การพยาบาลผู้ป่วยแผลไหม้น้ำร้อนลวกร่วมกับมีภาวะการติดเชื้อที่ปอด: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, แผลไหม้น้ำร้อนลวก, การติดเชื้อที่ปอดบทคัดย่อ
การบาดเจ็บจากแผลไหม้น้ำร้อนลวกพบได้ทุกเพศทุกวัย สาเหตุส่วนใหญ่เนื่องจากถูกเปลวไฟลวก ถูกของเหลวร้อนลวก กระแสไฟฟ้าแรงสูง และสารเคมี การเกิดแผลไหม้ในวัยเด็กหรือวัยสูงอายุ มักเกิดจากอุบัติเหตุภายในบ้าน ส่วนในวัยทำงาน 21-40 ปี สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุจากการทำงาน
กรณีศึกษาผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 52 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยอาการมีแผลไหม้บริเวณใบหน้า ลำคอ แขน 2 ข้าง จากแก๊สระเบิด 6 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัย 25% 2nd Degree burn at face both arms with pneumonia ผู้ป่วยมีอาการสูดดมควันได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ต่อมาเกิดภาวะปอดติดเชื้อ ในระยะวิกฤตให้การพยาบาลดูแลทางเดินหายใจ ชดเชยสารน้ำใน 24 ชั่วโมงแรก เพื่อป้องกันภาวะพร่องออกซิเจนจากการอุดกั้นทางเดินหายใจ และจากการสูญเสียน้ำจำนวนมากจากแผลไหม้ ให้ยาปฏิชีวนะร่วมกับการดูแลลดการติดเชื้อที่ปอด และดูแลแผลไหม้ร่วมกับผลิตภัณฑ์ปิดแผล บรรเทาความปวดด้วยการให้ยามอร์ฟีนจนอาการดีขึ้นตามลำดับ หลังการดูแล 6 วัน ถอดท่อหายใจได้ ฟื้นฟูด้านร่างกาย จิตใจของผู้ป่วยและญาติ ด้วยการทำกายภาพบำบัด ส่งเสริมการหายของแผล ให้ความมั่นใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับภาพลักษณ์ได้ ผู้ป่วยปลอดภัยและไม่มีภาวะแทรกซ้อน จำหน่ายกลับบ้านได้ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 รวมระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล 15 วัน
บทบาทพยาบาลในการดูแลบาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยแต่ละระยะ เพื่อให้การดูแลได้อย่างครอบคลุมองค์รวม ความต้องการการดูแลที่สำคัญคือ การควบคุมป้องกันการติดเชื้อ การส่งเสริมการหายของแผล การดูแลบาดแผล การดูแลให้ผู้ป่วยมีความสุขสบาย ลดความเจ็บปวดทุกข์ทรมาน การดูแลด้านจิตใจผู้ป่วยละญาติ ให้มีส่วนร่วมในการรักษาพยาบาล เพื่อให้บาดแผลหายเร็ว ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ป้องกันได้ รวมทั้งอวัยวะต่างๆ ไม่ผิดรูป ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถกลับไปใช้ชีวิตอยู่ในครอบครัวและสังคมได้อย่างมีความสุข
References
American Burn Association White Paper. Surgical management of the burn woulnd and use of skin substitutes. American Burn Association; 2009.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (Online). ข้อมูลอัคคีภัยปี 2532-2560. สืบค้นจาก https://www.baania.com/th/article.
อุรวดี เจริญชัย. Nursing Care in Burn Wound. Srinagarind Med J; 2013: 19-28.
พรพรม เมืองแมน และจอมจักร จันทรสกุล. การดูแลบาดแผลไหม้เบื้องต้น (Early Burn Wound Care). Update on Wound Care 2009. กรุงเทพเวชสาร; 2552: 81-112.
ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หน่วยงานศัลยกรรม. รายงานประจําปี 2562. ลพบุรี :โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ; 2562.
ภัทรพร คําพิมูล. Nursing Management in Burn Wound Care. ใน: Many Facets of Wound Care in the Year 2016. สมาคมแผลไหม้และสมานแผล (ประเทศไทย). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร; 2559.
ชัยรัตน์ บุรุษพัฒน์. การบาดเจ็บจากการสูดดมควันไฟร้อน (Inhalation injury). เวชสารแพทย์ทหารบก; 2562; 72(2): 129-136.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของโรงพยาบาลสิงห์บุรี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลสิงห์บุรี และบุคคลากรท่านอื่นๆในโรงพยาบาลฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว