ความแม่นยำในการรายงานผลอัลตร้าซาวด์เต้านมแบบไบแรดส์ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • ลลิตศา วรรธนะศักดิ์ แผนกรังสีวิทยา โรงพยาบาลสิงห์บุรี

คำสำคัญ:

อัลตร้าซาวด์เต้านม, ไบแรดส์, มะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้หญิงไทยและทั่วโลก การรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยาแบบไบแรดส์พัฒนาขึ้นโดย American College of Radiology เพื่อเป็นมาตรฐานในการสื่อสารระหว่างรังสีแพทย์และแพทย์ผู้ส่งตรวจให้เข้าใจตรงกัน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การรายงานผลการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมแบบไบแรดส์ในโรงพยาบาลสิงห์บุรีเปรียบเทียบกับผลทางพยาธิวิทยาว่ามีความแม่นยำเพียงใด โดยศึกษาย้อนหลังจากผลอัลตร้าซาวด์เต้านมเทียบกับผลพยาธิวิทยาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ช่วงปี พ.ศ.2560 ถึง พ.ศ. 2562  ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 341 ราย พบผู้ที่มีทั้งผลการรายงานแบบไบแรดส์และผลพยาธิวิทยาทั้งสิ้น 32 ราย ผลพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งร้อยละ 34.38, ไม่ใช่มะเร็งร้อยละ 65.63, ไบแรดส์ 0-2 ไม่มีการส่งตรวจทางพยาธิวิทยา, ไบแรดส์ 3 และ 4A ไม่พบผลพยาธิวิทยาที่เป็นมะเร็ง, ไบแรดส์ 4B พบมะเร็งร้อยละ 16.67,  ไบแรดส์ 4C พบมะเร็งร้อยละ 54.55 และไบแรดส์ 5 พบมะเร็งร้อยละ 100 , ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 28 ในไบแรดส์ 4 และ ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 100 ในระดับไบแรดส์ 5  สรุปผลการวิจัยพบว่าการรายงานผลแบบไบแรดส์ด้วยวิธีการตรวจอัลตราซาวด์ในโรงพยาบาลสิงห์บุรี มีอัตราการตรวจพบผลพยาธิวิทยาเป็นมะเร็งและค่าพยากรณ์บวกในระดับไบแรดส์ 3-5 สอดคล้องกับค่าความน่าจะเป็นของมะเร็งตามคำแนะนำของ ACR

References

1. Pournamdar Z, Salehiniya H. (2016) Incidence and mortality and epidemiology of breast cancer in the world, Asian Pacific journal of cancer prevention (APJCP) 2016; 17(S3), 43-6. doi:10.7314/apjcp.2016.17.s3.43.
2. Imsmran W, Pattatang A, Supaattagorn P, Chiawiriyabunya I, Namthaisong K, Wongsena M Cancer in Thailand Vol.IX, 2013-2015, 2018, p.9.
3. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล ปี 2560, Hospital-based cencer registry annual report 2017: พรทรัพย์การพิมพ์ 2018, p. 2-3.
4. American College of Radiology (ACR) Breast Imaging Reporting and Data System Atlas (ACR BI-RADS® Atlas 2013 Fifth edition).
5. Ellen B. Mendelson, Wendie A. Berg, and Christopher R. B. Merritt. Toward a Standardized Breast Ultrasound Lexicon, BI-RADS: Ultrasound, Seminars in Roentgenology, Vol XXXVI, No 3 July 2001: p. 217-25.
6. กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสําหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2545, หน้า 182.
7. H Hille , M Vetter, B J HackelöerThe accuracy of BI-RADS classification of breast ultrasound as a first-line imaging method, , Ultraschall Med. 2012 Apr;33(2):p.160-3. doi: 10.1055/s-0031-1281667.
8. J Heinig, R Witteler, R Schmitz, L Kiesel, J Steinhard Accuracy of classification of breast ultrasound findings based on criteria used for BI-RADS Ultrasound Obstet Gynecol. 2008 Sep;32(4):573-8. doi: 10.1002/uog.5191.
9. เพ็ญนภา เตชาเสถียรและคณะ, การตรวจมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยที่รายงานผล Breast imaging reporting and data system ( BI-RADS) category 4 และ 5 ด้วยวิธีตรวจแมมโมแกรมร่วมกับอัลตราซาวด์, วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศีรษะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2555: 27: 1: p. 11-22.
10. ภูวสิษฏ์ ตรีจักรสังข์ และคณะ, ค่าวิเคราะห์ของการรายงานผลแบบไบแรดส์ ในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์, สงขลานครินทร์เวชสาร ปีที่ 29 ฉบับที่ 4 กค-สค 2554 ( Songkla Med J Vol.29 No.4 Jul-Aug 2011): p.155-61.
11. Chae Jung Park et al. Reliability of Breast Ultrasound BI-RADS Final Assessment in Mammographically Negative Patients with Nipple Discharge and Radiologic Predictors of Malignancy, J Breast Cancer. 2016 Sep; 19(3): p.308–15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-08-2021