การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคคาวาซากิร่วมกับภาวะลำไส้อักเสบเฉียบพลัน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, ผู้ป่วยเด็ก, โรคคาวาซากิ, ภาวะลำไส้อักเสบเฉียบพลันบทคัดย่อ
โรคคาวาซากิ (Kawasaki) พบในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเพศชายเป็นส่วนใหญ่ เป็นโรคที่มีการอักเสบของหลอดเลือดแดง การอักเสบมีโอกาสลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือด เป็นสาเหตุการเกิดภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงโคโรนารี (Coronary)
ผู้ป่วยเด็กเด็กอายุ 11 เดือน มารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 30 กันยายน 2562 ด้วยอาการ มีไข้ ถ่ายเหลวบ่อย 3 วัน จากนั้นมีผื่นแดงขึ้นตามตัว วินิจฉัยแรกรับลำไส้อักเสบเฉียบพลัน (Acute gastroenteritis) ร่วมกับภาวะไข้ออกผื่น (Viral examthem) และจากการตรวจพบ Erythrocyte sedimentation rate (ESR) และ C-reactive protein (CRP) สูงจึงวินิจฉัยว่าเป็นโรค Kawasaki ได้รับการรักษาโดยให้ Intravenous immune globulin (IVIG) และยาแอสไพริน (Aspirin) และส่งตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram) ผลปกติ ระหว่างดูแลให้การพยาบาลลดไข้ ลดการติดเชื้อในร่างกาย ลดความไม่สุขสบายจากผื่นคัน ป้องกันภาวะขาดสารน้ำและอาหาร ลดความวิตกกังวลของผู้ดูแลร่วมกับการให้ข้อมูล คำแนะนำร่วมกันในการดูแลผู้ป่วยเด็ก ผู้ป่วยเด็กมีอาการดีขึ้นตามลำดับจำหน่ายได้วันที่ 8 ตุลาคม 2562 ติดตามการรักษาค่า CRP ปกติ ไม่พบความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Coronary บทบาทสำคัญของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรค Kawasaki คือการป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือดแดง Coronary ด้วยการให้ยา IVIG ร่วมกับ ASA และทราบผลข้างเคียงของยา การสังเกตอาการของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด การเพิ่มขึ้นผิดปกติของเกล็ดเลือด ร่วมกับการดูแลความสุขสบายให้แก่ผู้ป่วยเด็ก จะส่งผลให้ผู้ป่วยเด็กเด็กปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนในภายหลัง
References
McCrindle BW, Rowley AH, Newburger JW, et al. Diagnosis, Treatment, and LongTerm Management of Kawasaki Disease: A Scientific Statement for Health Professionals From the American Heart Association. Circulation 2017; 135: 927–99.
Kuo H-C. Preventing coronary artery lesions in Kawasaki disease. Biomed J 2017; 40: 141– 6.
คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. Thai National Formulary 2010 : Special Access Medicines of National List of Essential Medicines. นนทบุรี: สำนักงานประสานการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา; 2553.
Lin M-T, Wu M-H. The global epidemiology of Kawasaki disease: Review and future perspectives. Glob Cardiol SciPract 2017;201-20.
Singh S, Vignesh P, Burgner D. The epidemiology of Kawasaki disease: a global update. Arch Dis Child 2015; 100: 1084–8.
กรมการแพทย์. คาวาซากิ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นจาก https://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=107282. [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563]
พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. การพยาบาลเด็ก เล่มที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ธนาเพลส; 2555.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หน่วยงานกุมารเวชกรรม. รายงานประจําปี 2562. ลพบุรี. โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ; 2562.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว