ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจรับยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในโรงพยาบาลชัยบาดาล

ผู้แต่ง

  • ศุภกรณ์ แผ่นมณี กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลชัยบาดาล

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน, การตัดสินใจ, ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ

บทคัดย่อ

 บทนำ: ปัจจุบันการรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบเฉียบพลันโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือดสามารถลดความพิการได้ แต่การตัดสินใจรับยาละลายลิ่มเลือดขึ้นอยู่กับผู้ป่วยและญาติ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจรับยาละลายลิ่มเลือด

ประชากรและวิธีการวิจัย: การศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้แนวคำถามแบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interview) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ออกแบบและทดสอบค่าเฉลี่ยของดัชนีความสอดคล้อง 0.96 และค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น 0.9 โดยการจดบันทึกสัมภาษณ์ประวัติผู้ป่วยและญาติที่มีส่วนร่วมการตัดสินใจ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ที่มาถึงโรงพยาบาลชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ภายใน 4.5 ชั่วโมง นับตั้งแต่มีอาการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ผลการศึกษา: มีทั้งรู้จักโรคและไม่รู้จัก โดยทั้งหมดไม่เคยวางแผนเกี่ยวกับการรักษามาก่อน จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่เคยวางแผนมาก่อน โดยตัดสินใจตามแพทย์ผู้ทำการรักษาแนะนำ ซึ่งคิดว่าตัวโรคมีอันตรายและการให้ยามีโอกาสทำให้ผู้ป่วยหายได้ ข้อมูลที่ได้จากแพทย์มีประโยชน์เนื่องจากมีข้อดีมากกว่าข้อเสีย ส่วนเวลา 5 นาทีเป็นข้อจำกัดในการตัดสินใจ

สรุปผลการศึกษา: แพทย์ผู้ทำการรักษาเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจในการรับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 9 คน

 

References

Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T,Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke. the American Heart Association 2019; 50 :E344-418.

ธีระ กุลสวัสดิ์.การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย.[อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 10 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document144620064347362700.pdf.

ศุภโชค เวชภัณฑ์เภสัช. ประสิทธิภาพของการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันโดยการสร้างระบบเครือข่ายและแนวทางการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2561; 26: 353-66.

ธิดารัตน์ อภิญญา, นิตยา พันธุเวทย์, นริศรา ธนากิจ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก. [อินเทอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 4 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://thaincd.com/document/file/download/knowledge.

วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์.การพัฒนาองค์การ แนวคิด กระบวนการ และบทบาทของนักบริหารการพัฒนาองค์การ.วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 2560; 6: 199-209.

กัญจน์ณิชา เยียดไธสง, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา, พจนีย์ ขูลีลัง. ปัจจัยทำนายระยะเวลาการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจากการเกิดอาการในระยะเฉียบพลัน.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 26: 148-56.

Cognitive-behavioral therapy Los Angeles [Internet]. 2020. [cite 2021 Sep. 15]. Available from: https://cogbtherapy.com/cbt-blog/end-procrastination 5 minute-rule.

อรวรรณ ฟังเพราะ, รสาพร หม้อศรีใจ. เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://northnfe. blogspot.com/2019/08/ED256212.html.

ทัศนีย์ ตันติฤทธิศักดิ์, ธน ธีระวรวงศ์. แนวทางการรักษาโรคเส้นเลือดสมองตีบหรืออุดตันสำหรับแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธนาเพรส; 2562.

สิริศักดิ์ อาจวิชัย. การวิจัยเชิงคุณภาพ.[อินเทอร์เน็ต]. 2558. [เข้าถึงเมื่อ 1 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2015112820040788.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-03-2022