การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมอง: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • อังคนา บุญชู กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลชลบุรี

คำสำคัญ:

เนื้องอกสมอง, การผ่าตัดเนื้องอกสมอง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

โรคเนื้องอกสมองเป็นความผิดปกติด้านการเจริญเติบโตของก้อนเนื้อในสมองหรือในกะโหลกศีรษะ ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิดในระบบประสาทและสมอง ความบกพร่องในการทำหน้าที่ของสมองจากพยาธิสภาพของโรคอื่นที่แพร่กระจายไปสู่สมอง การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเพื่อกำจัดเนื้องอกออกเป็นวิธีการหนึ่งของการรักษาเนื้องอกสมองทั้งนี้การผ่าตัดนั้นจะได้ผลมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับชนิด และตำแหน่งของเนื้องอกสมองว่าจะสามารถกำจัดเนื้องอกออกได้ทั้งหมด หรือกำจัดออกได้บางส่วน และอาจส่งผลกระทบกับผู้ป่วยด้านร่างกายและจิตใจหลังผ่าตัด ดังนั้นพยาบาลห้องผ่าตัดจึงเป็น ผู้มีบทบาทสำคัญในการช่วยทีมผ่าตัดรักษาผู้ป่วยให้ประสบผลสำเร็จ ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน ผู้เขียนจึงมีความสนใจศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมองที่สามารถกำจัดเนื้องอกออกได้ทั้งหมดและกำจัดออกได้บางส่วนซึ่งเป็นการเปรียบเทียบกรณีศึกษา จำนวน 2 ราย

ผลการศึกษาพบว่า กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยชายไทยอายุ 43 ปี ประวัติ 2 เดือน แขนขาซ้าย อ่อนแรง ปากเบี้ยว หนังตาตก ปวดศีรษะในตอนเช้า 2 วัน ก่อนมาโรงพยาบาลมีอาการปากเบี้ยว หนังตาตก และมีอาการปวดศีรษะมาก ไปตรวจรักษาที่โรงพยาบาลแหลมฉบังตามสิทธิ แพทย์ส่งตรวจ CT-Scan พบ mass at right frontal lobe size 5.0 x 5.2 x5.6 cm and brain edema and midline shift 1.2 cm จึงส่งมารักษาต่อที่โรงพยาบาลชลบุรึ ในวันที่ 29 เมษายน 2563 และแพทย์ set OR for Right Craniotomy with remove tumor วันที่ 30 เมษายน 2563 ใช้เวลาผ่าตัด 2 ชั่วโมง 5 นาที เสียเลือดทั้งหมด 600 ml หลังผ่าตัด 1 วันผู้ป่วยมีไข้ 38.2 องศา ปวดแผลผ่าตัด ยังมีแขนขาซ้ายอ่อนแรงเกรด 4 ระดับการรับรู้และสัญญาณชีพปกติ ไปหัดทำกายภาพ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 รวมอยู่โรงพยาบาล 9 วัน กรณีศึกษาที่ 2หญิงไทย อายุ 53 ปี มาโรงพยาบาลด้วยมีประวัติ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการปวดศีรษะ ชักเกร็ง 4 ครั้ง แขนขาข้างขวาอ่อนแรง มุมปากขวาตก ญาติพามาตรวจวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 แพทย์ให้นอนโรงพยาบาลและส่งตรวจ MRI พบ tumor ขนาด 5x6 cm ผู้ป่วยเคยผ่าตัดเนื้องอกสมองแล้วเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 แพทย์ผ่าตัดเอาก้อนเนื้องอกออกได้บางส่วนมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ความดันโลหิตสูงครั้งนี้แพทย์Set ผ่าตัด Re Craniotomy with lobectomy left parietal lope with Partial remove tumor วันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ใช้เวลาผ่าตัด 2 ชั่วโมง 45 นาที เสียเลือด 550 ml หลังผ่าตัด 1 วัน มีไข้ 39 องศา ปวดแผลผ่าตัด แขนขาขวาอ่อนแรง เกรด 2 มุมปากขวาตก ระดับการรับรู้และสัญญาณชีพปกติ ไปหัดทำกายภาพ และอนุญาตให้กลับบ้านในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 รวมอยู่โรงพยาบาล 8 วัน จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลห้องผ่าตัดมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการผ่าตัดเนื้องอกสมอง อย่างปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนและสามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

References

American Brain Tumor Association. Tumor Grading and Staging. [อินเตอร์เน็ต] 2014. [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2563]. Retrieved from http://www.abta.org/brain-tumor-information/diagnosis/gradingstaging.html.

อัตถพร บุญเกิด. โรคเนื้องอกสมอง (Brain tumor). [อินเตอร์เน็ต]. 2559. [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2563] สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/surgery/sites/default/files/public/pdf/PDFneuro/4.pdf.

World Health Organization. World health statistics 2017: monitoring health for the SDGs, Sustainable Development Goals. WHO Document Production Services, Geneva, Switzerland, 2017.

Ostrom, Q. T., Gittleman, H., Fulop, J., Liu, M., Blanda, R., Kromer, C., & BarnholtzSloan, J. S. CBTRUS statistical report: primary brain and central nervous system tumors diagnosed in the United States in 2008-2012. Neuro Oncol, 2015, 1093-1189.

สถาบันประสาทวิทยา. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส จำกัด, 2557.

พิมพญาภรณ์ ทรัพย์มีชัย. ปัจจัยทำนายสภาวะส่วนบุคคล ความทุกข์ทรมานจากอาการและพฤติกรรมการจัดการต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเนื้องอกสมอง. [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 25 พ.ค. 2563]. สืบค้นจาก: http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_5814032040_10679_11254.pdf.

คำปิ่น แก้วกนก. การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกสมองระหว่างการผ่าตัดที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป: กรณีศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2562, 83-102.

Downloads