การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ตับร่วมกับภาวะหายใจล้มเหลว: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • กิติมากร โพธิ์จันดี โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, บาดเจ็บที่ตับ, ภาวะหายใจล้มเหลว

บทคัดย่อ

การบาดเจ็บของตับจากการบาดเจ็บของช่องท้องชนิดไม่มีบาดแผลเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ กรณีศึกษา ผู้ป่วยชายไทยอายุ 22 ปี ขับรถจักรยานยนต์ชนกับจักรยานยนต์ กระเด็นไปกระแทกที่กั้นถนน พบรอยถลอกบริเวณหน้าอก ชายโครงขวา หายใจเร็ว กระสับกระส่าย ซีด ปลายมือปลายเท้าเย็น เจ็บท้องด้านขวา มี Guarding ศัลยแพทย์วินิจฉัย Blunt abdominal injury with hemodynamic unstable and right lung pneumo-hemothorax ทำ CT whole abdomen พบ Liver injury gr.3 with large hemoperitoneum ส่งทำผ่าตัดอย่างรวดเร็ว ได้รับการผ่าตัด Explore lap with perihapatic temporary abdominal packing หลังผ่าตัดให้เลือดและส่วนประกอบของเลือดทดแทน สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ไม่มีเลือดในช่องท้องออก ใส่เครื่องช่วยหายใจชนิดควบคุมปริมาตร ใส่ต่อท่อระบายทรวงอกที่ปอดด้านขวาชนิด 2 ขวด หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง ทำ Explore lap with off swab packing ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ Delay hemorrhage และภาวะติดเชื้อเป็นหนองในช่องท้อง เจาะเลือดผลการทำงานของตับเป็นปกติ เอ็กซเรย์ปอดดีขึ้น ถอดท่อระบายทรวงอกและท่อช่วยหายใจได้ ผู้ป่วยได้รับการดูแลในห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาทและอุบัติเหตุ 4 วัน ย้ายไปตึกศัลยกรรมชาย อาการทั่วไปดีขึ้นช่วยเหลือตนเองได้ จำหน่ายกลับบ้าน รวมอยู่โรงพยาบาล 13 วัน การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ตับต้องให้การดูแลอย่างเฉียบพลันและเร่งด่วน พยาบาลเป็นบุคลากรที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย จึงต้องให้การพยาบาลที่ถูกต้องกับปัญหาของผู้ป่วย ทั้งในระยะวิกฤต ระยะก่อนผ่าตัด และสอดคล้องกับแผนการรักษาของแพทย์เพื่อชวยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที

References

Nasim Ahmed, Jerome JV. Management of liver trauma in adults: J Emergency Trauma Shock. Jan-Mar; 2011; 4(1): 114-119.

Ahmad W, Polk HC, Jr. Blunt abdominal trauma : A prospective study with selective periotoneal lavage. Arch Surg; 1976: 111-489.

อำนาจ กาศสกุล และคณะ. ปัจจัยทำนายผลลัพธ์การบาดเจ็บของผู้ป่วยผู้ใหญ่ในระยะเร่งด่วนฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล; 2554; 26(4): 30-42.

ศูนย์ข้อมูลโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช หน่วยงานศัลยกรรม. รายงานประจำปี 2562. ลพบุรี :โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช ; 2562.

สุจิตรา ลิ้มอานวยลาภ. การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต Critical care nursing. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2551.

รัชนี เบญจธนัง, พิมพ์จิตร์ กาญจนสินธุ์, ปราณี ทองใส และสุมิตรา สินธ์ศิริมานะ. การพยาบาลศัลยศาสตร์วิกฤต: Critical nursing care essentials surgical patient. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด; 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2020