ผลการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • วิภาพร ตรีสุทรรศน์ กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน, การให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ, ผลการรักษาที่ดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการรักษาผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ และปัจจัยที่มีผลต่อผู้ป่วยกลุ่ม good outcome ผู้ป่วย โดยเป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2559 – 30 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยเก็บข้อมูลพื้นฐาน โรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน และผลการรักษาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ จนถึง 3 เดือน จำนวน 98 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย, ร้อยละ, แมนท์วิทนีย์ ยู เทสต์ และวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดเข้าเกณฑ์การศึกษามีทั้งหมด 74 ราย อายุระหว่าง 41-83 ปี อายุเฉลี่ย 64.0±10.9 ปี มีอาการดีขึ้นหลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด (mRS 0-1) ที่ 3 เดือน 49 ราย (ร้อยละ 66.2) ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่มีอาการจนมาถึงโรงพยาบาลคือ 106.1±49.9 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยในการได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำหลังจากที่มายังโรงพยาบาล 64.4±28.5 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่มีอาการจนถึงได้ยาละลายลิ่มเลือด 171.0±52.2 นาที ค่ามัธยฐาน NIHSS ที่ stroke unit 8 จากการศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิด good outcome ได้แก่ Triglyceride มากกว่า 150 mg/dl และ NIHSS at ER < 10 สรุป: ผลการรักษาโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้ผลดี (good outcome) ถึงร้อยละ 66.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับ การเกิด good outcome ได้แก่ Triglyceride มากกว่า 150 mg/dl และ NIHSS at ER < 10

References

Feigin VL, Norrving B, Mensah GA. Global Burden of Stroke. Circ Res. 2017;120(3):439-48.

กลุ่มข้อมูลข่าวสารสุขภาพ, กองยุทธศาสตร์และแผนงานสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2561:77-78.

Truelsen T, Begg S, Mathers C. The global burden of cerebrovascularDisease [Internet]. 2000 [cited 2017 Jun 15]. 1-56. Available from: http://www.who.int/healthinfo/statistics/bod_cerebrovasculardiseasestroke.pdf.

National Institute of Neurological Disorders and Stroke rt-PA Stroke Study Group. Tissue plasminogen activator for acute ischemic stroke. N Engl J Med 1995;333:1581–7.

Hacke W, Kaste M, Bluhmki E, et al. Thrombolysis with alteplase 3 to 4.5 hours after acute ischemic stroke. N Engl J Med 2008;359:1317-29.

del Zoppo GJ, Saver JL, Jauch EC, Adams HP Jr, et al. Expansion of the time window for treatment of acute ischemic stroke with intravenous tissue plasminogen activator: a science advisory from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2009;40:2945–8.

Jauch EC, Saver JL, Adams HP, et al. guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2013;44:870-947.

Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. 2018 guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2018;49:e46–e99.

Powers WJ,Ackerson Teri,Bambakidis NC,et al.2019 guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2019;49:e344–e418.

Lees KR, Bluhmki E, Kummer R von, Brott TG, Toni D, Grotta JC, et al. Time to treatment with intravenous alteplase and outcome in stroke: an updated pooledanalysis of ECASS, ATLANTIS, NINDS, and EPITHET trials. Lancet 2010;375:1695-703.

Dharmasaroja PA, Dharmasaroja P, Muengtaweepongsa S. Outcomes of Thai patients with acute ischemic stroke after intravenous thrombolysis. J Neurol Sci 2011;300:74-7.

Downloads