ระดับความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง หลังได้รับการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • สุตัญชลี สิกาญจนานันท์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง, ระดับความสามารถในการเดิน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการเดินของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการฟื้นฟูผู้ป่วยระยะกลางที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี และปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถ ในการเดินของผู้ป่วยที่ระยะเวลา 6 เดือน กลุ่มประชากร: ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี จำนวน 195 คน เข้ารับการฟื้นฟูตั้งแต่มกราคม ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งหมด 54 คน วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งหมดที่ติดตามการรักษาที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี เก็บข้อมูลผู้ป่วยซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถในการเดิน คะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน และคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันแบบดัดแปลง ก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล และที่เวลา 6 เดือน จากระดับความสามารถในการเดินแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่สามารถเดินได้ และกลุ่มที่ไม่สามารถเดินได้ โดยใช้คะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันแบบดัดแปลง ผู้ป่วยที่มีคะแนน 2 หรือ 3 จะอยู่ในกลุ่มที่สามารถเดินได้ และหาปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถ ในการเดินที่ระยะเวลา 6 เดือนโดยใช้สถิติไคสแควร์และการถดถอยโลจิสติกส์

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมดจำนวน 54 คน มีผู้ป่วยอาการดีขึ้น ร้อยละ 64.8 คงที่ ร้อยละ 33.3 และแย่ลงร้อยละ 1.9 ที่ระยะเวลา 6 เดือน ผู้ป่วยสามารถเดินได้ด้วยตนเอง ร้อยละ 57.4 เดินได้โดยอาศัยความช่วยเหลือ ร้อยละ 14.8 เคลื่อนที่ได้ด้วยรถเข็นนั่ง ร้อยละ 3.7 ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ร้อยละ 24.1 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่เดินได้ด้วยตนเองเดิมเป็นผู้ป่วยที่ต้องช่วยเวลาเดินก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล ร้อยละ 48.1 ผู้ป่วยกลุ่มที่เดิมไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ร้อยละ 9.3 ผู้ป่วยที่ไม่สามารถเดินได้ ในช่วงก่อนจำหน่ายจากโรงพยาบาล หลังเข้ารับการฟื้นฟูสามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยรถเข็นนั่งเดินได้ โดยอาศัยความช่วยเหลือ และเดินได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 3.7, 3.7 และ 9.3 ตามลำดับ สรุป: ผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองหลังได้รับการฟื้นฟูจากสหสาขาวิชาชีพ เมื่อติดตามที่ระยะเวลา 6 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการเดินที่ดีขึ้น ในกลุ่มที่สามารถกลับมาเดินได้ด้วยตนเองส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่ต้องช่วยเวลาเดินก่อนออกจากโรงพยาบาล ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความสามารถในการเดิน ที่ระยะเวลา 6 เดือนคือคะแนนความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันที่เวลา 6 เดือน และรูปแบบ ในการรักษาไม่มีผลต่อความสามารถในการเดินที่ดีขึ้น

References

Shah MV. Rehabilitation of the older adult with stroke. Clin Geriatr Med 2006;22:469–89.

Hanchaiphiboolkul S, Poungvarin N, Nidhinandana S, Suwanwela NC, Puthkhao P, Towanabut S, et al. Prevalence of stroke and stroke risk factors in Thailand: Thai Epidemiologic Stroke (TES) Study. J Med Assoc Thai. 2011;94:427–436.

Kuptniratsaikul V, Thitisakulchai P, Sarika S, et al. The Burden of Stroke on Caregivers at 1-year after Discharge: A Multicenter Study. J Thai Rehabil Med 2018;28(1):8-14.

Hajek VE, Gagnon S, Ruderman JE. Cognitive and Functional assessment of stroke patients: an analysis of their relation. Arch Phys Med Rehabil 1997;78:1331-7.

Scranton RN, Fogel ML, Erdman WJ. Evaluation of Functional levels of patients during and following rehabilitation. Arch Phys Med Rehabil 1970;51:1-21.

Jorgensen HS, Nakayama H, Raaschou HO, et al. Outcome and time course of recovery in stroke. Part II: time course of recovery. The Copenhagen Stroke Study. Arch Phys Med Rehab 1995;76:406–12.

สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล และคณะ. ความชุกโรคหลอดเลือดสมองและปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย: โครงการศึกษาระบาดวิทยาโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. จดหมายเหตุทางแพทย์. 2554;94(4):427-36.

Jorgensen HS, Nakayama H, Raaschou HO, Olsen TS. Recovery of walking function in stroke patients: the Copenhagen Stroke Study. Arch Phys Med Rehabil 1995;76:27-32.

Friedman PJ. Gait recovery after hemiplegic stroke. Int Disabil Studies 1991;12:119-22.

Dajpratham P, Kuptniratsaikul V, Putthakumnerd W, et al. Walking Function at 1-Year

after Stroke Rehabilitation: A Multicenter Study. J Med Assoc Thai 2014; 97 (1): 107-12.

Lord SE, McPherson K, McNaughton HK, et al. Community ambulation after stroke: how important and obtainable is it and what measures appear predictive? Arch Phys Med Rehabil 2004;85:234-9.

Viosca E, Lafuente R, Martínez JL, et al. Walking recovery after an acute stroke: assessment with a new functional classification and the Barthel Index. Arch Phys Med Rehabil 2005;86:1239-44.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2020