ผลของการปฏิบัติตามแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี
คำสำคัญ:
แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMIบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โดยใช้ระบบช่องทางด่วน (Fast tract) บูรณาการร่วมกับแนวคิดการประสานความร่วมมือระหว่างแพทย์และพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดที่มารักษาที่โรงพยาบาลโคกสำโรงทุกราย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 – 31 ธันวาคม 2562 จำนวน 33 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า Door to EKG ภายใน 10 นาที เท่ากับ 24 ราย คิดเป็น ร้อยละ 72.72, Door to needle Time ภายใน 180 นาที เท่ากับ 31 ราย คิดเป็น ร้อยละ 93.93 และ Total Ischemic Time ภายใน 360 นาที เท่ากับ 10 ราย คิดเป็น ร้อยละ 30.3 ดังนั้น ประโยชน์จากการใช้แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI โดยมีการประสานความร่วมมือระหว่างแพทย์และพยาบาลในการใช้ช่องทางด่วน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการเปิดหลอดเลือดหัวใจด้วยยาละลายลิ่มเลือดได้เร็วขึ้น จึงควรมีการพัฒนารูปแบบเชิงรุกเพื่อเพิ่มการเข้าถึงที่รวดเร็ว ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
References
นายแพทย์เกรียงไกร เฮงรัศมี. แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทยฉบับปรับปรุง ปี 2557. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ. ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด;2557.
กองโรคไม่ติดต่อ [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร.จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559-2561. [เข้าถึงเมื่อ 23 พฤษภาคม 2563]. ที่มา:http://www.thaincd.com/2016/mission/documents.php?tid=32&gid=1
การประชุมวิชาการ Cardiac Network Forum ครั้งที่ 1. Update Acute STEMI Treatment. เครือข่ายหัวใจยิ้มได้; ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์; 2552:2-3.
Huber K, Caterina RD, Kristensen SD, Verheugt FW, Montalescot G, Maestro LB, Werf FV. Pre-hospital reperfusion therapy: a strategy to improve therapeutic outcome in patients with ST-elevation myocardial infarction. European heart journal. 2005 Oct 1;26(19):2063-74.
วันเพ็ญ แสงเพ็ชรส่อง,ทัชวรรณ ผาสุข และธนิตา ฉิมวงษ์ การพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระยะวิกฤต ในโรงพยาบาลระยอง. วารสารกองการพยาบาล, 2555.;39:32-45.
Dechairo-Marino AE, Jordan-Marsh M, Traiger G, Saulo M. Nurse/physician collaboration: action research and the lessons learned. JONA: The Journal of Nursing Administration. 2001 May 1;31(5):223-32.
Miller KL, Reeves S, Zwarenstein M, Beales JD, Kenaszchuk C, Conn LG. Nursing emotion work and interprofessional collaboration in general internal medicine wards: a qualitative study. Journal of Advanced Nursing. 2008 Nov;64(4):332-43.
Prakongsai N, Pongchaidecha M, Chalongsuk R. Effectiveness of a Collaborative Program between Pharmacists and Nurses to Improve Spontaneous Reporting System of Adverse Drug Reactions in Prapokklao Hospital, Chanthaburi Province. ประสิทธิผลของโปรแกรมความร่วมมือระหว่าง เภสัชกรและพยาบาลในการรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาตามความสมัครใจโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. Journal of Health Science-วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2017 Dec 12;16(S1):55-68.
นพมาศ พงษ์ประจักษ์, พิธา พรหมลิขิตชัย, ทิตยา ด้วงเงิน. การประเมินผลการพัฒนารูปแบบการจัดบริการผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ST ยก ในสถานบริการสาธารณสุข จังหวัดสระบุรี. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing ISSN 2672-9774 (Online). 2017;28(1):69-80.
Panapoy A, Pleeianthaisong B. การพัฒนาเครือข่ายการพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน STEMI โรงพยาบาลบุรีรัมย์. MEDICAL JOURNAL OF SRISAKET SURIN BURIRAM HOSPITALS. 2018 Sep 1;33(2):145-63.
วีรชัย ตรีวัฒนาวงศ์. ปัจจัยที่มีผลกับอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST Elevation ในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม.2558(12):136-148.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว