ผลการผ่าตัดต่อมทอนซิลโดยการจี้ไฟฟ้าร่วมกับการใช้น้ำเกลือเย็น ล้างแผลหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • ก้องเกียรติ ณ ระนอง กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก, โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ผ่าตัดต่อมทอนซิล, การจี้ไฟฟ้า, น้ำเกลือเย็น

บทคัดย่อ

บทนำ: การผ่าตัดต่อมทอนซิลโดยการจี้ไฟฟ้าเป็นวิธีที่นิยมเนื่องจากเสียเลือดน้อย การให้ความเย็นเฉพาะที่ช่วยลดความปวดหลังผ่าตัด งานวิจัยนี้เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการผ่าตัดต่อมทอนซิลโดยการจี้ไฟฟ้าร่วมกับการใช้น้ำเกลือเย็นล้างแผลหลังผ่าตัด

วิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังจากแฟ้มเวชระเบียน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2564 ผ่าตัดต่อมทอนซิลด้วยวิธีจี้ไฟฟ้าแบบ Monopolar ร่วมกับการใช้น้ำเกลือเย็นล้างแผลหลังผ่าตัดโดยแพทย์โสต ศอ นาสิก คัดเวชระเบียนผู้ป่วยจำนวน 95 ราย มีข้อมูลบันทึกผ่าตัดต่อมทอนซิลอย่างเดียว อายุ เพศ โรคประจำตัว ขนาดต่อมทอนซิล ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัด ปริมาณเลือดออก ความปวดหลังผ่าตัด จำนวนวันนอน เก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกเวชระเบียน และวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนา

ผลการศึกษา: พบอายุเฉลี่ย 30.09±13.22 ปี เพศหญิง ร้อยละ 58.9 ข้อบ่งชี้การผ่าตัดพบ Hypertrophy of Tonsil ร้อยละ 57.9 ขนาดของต่อมเฉลี่ย 3.29 ตร.ซม.ปริมาณเลือดออกเฉลี่ย 10.11±5.69 ซีซี ระยะเวลาการผ่าตัดเฉลี่ย 34.37±15.51 นาที ความปวดแผลหลังผ่าตัดพบระดับเล็กน้อยในวันแรกคะแนนเฉลี่ย 2.04 คะแนน ส่วนวันที่ 2, 3 และ4 หลังผ่าตัดพบระดับเล็กน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.38, 1.29 และ 1.33 จำนวนวันนอนเฉลี่ย 2.77 วัน

สรุปผลการศึกษา: ปริมาณเลือดออกน้อย ความปวดแผลหลังผ่าตัดอยู่ในระดับเล็กน้อย ไม่พบการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดี

References

Shin JM, Byun JY, Baek BJ, Lee JY. Effect of cold-water cooling of tonsillar fossa and pharyngeal mucosa on post-tonsillectomy pain. Am J Otolaryngol 2014;35(3):353-6.

Horii A,Hirose M,Mochizuki R, Yamamoto K, Kawamoto M, Kitahara T,Yamamoto Y, Kawashima T, Uno A, Imai T, Nishiike S, Inohara H. Effects of cooling the pharyngeal mucosa after bipolar scissors tonsillectomy on postoperative pain. Acta Otolaryngol 2011;131(7):764-8.

Bleakley CM, McDonough S, Gardner E, Baxter GD, Hopkin, JT,& Davison G . Cold-water Immersion (cryotherapy) for preventing and treating muscle soreness after exercise (Review). The Cochrane Library, Issue,1-64. 2012Feb15; (2):CD008262. doi:10.1002/14651858.CD008262. pub2. Retrieved October,10, 2021 from http://www.pubmed.ncbi. nim.nih.gov

Metcalfe C, MuzaFFar J, Daultrey C, et al. Coblation tonsillectomy: a systemic review and descriptive analysis. Eur Arch Otorhinolaryngol 2017;274(6):2637-47.

Muninnobpamasa T, Khamproh K, Moungthong G. Prevalance of tonsillectomy and adenoidectomy complication at Pramongkutklao Hospital. J Med Assoc Thai 2012;95:69-74.

Grobler A, Carney A. Radiofrequency coblation tonsillectomy. Br J Hosp Med 2006;67(6):309-12.

กลุ่มงานสารสนเทศทางการแพทย์ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช.รายงานสถิติผู้ป่วยลพบุรี:โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช;2564.

Robinson SR, Purdie GL. Reducing post-tonsillectomy pain with cryo-analgesia: a randomized controlled trail. Laryngo-scope 2000;110(7):1128-31.

Vieira L, Nissen L, Sela G, Amara Y, Vinicius F. Reducing Postoperative Pain from Tonsillectomy Using Monopolar Electrocautery Cooling the Oropharynx. Int Arch Otorhinolaryngology.2014 Apr; 18(2):155-8.

Melzack R, Katz J. Pain measurement in persons in pain.In P.D.Wall and Melzak R. (Eds). London:Harcourt Publisher. Textbook of pain ;1999.pp.409-426.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์(พิมพ์ครั้งที่ 5).กรุงเทพ:ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย;2553.

Gao W, Zhang QR, Jiang L, Geng JY. Compaison of local and intraveneous dexamethasone for postoperative pain and recovery after tonsillectomy. Otolaryngol Head Neck Surg 2015 Mar;152(3):530-5.

เอกภพ พลยมมา. การศึกษาผลการผ่าตัดต่อมทอนซิลโดยใช้คลื่นความถี่วิทยุผ่านหัวจี้แบบสองขั้วในโรงพยาบาลระยอง.วารสารวิชาการโรงพยาบาลระยอง 2563;19(36):14-24.

เกศราภรณ์ ยะตา.ปัจจัยที่ใช้คาดการณ์ระดับความปวดแผลหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล.วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562;28(2):313-321.

ธีรยุทธ จงสืบสิทธิ์. ผลการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์ และต่อมทอนซิลโดยการจี้ไฟฟ้า ในโรงพยาบาลสุรินทร์.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์2562;34(1):149-155.

ธรนิศ ลิมปกรณ์กุล.ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยผ่าตัดต่อมทอนซิลโรงพยาบาลกระบี่.วารสารกระบี่เวชสาร2562;2(2):1-7.

Pierce B, Brietzke S. Association of Preoperative, Subjective Pediatric Tonsil Size With Tonsillectomy Outcomes: A systematic Review.JAMA Otolaryngol Head Neck Surg 2019;145(9):845-9.

Tschopp S, Tschopp K. Tonsil size and outcome of uvalopalatepharyngoplasty with tonsillectomy in obstructive sleep apnea. Laryngoscope. 2019;129(12): E449-E454

พจน์ บุณยะโอภาส.การใช้ยาชาเฉพาะที่ในการลดความปวดภายหลังจากการผ่าตัดทอนซิล.วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร.2557;18(2):1-10.

Dadgarnia M, Aghaei M, Atighechi S. The comparison of bleeding and pain after tonsillectomy in bipolar electrocautery vs cold dissection.Int J Ped Oto 2016; 89:38-41.

ปิยวรรณ คงตั้งจิตต์. ศึกษาผลของการผ่าตัดโดยวิธี Microdebrider intracapsular tonsillectomy เปรียบเทียบกับวิธี extracapsular electrocautery tonsillectomy. วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า. 2559;17(1):18-32.

Sobol SE, Wetmore RF, Marsh RR, Stow J, Jocobs IN. Postoperative recovery after microdebrider intracapsular or monopolar electrocautery tonsillectomy: a prospective, randomized,single-blinded study. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 2006;132:270-4.

Thottom P, Christenson J, Cohen D. The utility of common surgical instruments for pediatric adenotonsillectomy. Laryngoscope 2015;125(2):475-9.

Ahmad M, Wardak A, Hampton T. Coblation versus cold dissection in paediatric tonsillectomy: A systemic review and meta-analysis. J Laryngol Otol 2020;134:197-204.

Windfuhr JP, Chen YS, Remment S. Haemorrhage following tonsillectomy and adenoidectomy in 15,218 patients. Otolaryngol Head Neck Surg 2005; 132:281-6.

เอกธารา ธรรมวรุงวงศ์, พัทธชัย จันปุ่ม, สธณี งามแสง.การเปรียบเทียบการลดความเจ็บปวดโดยการใช้น้ำเกลือเย็นล้างแผลหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลในโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช.แพทยสารทหารอากาศ. 2561; 64(2):1-8.

Sylvester DC, Rafferty A, Bew S, Knight LC.The use of ice-lollies for pain relief post-paediatric tonsillectomy. A single-blinded, randomised, controlled trial. Clin Otolaryngol 2011;36(6):566-70.

Plante J, Turgeon AF, Zarychanski R, Lauzier F, Vigneault L, Moore L, et al. Effect of systemic steroid on Post-tonsillectomy bleeding and reinteruentions: systemic review and meta-analysis of randomized controlled trails.BMJ 2012; 28:345-89.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2022