท้า 3 ขา

สรุป: จากการศึกษาพบว่าการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางอย่างต่อเนื่อง มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากการฟื้นตัวของเซลล์ประสาทสมองจะกลับมาทำงานได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการทำงานของกำลังกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึกค่อยๆ ดีขึ้น โดยกระบวนการเวชศาสตร์ครอบครัว เป็นการวางแผนการดูแลผู้ป่วยร่วมกับครอบครัว และทีมสหวิชาชีพ ตั้งแต่ขณะอยู่ในโรงพยาบาล จนกระทั่งกลับบ้าน และติดตามเยี่ยมบ้าน อีกทั้งกระตุ้นระบบประสาทด้วยการฝังเข็มอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

References

World Stroke Organization. World stroke organization [Internet]. 2020 [cited 2022 March 30]. Available from: https://www. world-stroke.org/world-stroke-day-campaign/why-stroke-matters/learn-about-stroke

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สาเหตุการตาย. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2565];91. เข้าถึงได้จาก: http://www.pcko.moph.go.th/Health-Statistics/statistic2562.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. [อินเทอร์เน็ต]. ลพบุรี: 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก:https://lri.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

Kyoung Bo Lee, Seong Hoon Lim, Kyung Hoon Kim. Six-month functional recovery of stroke patients: a multi-time-point study. International Journal of Rehabilitation Research 2015; 38(2): 173–180.

กฤษณะ สุววรณภูมิ. การดูแลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง. วารสารระบบบริการปฐมภูมิและเวชศาสตร์ครอบครัว 2554; 3: 38-44.

Mahoney FI, Barthel D. Functional evaluation: The Barthel Index. Maryland State Medical Journal 1965; 14: 56-61.

วิชาญ ปาวัน,บรรณาธิการ. คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2560.

Joseph AL, Marian RS. The BATHE method: Incorporating Counseling and Psychotherapy into the Everyday Management of Patients. The Primary Care Companion to the Journal of Clinical Psychiatry 1999; 2: 35-39.

BRIAN K. UNWIN, MAJ, MC, USA, AND ANTHONY F. JERANT. The Home Visit. American Family Physician 1999: 60(5): 1481-1488

Monica McGoldrick, Randy Gerson, Sueli Petry. Genograms Assessment and Intervention. 3rd Ed. New York: WW Norton; 2007.

Christina P, Anna LR. Taking Spiritual History Allows Clinicians to Understand Patients More Fully. Journal of Palliative Medicine 2000; 3: 129-137.

Rakel RE. Textbook of family practice. 5th ed. Philadelphia: W.B.Saunders; 1995. p.28-29.

ธวัช บูรณถาวรสม, สมคิด ปิยะมาน, บรรณาธิการ. ฝังเข็มร่วมรักษาโรค เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์สาวิณีการพิมพ์; 2557.

Kieran Walsh. Management of shoulder pain in patients with stroke. Postgraduate Medical Journal 2001; 77: 645–649.

Rakel RE and Rakel DP. Textbook of Family Medicine. 9th Ed. United States: Elsevier Saunders; 2016.

แนวทางการใช้เครื่องมือด้านสุขภาพจิตสำ หรับบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน (คลินิกโรคเรื้อรัง) ฉบับปรับปรุง. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2558.

Dong-Heun Ahn, MD, Yung-Jin Lee, MD, Ji-Hun Jeong, MD, Yong-Rok Kim, MD, Jong-Bum Park, MD. The Effect of Post-Stroke Depression on Rehabilitation Outcome and the Impact of Caregiver Type as a Factor of Post-Stroke Depression. Annals of Rehabilitation Medicine 2015; 39(1): 74-80.

อัญชลี จูฑะพุทธิ, บุญใจ ลิ่มศิลา, วิรัลพัชร เสียงประเสริฐ, ฐิตารัตน์ ศุทธะชัยอนันต์, บรรณาธิการ. แนวทางการจัดการฝังเข็มโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ร้านพุ่มทอง; 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2022