อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตาในโรงพยาบาลบ้านหมี่
คำสำคัญ:
เบาหวานขึ้นจอตา, ความชุก, ปัจจัยที่มีผลบทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะเบาหวานขึ้นจอตาเป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของโรคเบาหวาน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยตาบอดได้งานวิจัยฉบับนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อหาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกรายที่มารับการตรวจจอตา จำนวน 760 คน ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอตาโดยจักษุแพทย์ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบเก็บรวบรวมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นประกอบด้วยข้อมูลเพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง ระดับน้ำตาลในเลือดครั้งล่าสุด โรคความดันโลหิตสูง และระดับความรุนแรงของเบาหวานขึ้นจอตา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลทั่วไป และสถิติเชิงวิเคราะห์เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา โดยใช้สถิติ Chi-square test และ ANOVA
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเบาหวานมารับการตรวจจอตา เป็น เพศหญิง ร้อยละ 74.3 อายุเฉลี่ย 63.8 ปี (SD = 12.0) พบผู้ป่วยมีภาวะเบาหวานขึ้นจอตา 194 ราย (ร้อยละ 25.5) แบ่งเป็นภาวะเบาหวานขึ้นจอตาชนิด NPDR 184 ราย (ร้อยละ 24.2) และภาวะเบาหวานขึ้นจอตาชนิด PDR 10 ราย (ร้อยละ 1.3) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.042) ส่วนเพศ อายุ ดัชนีมวลกาย และโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา
สรุป: ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ดังนั้นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติจะช่วยชะลอการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอตาได้
References
Burgansky-Eliash Z, Nelson DA, Bar-Tal OP, Lowenstein A, Grinvald A, Barak A. Reduced retinal blood flow velocity in diabetic retinopathy. Retina 2010; 30(5): 765-73.
Tuttagorn A. Prevalence of diabetic retinopathy in Health center 41 Bangkok. Journal of public health 2014; 44(2): 124-132.
Kitdownrung O , Kajittanon C, Yeekian C. Prevalence and risk factors of diabetic retinopathy in diabetic patientsin Queen Sawang Wattana memorial hospital. Thammasat Thai journal of ophthalmology 2011; 6(2): 17-24.
Mitwongsa G. Incidence of diabetic retinopathy in Mukdahan province. The medical research Mukdahan hospital l[internet] 2012. [cited May 31 2017] available from: http://www.mukhos.go.th/site/?name=research&file=readresearch&id=6.
Worratacha K. Metabolic factors affecting diabetic retinopathy of type 2 diabetic patients In Phetchabun Hospital . Journal of Health Systems Research and Development 2012; 5 (1) : 10-23. affecting diabetic retinopathy of type 2 diabetic patients In Phetchabun Hospital . Journal of Health Systems Research and Development 2012 ; 5 (1) : 10-23.
Chetthakul T, Deerochanawong C, Suwanwalaikorn S, Kosachunhanun N, Ngarmukos C, Rawdaree P, et al. Thailand diabetes registry project : prevalence of diabetic retinopathy and associated factors in type 2 diabetes mellitus. Journal of the medical association of Thailand. 2006; 89(1): S27-S36.
Jenchitr W, Samaiporn S, Lertmeemorhkolchai P, Chongwiriyanuak T, Anujaree P. Prevalence and risk of diabetic retinopathy in relation to duration of diabetes mellitus in community hospital of Lampang. J Med Assoc Thai 2004; 87(11): 1321-26.
Sukumalpaiboon R. Diabetic retinopathy in Sawanpracharak hospital. Sawanpracharak medical journal 2008 ; 5(1).
Jindaluang Y. Risk factors for diabetic retinopathy in diabetic patients, Tak municipal area Buddachinaraj medical journal. 2009: 26(1); 53-61.
Eiamudomsuk A, Eiamudomsuk K. Prevalence and related factors of diabetic retinopathy in type 2 diabetic patients at Raj Pracha Samasai Institute. Journal of the Thai society for preventive medicine 2014; 4(2): 109-117
National Health Security Office. Manual of national health security fund management , fiscal year 2011, Volume 4
Nitiyanant W, Chandraprasert S, Puavilai G, Tandhanand S, for Diabetes Study Group of Thailand. A survey study on diabetes management inThailand. J Asean Federation Endocr Soc 2001; 19: 35-41.
Davis MD, Fisher MR, Gangnon RE. Risk factors for high-risk proliferative diabetic retinopathy and severe visual loss: Early Treatment Diabetic Retinopathy Study report number 18. Invest Ophthalmol Vis Sci 1998; 39: 33-52.
Klein R, Klein BE, Moss SE. The Wisconsin Epidemiologic Study of Diabetic Retinopathy II: prevalence and risk of diabetic retinopathy when age at diagnosis is less than 30 years. Arch Ophthalmol 1984; 102: 520 - 6.
Diabetes Control and Complications Trial Research Group. Progression of retinopathy with intensive versus conventional treatment in the Diabetes Control and Complications Trial. Ophthalmology 1995; 102: 647-61.
UK Prospective Diabetes Study (UKPDS) Group. Intensive blood-glucose control with sulphonylureas or insulin compared with conventional treatment and risk of complications in patients with type 2 diabetes (UKPDS 33). Lancet 1998; 352: 837-53.
Klein R, Klein BE, Moss SE. The Wisconsin Epidemiologic Study of Diabetic Retinopathy III: prevalence and risk of diabetic retinopathy when age at diagnosis is 30 or more years. Arch Ophthalmol 1984; 102: 527-32.
Diana V Do , Xue Wang, Satyanarayana S Vedula, Michael Marrone, Gina Sleilati, Barbara S Hawkins, Robert N Frank : Blood pressure control for diabetic retinopathy. Cochrane Database Syst Rev 2015 Jan 31; 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 โรงพยาบาลสิงห์บุรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว