การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่มีภาวะโรคความดันโลหิตสูงที่มารับการผ่าตัดตัดต่อลำไส้ : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ยุพิณ เกตุดี โรงพยาบาลชัยบาดาล

คำสำคัญ:

มะเร็งลำไส้ใหญ่, ความดันโลหิตสูง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

บทนำ: โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคที่มีความรุนแรงผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตค่อนข้างสูง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการของโรคก่อนจึงมาพบแพทย์ ซึ่งการรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ด้วยวิธีการผ่าตัดอาจจะช่วยเพิ่มอัตรารอดชีพของผู้ป่วยได้ ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด

วิธีการศึกษา: ศึกษารายกรณีคัดเลือกผู้ป่วยแบบเจาะจง 1 ราย ขณะผู้ป่วยมารับการผ่าตัดและติดตามเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 83 ปี มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง มาด้วยอาการ ปวดทั่วท้องมาก ท้องอืด อาเจียน ไม่ถ่ายอุจจาระ ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน  แพทย์วินิจฉัย Transverse  Colon  Cancer with Hypertension ได้การผ่าตัด Explor Laboratoy with Extened right hemicolectomy หลังผ่าตัดผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ และใช้เครื่องช่วยหายใจ ให้การพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจตามมาตรฐาน ผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงได้ให้ยาตามแผนการรักษา ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจได้ 6 วัน ผู้ป่วยสามารถถอดท่อช่วยหายใจได้ ผู้ป่วยอาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้านได้ รวมระยะเวลานอนในโรงพยาบาล 11 วัน

สรุป: พยาบาลห้องผ่าตัดมีบทบาทหน้าที่สำคัญในการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดทั้งร่ายกายและจิตใจ โดยการใช้กระบวนการพยาบาล ก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะวิกฤต และกลับไปใช้ชีวิตประจำวันในสังคมได้ตามปกติ

References

World Health Organization. (2020). The Global Cancer Observatory. [online]. [cited 2020 December]; Available from: URL: https://gco.iarc.fr/today/data/ factsheets/cancers/39-All-cancers-fact-sheet.pdf.

ธัญพร ร่างวิจิตร, สินีนาฎ ชาวตระการ, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์. (2564). ความชุกและการกระจายของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 17 (1) , 27-39.

ศูนย์มะเร็ง ลพบุรี สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข คู่มือโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก. (มปท.); 2555.

รายงานประจำเดือนงานห้องผ่าตัด. โรงพยาบาลชัยบาดาล. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์). 2563-2564.

อำนาจ ศรีรัตนบัลล์. โรคลำไส้ การวินิจฉัย และการรักษา. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ.ทโรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.

พิมพ์ชนก ทองจันทร์, พัสดา ภักดีกำจร, ธารินี เพชรรัตน์. (2563). ผลลัพท์การดูแลผู้ป่วยศัลยกรรม หอผู้ป่วย ก: โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ลำลำไส้ตรง.ศรีนครินทร์เวชสาร, 35 (1), 66-71.

ศิริพร ปิติมานะอารี. การประเมินและเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัด: ตำราวิสัญญีวิทยา ภาควิชาวิสัญญี วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล; 2556: หน้า 135-49.

นันทา เล็กสวัสดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดและการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด.พิมพ์ครั้งที่2 ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, (มปท.); 2554.

สุภิดา สุวรรรพันธ์, มะลิวรรณ อังคณิตย์, อาริยา สอนบุญ. (2563). สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด และปฏิบัติบริการพยาบาลที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38 (3), 51-60.

รัตนา เพิ่มเพ็ชร. บทบาทของพยาบาลห้องผ่าตัด: การให้ข้อมูลในการเยี่ยมผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22 (1), 9-20.

บุญเรือน เรืองโรจน์แข. การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งลําไส้ใหญ่ส่วนปลายผ่านกล้องวีดิทัศน์ : กรณีศึกษา. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร. 2563; 29(1) (Suppl1): 129-37.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021