การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกร่วมกับมีภาวะช็อค : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ตั้งครรภ์นอกมดลูก, ภาวะช็อคบทคัดย่อ
การตั้งครรภ์นอกมดลูกร่วมกับมีภาวะช็อก เป็นภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก การวินิจฉัยดูแลรักษาที่ล่าช้า อาจเกิดผลกระทบร้ายแรงแก่ชีวิตหญิงตั้งครรภ์ได้
กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 24 ปี เคยผ่านการตั้งครรภ์ 2 ครั้ง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วยหลังคลอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2561 ด้วยอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา มีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย 6 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล และก่อนหน้านั้น 2 สัปดาห์มีอาการแท้งบุตร และขูดมดลูก วินิจฉัยด้วยการตรวจการตั้งครรภ์ ผล Positive ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบ Free fluid in Cul-de-sac แพทย์วินิจฉัย ตั้งครรภ์นอกมดลูก ผู้ป่วยมีภาวะช็อค ระดับความเข้มข้นของเลือด 29% ได้รับการผ่าตัด Explored laparotomy with Right Salpingectomy ให้การพยาบาลตั้งแต่แรกรับ จนถึงดูแลหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะช็อค หลังผ่าตัดยังเสี่ยงต่อภาวะช็อคซ้ำ ดูแลควบคุมสารน้ำ บริหารยาเพื่อแก้ไขภาวะช็อคจนปลอดภัย หลังผ่าตัด ผู้ป่วยมีอาการปวดแผล และเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บาดแผล ให้การบำบัดความปวดและดูแลบาดแผลอย่างถูกวิธี ไม่พบการติดเชื้อ มีอาการดีขึ้นตามลำดับจำหน่ายผู้ป่วยได้ในวันที่26 ธันวาคม 2561 รวมระยะเวลาที่รักษาในโรงพยาบาลจำนวน 3 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการจำหน่าย
การตั้งครรภ์นอกมดลูกร่วมกับมีภาวะช็อก เป็นภาวะฉุกเฉินทางนรีเวชที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก การวินิจฉัยดูแลรักษาที่ล่าช้า อาจเกิดผลกระทบร้ายแรงแก่ชีวิตหญิงตั้งครรภ์ได้
กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 24 ปี เคยผ่านการตั้งครรภ์ 2 ครั้ง เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วยหลังคลอด เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2561 ด้วยอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา มีเลือดออกทางช่องคลอดกะปริบกะปรอย 6 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล และก่อนหน้านั้น 2 สัปดาห์มีอาการแท้งบุตร และขูดมดลูก วินิจฉัยด้วยการตรวจการตั้งครรภ์ ผล Positive ตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงพบ Free fluid in Cul-de-sac แพทย์วินิจฉัย ตั้งครรภ์นอกมดลูก ผู้ป่วยมีภาวะช็อค ระดับความเข้มข้นของเลือด 29% ได้รับการผ่าตัด Explored laparotomy with Right Salpingectomy ให้การพยาบาลตั้งแต่แรกรับ จนถึงดูแลหลังผ่าตัด ผู้ป่วยไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากภาวะช็อค หลังผ่าตัดยังเสี่ยงต่อภาวะช็อคซ้ำ ดูแลควบคุมสารน้ำ บริหารยาเพื่อแก้ไขภาวะช็อคจนปลอดภัย หลังผ่าตัด ผู้ป่วยมีอาการปวดแผล และเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่บาดแผล ให้การบำบัดความปวดและดูแลบาดแผลอย่างถูกวิธี ไม่พบการติดเชื้อ มีอาการดีขึ้นตามลำดับจำหน่ายผู้ป่วยได้ในวันที่26 ธันวาคม 2561 รวมระยะเวลาที่รักษาในโรงพยาบาลจำนวน 3 วัน ไม่พบภาวะแทรกซ้อนหลังการจำหน่าย
บทบาทของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยมีส่วนสำคัญอย่างมากในการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในระยะวิกฤต ทั้งระยะก่อนช็อค ระยะช็อค และระยะหลังช็อค เพราะแต่ละระยะสามารถทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยได้แก่ ไตวายเฉียบพลัน แผลติดเชื้อ ดังนั้นพยาบาลต้องมีความรู้และพัฒนาทักษะ ความชำนาญในการดูแลผู้ป่วยเพื่อที่จะนำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับปัญหาของผู้ป่วยแต่ละคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและพึงพอใจ
References
กัญจนี พลอินทร์. วิทยาการก้าวหน้าทางการพยาบาล สูติ-นรีเวชและผดุงครรภ์ : ความหลากหลาย
ที่ผสมผสานการดูแลแบบองค์รวม. สงขลา : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2552.
สมศรี พิทักษ์กิจรณกร และคนอื่นๆ. ตํารานรีเวชวิทยา. นนทบุรี : บียอนด์เอ็นเตอร์ไพรซ์, 2551.
ธีระ ทองสง, จตุพล ศรีสมบูรณ์, กิตติภัต เจริญขวัญ, อรวี ฉินทกานันท์. ครรภ์นอกมดลูก. ในธีระ ทองสง, บรรณาธิการ. นรีเวชวิทยา ฉบับบอร์ด. พิมพ์ครั้งที 4. กรุงเทพมหานคร : ลักษมีรุ่งจํากัด, 2559.
สุวิทย์ บุณยะชีวิน, เยือน ตันนิรันดร. การตั้งครรภ์ที่หลอดมดลูก. ใน : สุวิทย์ บุณยะชีวิน, เยือน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลปากช่องนานา หน่วยงานสูตินรีเวชวิทยา. รายงานประจําปี 2562. นครราชสีมา : โรงพยาบาลปากช่องนานา, 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว