วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วย, การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานใน 8 หอผู้ป่วย กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลโคกสำโรง จำนวน 63 คน เก็บรวบรวมข้อมูล 1 - 30 กันยายน 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามวัฒนธรรมความปลอดภัยที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานปัจจุบัน 16-20 ปี ร้อยละ 27.0 และมีจำนวนการทำงาน 40-59 ชั่วโมง/สัปดาห์ ร้อยละ 46.0 พยาบาลวิชาชีพมีวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโดยทั้ง 12 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.27, S.D.=0.32) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยจำแนกตามรายหอผู้ป่วย ด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) สรุปได้ว่า ด้านการจัดคนทำงาน และด้านการรายงานเหตุการณ์ ส่งผลถึงการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยด้านอื่นๆ ตามมา ดังนั้นผู้บริหารทางการพยาบาลควรเร่งแก้ไขเป็นลำดับต้นๆ ซึ่งน่าจะช่วยให้ทั้งบุคลกรมีความสุขจากการมีชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม และผู้ป่วยปลอดภัยจากได้มีการแก้ไขจากมีการรายงานเหตุการณ์ที่มากขึ้น
References
สภาการพยาบาล. มาตรฐานการบริหารองค์กรบริการพยาบาลและการผดุงครรภ์, 2554 สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560, สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/M001(1).pdf
พรรณถนิม กิละกุลดิลก. วัฒนธรรมความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฎิบัติงาน ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร- มหาบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2553.
ศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข.สถานการณ์ผู้ได้รับผลกระทบทางการแพทย์และสาธารณสุข, 2017 สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2560, สืบค้นจาก https://www.nhso.go.th/files/userfiles/file/2017/005/N002.pdf
World Health Organization. Conceptual framework for the international classification of patient safety, 2009 ค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2560, สืบค้นจาก http://www.who.int/patientsafety/taxonomy/icps_full_report.pdf.
กนกวรรณ เมธะพันธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรที่ปฏิบัติงาน: กรณีศึกษาหนึ่งกลุ่มโรงพยาบาลภาคเอกชนไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร-มหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล. 2556.
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพมาตรฐานโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมฉลองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี (ฉบับที่ 3). นนทบุรี: หนังสือดีวัน. 2552.
อุบล แจ่มนาม รัศมีศรีนนท์. การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยของบุคลากรทางการพยาบาล ที่ปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ. 2561; 24(2): 25-36.
สมบูรณ์ สุโฆสิต. วัฒนธรรมความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตำรวจ. วารสารพยาบาลตํารวจ. 2557: 6(1): 221-229.
อนุวัฒน์ศุภชุติกุล. แบบสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล (ออนไลน์). 2551 สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2560, สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/207975
Best, John W. and Kahn, James V. Research in Education. (8thed). Singapore: Allyn and Bacon. 1998.
จุฑารัตน์ช่วยทวี และณิชกานต์ ทรงไทย. ปัจจัยที่มีผลต่อวัฒนธรรมความปลอดภัยของผู้ป่วย ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2560; 11(3): 43-61.
ฉวีฉัตร โฉลกคงถาวร และกัญญดา ประจุศิลป. การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาลัยของรัฐ. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย. 2562; 31(1): 61-71.
อนงค์ ถาวร, พร บุญมี และเกษร เกตุชู. วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2557; 8(2): 6-16.
ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง นโยบายชั่วโมงการทำงานของพยาบาลเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย, ประกาศ ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560. สืบค้นเมื่อ 5 สิงหาคม 2560, สืบค้นจากhttps://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/H002.pdf
Rogers, A.E., Hwang, W.T., Scott, L.D., Aiken, L.H., Dinges, D.F. The Working Hours of Hospital Staff Nurses and Patient Safety. Health Aff (Millwood). 2004; 23(4): 202-212.
ภัทริษา ชุมพล, พิมพ์พรรณ ศิลปะสุวรรณ, ดุสิต สุจิรารัตน, และพรชัย สิทธิศรัณย์กุล. วัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กรกับการปฏิบัติงานพยาบาลตามมาตรฐานความปลอดภัยตาม การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพที่มีต่อการเกิดและการรายงานอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์และเหตุการณ์เกือบพลาด. วารสารกรมการแพทย์. 2561; 43(5): 142-147.
Downloads
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว