การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปในผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ เพื่อทำผ่าตัดคลอดบุตรและทำหมัน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยครรภ์เป็นพิษ, การให้ยาระงับความรู้สึก, การคลอดบุตร, การทำหมันบทคัดย่อ
กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิง อายุ 30 ปี G3 P2 A0 L2 อายุครรภ์ 36 + 3 weeks by LMP, EDC 30 กรกฎาคม พ.ศ.2562 มาด้วยอาการปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ตาลาย ไม่มีอาการเจ็บครรภ์ ไม่มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ไม่มีแขนขาอ่อนแรง บวมทั้งตัว ไม่มีอาการชัก รู้สึกลูกดิ้นลดลง แรกรับ ความดันโลหิต 214/140mmHg ชีพจร 117 ครั้ง/นาที หายใจ 20 ครั้ง/นาทีT 36.5 °C น้ำหนักตัว 127.7 กิโลกรัม สูง 168 เซนติเมตร BMI 45.245 ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะ 3+ และมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะ 340 mg ใน 24 ชั่วโมง การวินิจฉัยครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง (severe preeclampsia) และต้องทำการผ่าตัดคลอดบุตรและทำหมัน (caesarean section with tubal resection)
การเลือกวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกขึ้นอยู่กับความรีบด่วนของการผ่าตัดคลอด สภาวะของมารดาและทารกในครรภ์ ความพร้อมและความชำนาญของบุคลากรทางวิสัญญี สำหรับผู้ตั้งครรภ์รายนี้ให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป (general anesthesia)เป็นการทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว และใส่ท่อช่วยหายใจร่วมด้วย เพราะเด็กเริ่มมีภาวะไม่ปกติ (non-reassuring fetal heart rate) ดังนั้น วิสัญญีพยาบาลต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพผู้ป่วยและทารกและอธิบายความจำเป็นในการให้ยาระงับความรู้สึกแก่ผู้ป่วยและญาติให้รับทราบ และต้องมีความชำนาญในการประเมินสภาพร่างกายอย่างละเอียด มีการเลือกใช้ยาให้เหมาะสม และใช้อุปกรณ์ตามมาตรฐานการเฝ้าระวังจาก ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ในระหว่างการผ่าตัดมีการติดตามดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด สังเกตการตอบสนองของผู้ป่วยต่อการผ่าตัด ปรับขนาดของยาสลบให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนตามระบบเน้นความสำคัญอยู่ที่ความปลอดภัยของผู้ป่วยและทารก ให้ความสะดวกแก่สูติแพทย์ให้ปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดคลอดปลอดภัยไม่พบภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงและมารดาได้รับการดูแลหลังผ่าตัดโดยการเฝ้าระวังทางเดินหายใจ ควบคุม ความดันโลหิต ปริมาณสารน้ำที่ให้ จำนวนปัสสาวะ ดูปริมาณเลือดที่ออกมา ดูแลการให้แมกนีเซียมซัลเฟต หลังผ่าตัดต่อเนื่องจากการดูแลขณะผ่าตัด ดูแลเรื่องการให้ยาระงับปวด และผู้ป่วยสามารถออกจากห้องพักฟื้นไปอยู่หอผู้ป่วยหลังคลอดได้
References
บุศรา ศิริวันสาณฑ์และคณะ. Anesthesia and Perioperative care. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2560.
ปรัชญาวรรณ ทองนอกและคณะ. Practical point in high risk ANC [Internet]. 2017 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1350:practical-point-in-high-risk-anc&catid=45&Itemid=561Medthai.
การตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ (Urine protein test) คืออะไร [Internet]. 2018 [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2563].เข้าถึงได้จาก https://medthai.com/การตรวจโปรตีนในปัสสาวะ/.
ศิริชัย วิริยะธนากร. Severe Preeclampsia [Internet]. [เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/Case_Report_Sirichai.pdf.
อักษร พูลนิติพรและคณะ. ตำราฟื้นฟูวิชาการวิสัญญีวิทยา. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2558.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว