อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยวิกฤตที่มีไตวายเฉียบพลัน ระหว่างฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในหอผู้ป่วยหนัก
คำสำคัญ:
ภาวะแทรกซ้อนระหว่างฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ไตวายเฉียบพลัน, ผู้ป่วยวิกฤตบทคัดย่อ
บทนำ: ผู้ป่วยวิกฤตที่มีไตวายเฉียบพลันและได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม มักมีภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการฟอกเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำ น้ำตาลในเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดที่พบ คือ หัวใจหยุดเต้นทำให้ เกิดผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะแทรกซ้อน ของผู้ป่วยวิกฤตที่มีไตวายเฉียบพลันระหว่างฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมในหอผู้ป่วยหนัก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่เวชระเบียนผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน (Acute Kidney Injury; AKI) ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมเป็นครั้งแรกในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสิงห์บุรี ตั้งแต่ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบพรรณนา
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 ราย เกิดภาวะแทรกซ้อน จำนวน 33 ราย (ร้อยละ 75.00) โดยพบว่าเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ จำนวน 21 ราย (ร้อยละ 47.72) ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจเต้นช้า จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 13.63) เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดหัวใจเต้นเร็ว จำนวน 4 ราย (ร้อยละ 9.09) เลือดออกจากตำแหน่งที่ใส่สายสวน จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 2.28) เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น จำนวน 1 ราย (ร้อยละ 2.28)
สรุปผลการวิจัย: จากการศึกษานี้พบว่าภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการฟอกเลือดที่สำคัญของผู้ป่วยวิกฤตที่มีไตวายเฉียบพลัน ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเลือดออกจากตำแหน่งที่ใส่สายสวนและภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันพยาบาลไตเทียมจึงควรเฝ้าระวังและติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดระหว่างการฟอกเลือด
References
คณะอนุกรรมการกำหนดแนวทางการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมา สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. คู่มือการรักษาด้วยการฟอกเลือดและการกรองพลาสมาสำหรับผู้ป่วยโรคไตพ.ศ.2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา. 2561: 1-48.
ชัยรัตน์ ฉายากุล, บรรณาธิการ. ข้อแนะนำเวชปฏิบัติการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา. 2557: 1-154.
MorfinJA, FluckRJ, Weinhandl ED, et al. Intensive hemodialysis and treatment Complications and tolerability. American journal of kidney diseases 2016;68(5): 43-50.
Singh RG, Singh S, Rathore SS, & Choudhary TA. Spectrum of intradialytic complications during hemodialysis and its management: a single-center experience. Saudi Journal of Kidney Diseases and Transplantation 2015; 26(1): 168-172.
DouvrisA, Zeid K, Hiremath S, et al. Mechanisms for hemodynamic instability related to renal replacement therapy: a narrative review. Intensive care medicine 2019; 45(10): 1333-1346.
Kanbay M, Ertuglu LA, Afsar B,et al. (2020). An update review of intradialytic hypotension: concept, risk factors, clinical implications and management. Clinical Kidney Journal 2020; 13(6), 981-993.
KuipersJ. Verboom LM, Ipema, KJ, et al. The prevalence of intradialytic hypotension in patients onconventional hemodialysis: a systematic review with meta-analysis. American journal of nephrology 2019; 49(6): 497-506.
HeskethC. Prevalence and Risk Factors of Hypotension Associated with Preload-dependence during Intermittent Hemodialysis in Critically Ill Patients. American Journal of Respiratory and Critical Care Medicine 2017; 196(1): 103.
SarsB, Sande FM, & Kooman JP. Intradialytic hypotension: mechanisms and outcome. Blood purification2020; 49(1-2): 158-167.
BitkerL, BayleF, Yonis H, et al.Prevalence and risk factors of hypotension associated with preload-dependence during intermittent hemodialysis in critically ill patients. Critical Care 2016; 20(1): 1-11.
Kramer, H. The national kidney foundation's kidney disease outcomes quality initiative (KDOQI) grant initiative: moving clinical practice forward. American Journal of Kidney Diseases 2010; 55(3): 411-414.
Assimon MM. &Flythe, JE. Definitions of intradialytic hypotension. In Seminars in dialysis 2017;30(6):464-472.
Nagler EV, Webster AC, Bolignano, D., et al. European Renal Best Practice (ERBP) Guideline development methodology: towards the best possible guidelines NephrologyDialysisTransplantation2014; 29(4):731-738.
Asgari MR, Asghari F, Ghods AA, et al. Incidence and severity of nausea and vomiting in a group of maintenance hemodialysis patients. Journal of renal injury prevention 2017;6(1): 49.
Pannu N, Klarenbach S, Wiebe N, et al. Renal replacement therapy in patients with acute renal failure: a systematic review. JaMa2008;299(7): 793-805.
Abe M, &Kalantar-Zadeh K. Haemodialysis-induced hypoglycaemia and glycaemic disarrays. Nature Reviews Nephrology 2015;11(5): 302-313.
Takahashi A, Kubota T, Shibahara N, et al. The mechanism of hypoglycemia caused by hemodialysis. Clinical nephrology 2004;62(5): 362-368.
Jackson MA, Holland MR, NicholasJ, et al. Hemodialysis-induced hypoglycemia in diabetic patients. Clinical nephrology 2000; 54(1): 30-34.
Voroneanu L. &Covic A. Arrhythmias in hemodialysis patients. JN journal of nephrology 2009; 11(6): 716.
วราภรณ์ อุตทอง, นวลน้อย โหตระไวศยะ, กันติชา ธนูทอง, และสุชาดา ฤทธิ์น้ำคำ. ภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม หน่วยไตเทียมสรรพสิทธิ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ ประสงค์. Journal of Health Science Boromarajonani College of Nursing Sunpasitthiprasong2018; 2(2): 47-64.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว