ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมต่อความรู้ ความเครียด และสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงในระยะคลอด
คำสำคัญ:
การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติงาน, สมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาล, การตั้งครรภ์ที่มีเสี่ยงสูงบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติ (The Knowledge, Stress, and Practice Program [KSP]) ในการพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงในระยะคลอด ต่อความรู้ ความเครียด และสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาล ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือนักศึกษา พยาบาลชั้นปีที่ 4 เลือกแบบแบ่งชั้นภูมิตามระดับผลการเรียน จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรม KSP ประกอบด้วย 1) การทบทวนความรู้ 2) การสอนสาธิต 3) การสาธิตย้อนกลับและฝึกทักษะ และ 4) การสรุปสะท้อนคิด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป2) แบบประเมินความรู้ในการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด 3) แบบประเมินความเครียดในการปฏิบัติการพยาบาลในระยะคลอด 4) แบบสังเกตสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาล แบบประเมินที่ 2-4 มีค่า IOC ระหว่าง .60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .70, .96, และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบสถิติ Pair t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า
หลังสิ้นสุดการใช้โปรแกรม KSP นักศึกษาพยาบาลในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของความรู้ และสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .05 แต่มีคะแนนเฉลี่ยของความเครียดต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 สำหรับคะแนนเฉลี่ยของความรู้ และสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลสูงกว่า แต่มีคะแนนเฉลี่ยของความเครียดต่ำกว่ากลุ่มทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ .01
ผลจากการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะว่าควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลปี 4 ก่อนขึ้นฝึก ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะได้ให้การพยาบาลแก่สตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นภาวะเสี่ยงสูงที่พบได้มากในผู้รับบริการ
References
Bunmak, P. & Bunmak, S. (2013). Medical Simulation the Way to Improve Patient Care. Srinagarin Medical Journal, 28(supplement), 80-85. (in Thai)
Cant, R. P., & Cooper, S. J. (2010). Simulation-Based Learning in Nurse Education: Systematic Review. Journal of Advanced Nursing, 66(1), 3-15.
Henrichs, B., Rule, A., Grady, M., & Ellis, W. (2002). Nurse Anesthesia Students’ Perceptions of the Anesthesia Patient Simulator: A Qualitative Study. American Association of Nurse Anesthetists Journal, 70(3), 219-225.
Jantavat, P. (2018). Academic Articles: Preparation of Nursing Student for Stress Relief During Practice in Delivery Room. Kuakarun Journal of Nursing, 25(1), 184-191. (in Thai)
Kumkong, M., Leejareon, P., Aramrom, U. & Jitviboon, A. (2016). Effects of Simulation-Based Learning on Perceived Self-Efficacy in Providing Nursing Care for Advanced Life Support to Patients with Critical Illness or Emergency Condition among Nursing Students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(3), 52-64. (in Thai)
Lertbannaphong, T. (2017). Simulation Based Medical Education. Siriraj Medical Bulletin, 8(1), 39-46. (in Thai)
Lertsakornsiri, M. (2012). Stress and Stress Management During Practice in Labor Room of Nursing Students at Saint Louis College. Bangkok: Saint Louis College. (in Thai)
Limthongkul, M., & Aree-Ue, S. (2009). Sources of Stress, Coping Strategies, and Outcomes among Nursing Students During Their Initial Practice. Rama Nurse Journal, 15(2), 192-205. (in Thai)
Photaworn, P., & Wongpradit, S. (2017). Experience in Breathing Meditation Practicing for Decreases the Tension in Testing Maternal-Newborn and Midwifery 2 Subject of Nurse Student. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 171-179. (in Thai)
Praboromarajchanok Institute. (2012). Bachelor of Nursing Science Program (Update Program A.D. 2012. Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima. Bangkok: Ministry of Public Health. (in Thai)
Rungnoei, N., & Seesawang, J. (2016). Effects of Self-Development Supportive for the Pre-Practicum Preparation at Intensive Care Unit on Knowledge and Skills among Nursing Students. Journal of Phrapokklao Nursing College, 27(2), 29-38. (in Thai)
Saetan, C., & Kampun, S., (2014). Stress and Coping Strategies of Nursing Students in Clinical Practice Preparation of Maternal and Child Health Nursing and Midfifery1. Journal of Health and Nursing Research (Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok), 30(3), 54-63. (in Thai)
Suwannakeeree, W. O., Jullmusi, O., & Kampun, S., (2016). Simulation-Based Learning Management for Nursing Students. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 28(2), 1-13. (in Thai)
Vatanasin, S. (2010). Perceived Stress Level and Sourses of Stress among Nursing Students at Faculty of Nursing, Burapha University. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 18(Supplement), 47-59. (in Thai)
Wiratchai, N. (2012). Stats to use 2nd edition Revised Version. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้