ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง มีความเสี่ยงปานกลาง โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

ผู้แต่ง

  • พงศกร ฉ่ำพึ่ง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรงมีความเสี่ยงปานกลาง, เลือดออกในกะโหลกศีรษะ, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง

บทคัดย่อ

ที่มาและวัตถุประสงค์ : ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง มีความเสี่ยงปานกลางในการรักษามักจะพิจารณาส่ง ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองทุกราย พบว่าการส่งตรวจมีจำนวนมาก แต่ผู้ป่วยที่บาดเจ็บที่ศีรษะกลุ่มนี้มีจำนวนน้อยที่มีภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สูง การศึกษานี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดเลือดออกในกะโหลกศีรษะของผู้ป่วยกลุ่มนี้

วิธีการศึกษา : ทำการศึกษาย้อนหลังโดยการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนในกลุ่มผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรงมีความเสี่ยงปานกลางที่ได้รับการส่งทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง เป็นระยะเวลา 1 ปี ทำการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดเลือดออกในกะโหลกศีรษะ

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะทั้งหมด 864 ราย พบว่ามีเลือดออกในกะโหลกศีรษะร้อยละ 16.66 พบ 6 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเลือดออกในกะโหลกศีรษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ (1) Glasgow Coma Score (GCS) 13 – 14 คะแนน (odd ratio : OR 7.42, 95% confidence interval : CI = 4.40 – 12.53, p = 0.000) (2) อาเจียน (OR = 2.16, CI = 1.24 – 3.75, p = 0.006) (3) สลบ (OR = 1.81, CI = 1.03 – 3.15, p = 0.030) (4) ปวดศีรษะ (OR = 2.19, CI = 1.099 – 4.47, p = 0.20) (5) รับประทานยา warfarin (OR = 20.73, CI = 1.79 – 38.42, p = 0.010) และ (6) หกล้ม (OR = 0.32, CI = 0.11 – 0.90, p = 0.030)

สรุปผลการวิจัย ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้บาดเจ็บที่ศีรษะไม่รุนแรง มีความเสี่ยงปานกลาง ได้แก่ ค่า GCS 13 – 14 คะแนน มีอาการอาเจียน มีประวัติสลบ อาการปวดศีรษะ การรับประทานยา warfarin และการหกล้ม

References

1. นครชัย เพื่อนปฐม และธีรเดช ศรีกิจวิไลกุล. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบางดเจ็บ กรุงเทพมหานคร :บริษัทพรอสเพอรัสพลัส จำกัด. 2562
2. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ THAI RSC. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนน 2021. Available from. http://www.thairsc.com
3. สุรกานต์ ยุทธเกษมสันต์. เอกสารเผยแพร่ในคณะทำงานจัดทำแนวเวชปฏิบัติ กรณีบาดเจ็บที่ศีรษะ. สถาบันประสาทวิทยา กรุงเทพมหานคร, พฤศจิกายน 2561.
4. Levin HS. Outcomes from mild head injury. In : Narayan RK, Wilbergen JE, Povlishock JT, editors. Neurotrama. New York, NY Mc Graw – Hill, 1996.
5. วสันต์ ลิ่มสุริยกานต์, พิมพ์กานต์ หล่อวณิชย์. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดเลือดออกในสมองในผู้บาดเจ็บศีรษะระดับความรุนแรงน้อยที่มีความเสี่ยงระดับปานกลางที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. TUH Journal online Volume 4 No.3 September – December 2019
6. กรวรรณ หาญประกอบสุข, การส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณศีรษะของโรงพยาบาลลำปาง. วารสารกรมการแพทย์ ปี 42 ฉบับที่ 5 กันยายน – ตุลาคม 2560 ; 85 – 92
7. Madhusudhan Nagesh. Role of repeat CT in mild to moderate head injury: an institutional Study. Neurosurg Focus 47 (5):E2, 2019
8. 7.J-L afGeijerstam, M Britton. Mild head injury: reliability of early computed tomographic Findings in triage for admission. Emerg Med J 2005; 22:103-107
9. Dr.Lutfi KirdarKartal. Early and Delayed Ct Findings in Patients with Mild-to-Moderate Head Trauma Turkish Neurosurgery 2011, Vol:21, No:4, 591 – 598
10. Archana Wagnekar. Computed Tomography Profile and its utilization in head injury Patients in emergency department. Journal of Emergencies, Trauma and shock. Janauary-March 2018
11. Jennett B. Murray A, Carlin J, McKean M, MacMillan R, Strang I. Head injuries in threeScottishneurosurgical units. Scottish head injury management study. Br Med J. 1979; 2(6196): 955-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2021