การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองโรคซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ ด้วยวิธีการตรวจแบบดั้งเดิม และแบบย้อนทาง โรงพยาบาลสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ปาณิสรา หุ่นไทย 0816174456

คำสำคัญ:

ซิฟิลิส, การตรวจคัดกรองซิฟิลิสแบบดั้งเดิม, การตรวจคัดกรองซิฟิลิสแบบย้อนทาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการตรวจคัดกรองซิฟิลิสด้วยวิธีการตรวจแบบดั้งเดิม (traditional algorithm) และแบบย้อนทาง (reverse algorithm) โรงพยาบาลสมุทรปราการ

วิธีการศึกษา: นำตัวอย่างเลือดหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ ระหว่างเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – สิงหาคม พ.ศ.2563 จำนวน 882 คน ไปทำการตรวจซิฟิลิสด้วยเครื่องวิเคราะห์อัตโนมัติ Cobas e 601ซึ่งใช้หลักการ Electrochemiluminescent assay และวิธี  rapid plasma regain (RPR) จากนั้นวิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลทั้งสองวิธีการตรวจโดยใช้สถิติ Bionomial Test และ Chi – Square Test

ผลการศึกษา :  ผลการศึกษาพบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจคัดกรองให้ผลบวกสอดคล้องตรงกันระหว่างการตรวจด้วยวิธี traditional algorithm และการตรวจด้วยวิธี  reverse algorithm   มีจำนวน 13 ราย แต่พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ให้ผลการตรวจคัดกรองเป็นบวก 11 ราย จากการตรวจด้วยวิธี  reverse algorithm   แต่ให้ผลเป็นลบเมื่อตรวจด้วยวิธี traditional algorithm และเมื่อทำการเปรียบเทียบผลการตรวจกรองซิฟิลิสทั้งสองวิธีพบว่า การตรวจด้วยวิธี reverse algorithm มีความแม่นยำมากกว่าการตรวจด้วยวิธี  traditional algorithm รวมถึงมีความไวและความถูกต้องในการตรวจหาการติดเชื้อ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป : วิธีการตรวจแบบย้อนทางมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ตรวจคัดกรองซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ทดแทนวิธีการตรวจแบบดั้งเดิม

คำสำคัญ : ซิฟิลิส, การตรวจคัดกรองซิฟิลิสแบบดั้งเดิม, การตรวจคัดกรองซิฟิลิสแบบย้อนทาง

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021