ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานโรงพยาบาลสู่องค์กรแห่งความสุข

ผู้แต่ง

  • พวงผกา คลายนาทร กลุ่มงานบริหารทั่วไป โรงพยาบาลพระพุทธบาท

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งความสุข, การบริหารงานโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขของบุคลากรในโรงพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับองค์กรแห่งความสุขกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรโรงพยาบาลพระพุทธบาท สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจำนวน 232 คน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยระดับบุคคล ปัจจัยระดับครอบครัว ปัจจัยระดับองค์กรและองค์กรแห่งความสุข การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ หาความตรงเชิงเนื้อหามีค่าเท่ากับ.91หาความเชื่อมั่นค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient)มีค่าเท่ากับ.97วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความสุขอยู่ในระดับมาก (=3.89, SD = .38) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานโรงพยาบาลสู่องค์กรแห่งความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ได้แก่ ปัจจัยระดับองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r = .76) และปัจจัยระดับครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง(r = .51) โดย 3 ลำดับแรกของปัจจัยระดับองค์กร คือสภาพแวดล้อม สัมพันธภาพในที่ทำงาน และนโยบายในการบริหารงาน (r = .60, .59 และ .58) ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการศึกษานี้ไปวางแผนพัฒนาการบริหารงานโรงพยาบาลสู่องค์กรแห่งความสุข โดยพิจารณาเน้นการเพิ่มปัจจัยระดับองค์กรเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการสร้างสัมพันธภาพในที่ทำงาน การจัดสภาพแวดล้อม และนโยบายในการบริหารงาน

References

1. สมชัย ปราบรัตน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตในพื้นที่จังหวัดสงขลา. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ ; 2560.
2. ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์, จุลัยวรรณ ด้วงโคตะ และนพพร ทิแก้วศรี. มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. นนทบุรี : บริษัทสองขาครีเอชั่นจำกัด ; 2561.
3. Diener E. Subjective Well-Being: The Science of Happiness and a Proposal for a National Index. APA PsycNet 2000 ; 55(1) : 34-43.
4. Lyubomirsky S. Why are some people happier than other? The role of cognitive and motivational process in well-being. APA PsycNet 2001 ; 56(3) : 239 - 49.
5. Manion J. Joy at Work: Creating a positive workplace. J Nurs Adm 2003 ; 33(12) : 652-5.
6. สมคิด ปิ่นทอง. รูปแบบการจัดการการกีฬาแห่งประเทศไทยให้เป็นองค์กรแห่งความสุข. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (วิทยาศาสตร์การกีฬา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ; 2556.
7. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือมาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพมหานคร : แผนงานองค์กรสุขภาวะภาคเอกชน ; 2552.
8. ภาวินี พลายน้อย และจักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 2561 ; 11(1) : 92-103.
9. Yamane, Taro. Statistics ; An introductory analysis. New York : Harper & Row ; 1973.
10. ศศิธร เหล่าเท้ง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. อิทธิพลของกิจกรรมสร้างสุขในองค์กร ตามแนวทางความสุข 8 ประการ ที่มีต่อความสุขในการทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และความตั้งใจในการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2557 ; 7(2) : 988-1006.
11. เด่นชัย อาทิตย์เจริญชัย. องค์กรแห่งความสุขของโรงเรียนศรีบุณยานนท์. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร 2558 ; 7(2) : 136-43.
12. ยรรยงค์ อิ่มสุวรรณ. การพัฒนาหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความสุข. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงศึกษา) บัณฑิตศึกษา โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ; 2560.
13. ประครอง น้อยเรือง. ความคิดเห็นต่อการเป็นองค์กรแห่งความสุขของพนักงานสุรา บริษัท บางยี่ขัน จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช ; 2560.
14. ธัมมัฏฐิตตา อยู่เจริญ และเจษฎา อังกาบสี. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงส ารวจขององค์กรแห่งความสุข: กรณีศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ 2561 ; 10(1) : 34-68.
15. พรทิพา สมบูรณ์เลิศศิริ และจิราพร ระโหฐาน. รูปแบบองค์กรแห่งความสุขและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์กร บริษัท ไออาร์ พีซี จำกัด (มหาชน). วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา 2556 ; 5(1) : 19-31.
16. นภัส จิตต์ธีรภาพ. ปัจจัยส่วนบุคคล ความสุขในการทำงาน และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน: กรณีศึกษา โรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหา-บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ; 2554.
17. สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ และสุชาดา บวรกิติวงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 2557 ; 6(1) : 2563-77.
18. วิภาดา แก้วนิยมชัยศรี. ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งความสุขของเทศบาลในจังหวัด บึงกาฬ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal 2556 ; 6(2) : 501-13.
19. พรณรงค์ ว่องสุนทร, เกษมชาติ นเรศเสนีย์ และวิมล หอมยิ่ง. ปัจจัยที่เอื้อต่อความสุขในการทำงานของพนักงานในส่วนการผลิตหัวอ่านเขียนบริษัท เวสเทิร์นดิจิตอล (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021