การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขนิสัยการนอนสำหรับเด็กอายุ 1 ปี ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • สุรัตน์ ผิวสว่าง แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จ.ลพบุรี

คำสำคัญ:

ทารก, การนอนต่อเนื่อง, สุขนิสัยการนอน, การควบคุมการนอน

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: การนอนหลับมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขนิสัยการนอนของทารกจากการศึกษาที่ผ่านมา ได้แก่ อิทธิพลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กและผู้ปกครอง รูปแบบการกินของทารก พื้นอารมณ์ของเด็ก การศึกษาปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น สิ่งแวดล้อมในบ้าน/ครอบครัว ช่วงเวลาและกิจกรรมก่อนเข้านอน และสภาพแวดล้อมในการนอน ยังมีข้อมูลที่จำกัด

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสุขนิสัยการนอนสำหรับ และความชุกของสุขนิสัยการนอนที่ดี สำหรับเด็กอายุ 1 ปี ที่เข้ารับบริการ ณ คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

รูปแบบการวิจัย: Cross-sectional Analytic study

วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามของผู้ปกครอง ที่พาบุตรหลานเข้ารับบริการ ณ คลินิกสุขภาพเด็กดี โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ระหว่างเดือนเมษายน – กันยายน พ.ศ. 2564 จำนวน 100 คน โดยจำแนกเป็นกลุ่มที่มีสุขนิสัยการนอนที่ดี ซึ่งต้องประกอบด้วย Sleep consolidation คือ การหลับกลางวันช่วงสั้นๆ และนอนในช่วงกลางคืนยาวอย่างต่อเนื่อง และ Sleep regulation คือ การควบคุมให้เริ่มนอนหลับได้ด้วยตนเอง และหลับต่อได้เองเมื่อตื่นกลางดึก

ผลการศึกษา: ความชุกของสุขนิสัยการนอนที่ดี คิดเป็นร้อยละ 7 ประกอบด้วยกลุ่มที่มี Sleep consolidation ร้อยละ 55 และ Sleep regulation ร้อยละ 9 โดยผู้ปกครองที่ร่วมวิจัยที่มีความสัมพันธ์กับเด็กในฐานะบิดามารดา เป็นปัจจัยที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของกลุ่มที่มีสุขนิสัยการนอนที่ดี (P-value=0.003) และกลุ่ม Sleep regulation (P-value=0.014) ในส่วนของกลุ่มที่มี Sleep consolidation พบว่า ปัจจัยเรื่องสถานะของบิดามารดาซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันกับเด็ก เป็นปัจจัยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value=0.019)

สรุป: บิดามารดาที่เป็นผู้ดูแลเด็ก มีบทบาทที่ส่งเสริมสุขนิสัยการนอนที่ดี และความสามารถในการควบคุมการนอนได้ด้วยตนเองของเด็กทารกได้มากกว่าบุคคลอื่น รวมถึงสถานะระหว่างบิดาและมารดาที่อยู่ร่วมกัน เป็นปัจจัยเสริมต่อการนอนในช่วงกลางคืนยาวต่อเนื่อง ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยสร้างเสริมการนอนหลับที่มีคุณภาพ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก และป้องกันปัญหาด้านพฤติกรรมของเด็กในอนาคตต่อไป

References

ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย. การนอนและปัญหาการนอน. ใน: สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พี เอ ลีฟวิ่ง; 2561. หน้า 529-533.

Owens JA. Sleep Medicine. In: Kliegman RM, Stanto BF, Schor NF, St. Geme III JW, Behrman RE, editors. Nelson Textbook of Pediatrics, 20th ed. Philadelphia: Elsevier; 2016. P. 111-123.

Mindell JA, Owens JA. A Clinical Guide to Pediatric sleep: Diagnosis and Management of Sleep Problems. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2009.

ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย. การนอนและพัฒนาการ. ใน: ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, วีรศักดิ์ ชลไชยะ, บรรณาธิการ. ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก เล่ม 3 การดูแลเด็กสุขภาพดี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2556. หน้า 157.

Ina S. Santos, Diego G. Bassani, Alicia Matijasevich, et al. Infant sleep hygiene counseling (sleep trial): protocol of a randomized controlled trial. BMC Psychiatry (2016) 16:307.

Libby Averill Rosen. Infant sleep and feeding. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs. Nov-Dec 2008; 37(6):706-14.

Ni Jian and Douglas M. Teti. Emotional availability at bedtime, infant temperament, and infant sleep development from 1 to 6 months. Sleep Med. 2016 July; 23:49-58.

Barbara M. Sorondo and Bethany C. Associations between infant temperament, maternal stress, and infants’ slepp across the first year of life. Infant Behav Dev. 2015 May; 39:131-135.

M L Macknin, S V Medendorp, M C Maier. Infant sleep and bedtime cereal. Am J Dis Child. 1989 Sep; 143(9):1066-8.

Rachel B., Melisa Moore., Jodi A Mindell. Pacifier Use, Finger Sucking, and Infant Sleep. Behav Sleep Med. Nov-Dec 2016; 14(6): 615-23.

Ariel A. Williamson, Jodi A. Mindell, Harriet Hiscock, Jon Quach. Child sleep behaviors and sleep problems from infancy to school-age. Sleep Med. 2019 November; 63:5-8.

Kelly C. Byars, Kimberly Yolton, Joseph Rausch, Bruce Lanphear, Dean W. Beebe. Prevalence, Patterns, and Persistence of Sleep Problems in the First 3 Years of Life. 2011 September. In www.pediatrics.org/cgi/ doi/10.1542/peds.2011-0372.

Bhargava S. Diagnosis and management of common sleep problems in children. Pediatr Rev 2011; 32(3):91-9.

Brazelton TB. Developmental framework of infants and children: a future for pediatric responsibility. J Pediatr 1983; 102:967-72.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี; 2543.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021