ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราว ในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • พรพรรณ เปาริก กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว, ทารกแรกเกิด, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด เป็นภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิดที่พบได้บ่อยที่สุด ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะนี้หลายปัจจัย ในการศึกษาของต่างประเทศพบปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การผ่าตัดคลอด เพศชาย Large for Gestational Age (LGA) Low Birth Weight (LBW) การคลอดก่อนกำหนด การมีฝาแฝด มารดามีโรคแทรกซ้อนเป็นเบาหวานและหอบหืด ส่วนการศึกษาในไทยยังมีค่อนข้างน้อย และยังมีปัจจัยเสี่ยงบางปัจจัยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยนี้

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดของโรงพยาบาลสิงห์บุรี และศึกษาหาอายุครรภ์ที่เหมาะสมที่จะทำการผ่าตัดคลอด

รูปแบบการวิจัย: การวิจัยย้อนหลัง Case-Control study

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลเวชระเบียนของทารกแรกเกิดที่คลอดในโรงพยาบาลสิงห์บุรีตั้งแต่ พ.ศ.2555-2563 มีกลุ่มประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่วินิจฉัยว่ามีภาวะหายใจเร็วชั่วคราวหลังคลอด (Cases) จำนวน 92 คน และกลุ่มที่มีภาวะหายใจปกติ (Controls) จำนวน 92 คน

ผลการศึกษา: พบว่าทารกแรกเกิดที่มีภาวะ TTN เป็นเพศชายร้อยละ 68.5 มีอายุครรภ์เฉลี่ย 37.57 (± 1.73) สัปดาห์ มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 28.3 มีภาวะ LGA ร้อยละ 25 และภาวะ LBW ร้อยละ 14.1 ส่วนใหญ่คลอดด้วยวิธีผ่าตัดคลอด ร้อยละ 81.5 โดยเป็นการผ่าคลอดขณะยังไม่เจ็บครรภ์ ร้อยละ 29.3 Apgar score ที่ 1 นาที มีค่าเฉลี่ย 9.08 (± 1.19) คะแนน Apgar score ที่ 5 นาที มีค่าเฉลี่ย 9.74 (± 0.55) คะแนน มารดามีภาวะแทรกซ้อนเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 22.8 มารดาเป็นโรคหอบหืด ร้อยละ 1.1 และระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 6.72 (± 3.65) วัน โดยพบว่าทารกเพศชาย อายุครรภ์น้อยกว่า 37สัปดาห์ (ภาวะคลอดก่อนกำหนด) และการผ่าตัดคลอด ทั้งผ่าคลอดฉุกเฉินและผ่าคลอดขณะยังไม่เจ็บครรภ์ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะ TTN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ TTN เป็น 2.95 เท่า (OR 2.95, 95%CI =1.46-5.97, P=0.003), 4.53 เท่า (OR 4.53, 95%CI =1.43-14.37, P=0.01), 2.32 เท่า (OR 2.32, 95%CI =1.04-5.19, P=0.039) และ 5.65 เท่า (OR 5.65, 95%CI =2.2-14.51, P=<0.001) ตามลำดับ และพบว่าอายุครรภ์เกิน 39 สัปดาห์เป็นปัจจัยป้องกันการเกิด TTN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าทางสถิติ OR 0.39, 95%CI =0.18-0.83, P=0.007

สรุป: ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลสิงห์บุรี                      อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ทารกเพศชาย อายุครรภ์น้อยกว่า37สัปดาห์ และการผ่าตัดคลอด                      ทั้งผ่าคลอดฉุกเฉินและผ่าคลอดขณะยังไม่เจ็บครรภ์ โดยเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ TTN เป็น 2.95 เท่า, 4.53 เท่า, 2.32 เท่า และ 5.65 เท่า เมื่อเทียบกับทารกที่หายใจปกติ ส่วนอายุครรภ์เกิน 39 สัปดาห์เป็นปัจจัยป้องกันการเกิด TTN อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นการทำ Elective cesarean section                                     อาจพิจารณาทำที่อายุครรภ์มากกว่า 39 สัปดาห์เป็นต้นไป

References

1. Lokanuwatsatien, Tananya, Sudatip Kositamongkol, and Sariya Prachukthum. “Incidence, Presentation, Risk Factors and Causes of Respiratory Distress in Term Newborns at Thammasat University Hospital.” Thammasat Medical Journal 20.2 (2020): 130-136.

2. Sabzehei, Mohammad Kazem, et al. “Risk factors affecting transient tachypnea of the newborn in fatemieh hospital of Hamadan, Iran, 2015-2016.” Iranian Red Crescent Medical Journal 20.S1 (2018).

3.Chiluka S, Srinivas M, Anitha K, Basha S, Reddy P. Incidence, clinical profile and outcome of transient

tachypnea of newborn. Int J Pediatr Res. 2017;4(10):623-628.

4.Bekdas, Mervan, Sevil Bilir Goksugur, and Beyhan Kucukbayrak. “The causes of prolonged transient tachypnea of the newborn: a cross-sectional study in a Turkish maternity hospital.” South Eastern Europe Health Sci J 3.2 (2013): 152-158.

5.Hagen, Eunice, Alison Chu, and Cheryl Lew. “Transient tachypnea of the newborn.” NeoReviews 18.3 (2017): e141-e148.

6. Jha, Kanishk, and Kartikeya Makker. “Transient tachypnea of the newborn.” (2019).

7. Correia, Claudia, et al. “Respiratory morbidity in late preterm infants.” Minerva pediatrica 70.4 (2016): 345-354.

8. Limlikhit, Mr Tippawan. “Risk factors of transient tachypnea of the newborn in detudom crown Prince hospital.” Mahasarakham Hospital Journal-วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม (2015).

9. Tutdibi, Erol, et al. “Impact of labor on outcomes in transient tachypnea of the newborn: population-based study.” Pediatrics 125.3 (2010): e577-e583.

10. Suangtho, Natthawan. “Risk Factors of Transient Tachypnea of the Newborn in Chaiyaphum Hospital=ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหายใจเร็วชั่วคราวของทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลชัยภูมิ.” Chaiyaphum Medical Journal: ชัยภูมิเวชสาร (2020): 89-89.

11.สุรีพร ศรีโพธิ์อุ่น. “ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด: บทบาทพยาบาลห้องคลอด.” Nursing Journal of The Ministry of Public Health 29.1 (2019): 11-20.

12. Kawakita, T., et al. “Increased neonatal respiratory morbidity associated with gestational and pregestational diabetes: a retrospective study.” American journal of perinatology 34.11 (2017): 1160.

13. Zanardo, V., et al. “Neonatal respiratory morbidity risk and mode of delivery at term: influence of timing of elective caesarean delivery.” Acta pædiatrica 93.5 (2004): 643-647.

14.Zanardo, Vincenzo, et al. “The influence of timing of elective cesarean section on neonatal resuscitation risk.” Pediatric Critical Care Medicine 5.6 (2004): 566-570.

15. Gundogdu, Zuhal. “New Risk Factors for Transient Tachypnea of the Newborn and Childhood Asthma: A Study of Clinical Data and a Survey of Parents.” Cureus 11.12 (2019).

16. Smith, G. C. S., et al. “Neonatal respiratory morbidity at term and the risk of childhood asthma.” Archives of disease in childhood 89.10 (2004): 956-960.

17. Golshantafti, Mohammad, Tahereh Yavari, and Mohammadhosain Afrand. “Risk of wheezing attacks in infants with transient tachypnea newborns.” Iranian journal of pediatrics 26.1 (2016).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021