วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet <p>วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ (SC-Net) จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือของวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขในเขตภาคใต้ ประกอบด้วยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลาและตรัง รับบทความเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ออกปีละ 3 ฉบับ</p> th-TH <p>1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้</p> [email protected] (Asst. Prof. Dr. Kittiporn Nawsuwan ) [email protected] (Mrs. Weeraya Palipot ) Tue, 06 Feb 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับยาเมทฟอร์มิน : ผลข้างเคียงระยะยาว https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/265234 <p>ยาเมทฟอร์มินถูกนำมาใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากมีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีความปลอดภัยสูง นอกจากนี้ยังช่วยให้การทำงานของอินซูลินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เมทฟอร์มินจึงถูกกลายเป็นยาตัวแรกที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในการรักษาโรคเบาหวาน อย่างไรก็ตามการใช้ยาเมทฟอร์มินเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติการใช้ยาเมทฟอร์มิน ผลข้างเคียงต่อระบบไต ผลข้างเคียงต่อการเกิดโรคมะเร็ง ผลข้างเคียงต่อการเกิดโรคโลหิตจาง ผลข้างเคียงต่อระบบประสาท และบทบาทของพยาบาล เนื่องจากพยาบาลมีบทบาทใกล้ชิดกับผู้เป็นเบาหวานมากที่สุด จึงจำเป็นต้องมีความรู้ และรู้ถึงบทบาทในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยเฉพาะการใช้ยาเมทฟอร์มินในระยะยาวเพื่อช่วยให้การใช้ยาเมทฟอร์มินในการรักษาผู้ป่วยเบาหวานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ บทความนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับพยาบาลทุกคนที่ดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน</p> เสน่ห์ ขุนแก้ว, กฤศภณ เทพอินทร์, อลิษา ขุนแก้ว, กาญจนาภา ศุภบูรณ์ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/265234 Tue, 06 Feb 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266467 <p>การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบและศึกษาผลของการใช้รูปแบบ การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม ดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 สร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย จากข้อมูลที่ได้จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลที่ได้จากการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่ม 9 คน และสำหรับใช้รูปแบบ 30 คน เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) ประเด็นแนวคำถามการสนทนากลุ่ม และ 2) แบบประเมินสมรรถนะการวิจัยด้านความรู้ ทักษะและทัศนคติเกี่ยวกับวิจัย ค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 - 1.00 และได้ตรวจสอบความเชื่อมั่นของแบบประเมินสมรรถนะการทำวิจัยด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัย มีค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .86 และแบบประเมินสมรรถนะการวิจัยด้านทักษะและทัศนคติเกี่ยวกับการวิจัย มีค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .80 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติ Dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของผู้บริหารทางการพยาบาล ประกอบด้วย 1) การพัฒนาด้านทัศนคติเกี่ยวกับการวิจัย 2) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย การกำหนดโจทย์การวิจัย และการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบการวิจัย 4) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัย 5) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการเลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล และ 6) ด้านความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. หลังการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย พบว่าผู้บริหารทางการพยาบาล มีสมรรถนะการวิจัยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001</span></p> <p>ดังนั้น องค์กรพยาบาลสามารถนำรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยไปขยายและต่อยอด ประยุกต์การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้บริหารการพยาบาลมีความรู้ ทักษะ และทัศนคติ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยต่อไป</p> วัชรพันธ์ วงศ์คำพันธ์, กาญจนา ศรีสวัสดิ์, สังวรณ์ งัดกระโทก Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266467 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของบุคลากรทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดยะลา https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/262058 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาพตัดขวางนี้ เพื่อศึกษาอัตราความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของบุคลากรทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดยะลา เก็บข้อมูลจากบุคลากรทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลของจังหวัดยะลา จำนวน 143 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยพยากรณ์โดยใช้ สถิติถดถอยพหุคูณ โดยมีการควบคุมตัวแปรกวน ได้แก่ เพศและอายุ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. อัตราความชุกของการเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมและการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง คิดเป็นร้อยละ 38.46 โดยการถูกของมีคมบาด คิดเป็นร้อยละ 71.18 และการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งพบร้อยละ 16.94 การขูดหินปูนพบการเกิดอุบัติเหตุร้อยละ 52.72</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. เมื่อควบคุมตัวแปรเพศและอายุ พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีอิทธิพลกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี </span><em style="font-size: 0.875rem;">(</em><em style="font-size: 0.875rem;">AOR</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.35, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95% CI</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.88 – 10.06) และการสวมอุปกรณ์ป้องกันไม่เพียงพอ </span><em style="font-size: 0.875rem;">(</em><em style="font-size: 0.875rem;">AOR</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 6.74, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95% CI</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.69 – 26.86)</span></p> <p>จากผลการศึกษาการลดการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานด้านทันตกรรมควรมีการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรทันตสาธารณสุขโดยหน่วยงานควรมีการสนับสนุนให้บุคลากรได้รับการอบรมความรู้โดยเพราะด้านความปลอดภัยในการทำงาน และทักษะด้านการทำงาน รวมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เพียงพอ เพื่อช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานของบุคลากรทันตสาธารณสุข</p> ชมพูนุช สุภาพวานิช, นัซวานี หลีหมัด Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/262058 Wed, 07 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาและผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการกำกับตนเอง เพื่อการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยยาเสพติดแอมเฟตามีนในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267558 <p>การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อการเลิกยาเสพติดของผู้ป่วยยาเสพติดแอมเฟตามีนในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ ดำเนินการ 3 ระยะ คือ 1) พัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ประกอบด้วย วิเคราะห์สถานการณ์โดยการทบทวนเวชระเบียน การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์เชิงลึกและการทบทวนวรรณกรรม 2) ทดลองใช้โปรแกรมฯ โดยผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามระหว่าง .8 – 1.0 และพฤติกรรมการกำกับตนเองได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา .76 นำโปรแกรมทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ปรับปรุงโปรแกรมและ 3) ทดสอบผลการใช้โปรแกรมฯ หลังสิ้นสุดทันที 1 เดือน และ 3 เดือน จากกลุ่มตัวอย่างเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ จำนวน 59 คน โดยกลุ่มควบคุม (29) คน และกลุ่มทดลอง (30 คน) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และ 2) แบบประเมินพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อการเลิกยาเสพติด ได้ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติ Repeated Measure ANOVA และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ เป็นกิจกรรมกลุ่ม ๆ ละ 60 - 90 นาที จำนวน 10 กิจกรรม สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และคู่มือการเสริมสร้างพลังอำนาจสำหรับผู้ป่วย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. เมื่อเวลาผ่านไป ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อเลิก ยาเสพติดของผู้ป่วยยาเสพติดแอมเฟตามีนระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ในระยะก่อนและ หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ ติดตาม 1 เดือน และ 3 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">F </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 761.640, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p </em><span style="font-size: 0.875rem;">&lt; .001)</span></p> <p>โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจของผู้ป่วยยาเสพติดแอมเฟตามีนสามารถเพิ่มพฤติกรรมการกำกับตนเองเพื่อการเลิกยาเสพติดในระยะฟื้นฟูสมรรถภาพได้ ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับผู้ป่วยระยะฟื้นฟูสมรรถภาพในโรงพยาบาลธัญญารักษ์ โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ และสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด</p> บุบผา บุญญามณี, อรวรรณ หนูแก้ว Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267558 Tue, 13 Feb 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไต สู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ตำบลท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266128 <p>การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อชะลอการเสื่อมของไตสู่ภาวะไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ตำบลท่าเสา จังหวัดอุตรดิตถ์ ดำเนินการ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาสถานการณ์และพฤติกรรมสุขภาพ 2) พัฒนารูปแบบ ตรวจสอบ ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ 3) ทดลองใช้รูปแบบกับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4) ประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบทีอิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สถานการณ์และพฤติกรรมสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองและการรับรู้ อยู่ในระดับดี และมีความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติตาม ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการดูแลตนเองไม่เหมาะสม เช่น รับประทานยาแก้ปวด ยาสมุนไพร รับประทานอาหารที่มีรสเค็ม ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รับประทานยาไม่ครบ ปรับยารับประทานเองและไม่มารับการตรวจตามนัด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ประกอบด้วย 1) การคัดกรอง 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3) ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ อัตราการกรองของไต ค่าการทำงานของไต และค่าอัลบูมินในปัสสาวะ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า หลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และความรอบรู้ด้านสุขภาพ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) ค่าการทำงาน ของไต (Creatinine) และค่าอัลบูมินในปัสสาวะ (Urine Microalbumin) ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. ผลการประเมินรูปแบบ พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ป่วยอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปใช้มากขึ้น ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ การจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การดูแลตนเองโดยกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน จากเดิมเดือนละ 1 ครั้ง ควรปรับเป็น 2 เดือนต่อครั้ง</span></p> <p>ข้อเสนอแนะหน่วยงานด้านสุขภาพควรนำรูปแบบไปใช้ และอาจปรับจำนวนครั้งของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง</p> อนัญญา คูอาริยะกุล, สายฝน วรรณขาว, กันตวิชญ์ จูเปรมปรี, จินดารัตน์ จินดารัตน์ , กุลชญา คูอาริยะกุล, รัก นันต๊ะ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266128 Sun, 25 Feb 2024 00:00:00 +0700 อิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนของครอบครัวที่มีต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266575 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนของครอบครัวที่มีต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่รับยาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 383 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน 2) แบบสอบถามความสามารถในการดูแลตนเอง และ 3) แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัว เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 30 ราย ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ระหว่าง .67 – 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .75, .92 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (β = -0.302, <em>p</em> &lt; .001) ความสามารถในการดูแลตนเอง (β = -0.139, <em>p</em> &lt; .05) และ การสนับสนุนของครอบครัว (β = -0.108, <em>p</em> &lt; .05) โดยตัวแปรสามารถร่วมกับอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 17.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Adjusted R<sup>2</sup> = .175, <em>p</em> &lt;.05)</p> <p>ดังนั้น จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถในการดูแลตนเอง และการสนับสนุนของครอบครัว มีอิทธิพลต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 และควรมีการนำไปปรับใช้เป็นโปรแกรมในการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้</p> ชยธิดา นนท์เมธาวัฒน์, เอกชัย กันธะวงศ์, โรชินี อุปรา Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266575 Sun, 03 Mar 2024 00:00:00 +0700 การทบทวนอย่างเป็นระบบ : รูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชนไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266855 <p>การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อสรุปจากงานวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชนไทย โดยสืบค้นงานวิจัยในฐานข้อมูล ได้แก่ ThaiJO, TDC-ThaiLIS, Google scholar, PubMed และ Sci-direct ระหว่างปีพ.ศ.2554 ถึง พ.ศ.2564 ซึ่งดำเนินการตามแนวคิดการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (The Joanna Briggs Institute) และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลลักษณะทั่วไปของงานวิจัยโดยใช้สถิติ เชิงพรรณนา สรุปรายละเอียดและผลการวิจัยโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการสืบค้นงานวิจัย พบว่ามีงานวิจัยในฐานข้อมูล 97 เรื่อง จากการสืบค้น 5 ฐานข้อมูลและการสืบค้นจากรายการเอกสารอ้างอิง มี 19 เรื่องที่ผ่านเข้าพิจารณา และมี 78 เรื่องไม่เป็นไปตามเกณฑ์</p> <p>งานวิจัยตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งหมด 17 เรื่อง ทุกเรื่องเป็นงานวิจัยกึ่งทดลองที่ศึกษาในประเทศไทย ซึ่งประเด็นสำคัญสำหรับรูปแบบการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชนไทย พบว่ารูปแบบกิจกรรมส่วนใหญ่จัดแบบรายกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมติ การเรียนรู้จากตัวแบบ และใช้สถานการณ์จำลองในการฝึกทักษะชีวิต นอกจากนี้ยังมีการแรงสนับสนุนทางสังคมจากสถาบันครอบครัวและโรงเรียน ได้แก่ ผู้ปกครอง ครู และเพื่อน โดยทำกิจกรรมในกลุ่มตัวอย่างนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา</p> <p>ผลการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติในการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเด็กและเยาวชนไทย</p> ณัฐชยา ไชยชนะ, สุนีย์ ละกำปั่น, ศศิวิมล รัตนสิริ, คมสันต์ เหล็มมะ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266855 Sun, 03 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มการเข้าถึงความรู้และบริการอนามัยเจริญพันธุ์รอบด้าน สำหรับแรงงานข้ามชาติสตรีในจังหวัดสมุทรสาคร https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/264053 <p>การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบและประเมินผลลัพธ์การพัฒนาระบบเพื่อเพิ่มการเข้าถึงความรู้ และบริการอนามัยเจริญพันธุ์รอบด้าน สำหรับแรงงานข้ามชาติสตรี ดำเนินการเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) อธิบายสถานการณ์ความรู้ ทัศนคติ และการเข้าถึงระบบบริการอนามัยเจริญพันธ์ จากแรงงานข้ามชาติสตรี ในจังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 538 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามได้ค่าความสอดคล้องของข้อคำถามระหว่าง .67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นฉบับภาษาเมียนมาเท่ากับ .92 ลาวเท่ากับ .89 และกัมพูชาเท่ากับ .91 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา 2) พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการ และ 3) ประเมินผลลัพธ์ของการพัฒนา ใช้วิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานข้ามชาติสตรี จำนวน 101 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สถานการณ์ด้านความรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนค่าความรู้อยู่ในระดับต่ำ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =3.24, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=1.33) ส่วนใหญ่มีทัศนคติเกี่ยวกับอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ไม่ถูกต้อง โดยเฉพาะเรื่องการเท่าเทียมกันทางเพศ และสิทธิสตรี ด้านการเข้าถึงบริการ พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เคยรับบริการตรวจสุขภาพทางเพศ และไม่เคยใช้บริการจากสถานบริการของรัฐบาล (ร้อยละ 60.78) หรือเอกชน (ร้อยละ 63.38)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การพัฒนาระบบประกอบด้วย 1) การสร้างกลไกในการเข้าถึงบริการ 2) พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสุขภาพชุมชนข้ามชาติ 3) จัดอบรมกลุ่มย่อยให้แก่แรงงานข้ามชาติและครอบครัว 4) พัฒนาสื่อความรู้ และให้คำปรึกษาใน Hotline สายด่วน 1452 และ 5) จัดกิจกรรมรณรงค์</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. หลังการพัฒนาระบบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตัวของแรงงานสตรีข้ามชาติเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001</span></p> <p>เพื่อให้แรงงานสตรีข้ามชาติมีความรู้ ตระหนักและสามารถเข้าถึงบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ถูกต้อง ควรพัฒนาระบบการเข้าถึงบริการโดยการสื่อสารผ่านเจ้าของภาษา ปรับทัศนคติด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ ลดข้อจำกัดด้านภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขข้ามชาติ และจัดการบริการที่เป็นมิตร</p> กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง, นันทกาญจน์ สูงสุมาลย์ วูดแฮม, สาคร สารทลาลัย Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/264053 Tue, 19 Mar 2024 00:00:00 +0700 สมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดเชียงราย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267171 <p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดเชียงราย และ 2) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้น จำนวน 103 คน โดยเลือกตัวอย่างแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.844 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งโดยใช้ค่าดัชนีสถิติ KMO (Kaiser-Meyer-Olkin) และ Bartlett’s test of sphericity ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งของสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) จรรยาบรรณวิชาชีพ จริยธรรม และกฎหมาย 2) การบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพ 3) ภาวะผู้นำ 4) นโยบายและสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และ 5) การสื่อสารและการสร้างสัมพันธภาพ พบว่าความตรงเชิงโครงสร้างองค์ประกอบเชิงยืนยันของอันดับหนึ่งของสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่ด้วยการทดสอบสถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งเป็นไปตามแนวคิดสมรรถนะผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นในความปกติใหม่กับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติเป็นไปตามเกณฑ์การทดสอบความสอดคล้องกลมกลืน (x<sup>2</sup></span><span style="font-size: 0.875rem;"> </span><sub>1st order </sub><span style="font-size: 0.875rem;">= 1.448, </span><em style="font-size: 0.875rem;">df </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 2, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.485 และ RMSEA = 0.958)</span></p> <p>ข้อเสนอแนะในภาวะความปกติใหม่สมรรถนะของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่ควรพัฒนาสมรรถนะ ทั้ง 5 ด้านให้แก่ผู้บริหารทางการพยาบาลพยาบาลระดับต้นมากที่สุดเพื่อให้มีความสามารถในการบริหารจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้</p> นิรภัย กันอินทร์, กาญจนา ศรีสวัสดิ์, สายสมร เฉลยกิตติ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267171 Wed, 20 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อระดับไขมันในเลือดและดัชนีมวลกาย ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266668 <p>วิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกิน อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ แบบวัดการรับรู้ประโยชน์ รับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถตนเอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาได้เท่ากับ .87 วิเคราะห์หาความเที่ยง ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพเท่ากับ .82 แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์เท่ากับ .72 แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคเท่ากับ .77 และแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเอง เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ สถิติทดสอบวิลคอกซัน สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู สถิติทดสอบทีชนิดคู่ และสถิติทดสอบทีชนิดอิสระ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. พฤติกรรมสุขภาพโดยรวม การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถตนเอง พบว่าในกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมที่เพิ่มขึ้นหลังการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สำหรับในกลุ่มเปรียบเทียบมีเพียงการรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถตนเอง เพิ่มขึ้นหลังทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค และการรับรู้ความสามารถตนเองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ผลต่างก่อนและหลังการทดลองของค่าไขมันในเลือดกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = -3.85) สำหรับดัชนีมวลกายไม่มีความแตกต่างกัน</span></p> <p>ดังนั้นผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าบุคลากรสาธารณสุข ควรมีการนำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพฯ ไปใช้ขยายผลในพื้นที่อื่น รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยในโรคเรื้อรังอื่น ๆ ด้วย</p> รฏิมา อารีรักษ์, นภาเพ็ญ จันทขัมมา, พรเลิศ ชุมชัย Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/266668 Thu, 21 Mar 2024 00:00:00 +0700 ผลของการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้และทักษะ ในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาล https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268232 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงต่อความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 3 รุ่น 33 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 จำนวน 62 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงและแบบบรรยาย กลุ่มๆ ละ 31 คน ใช้การสุ่มอย่างง่ายแบบไม่แทนที่ เครื่องมือประกอบด้วย เครื่องมือใช้ในการทดลอง คือสถานการณ์จำลองเสมือนจริงในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องมือใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบความรู้ วิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน KR-20 เท่ากับ .66 และแบบประเมินทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ค่าดัชนีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .84 และค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Chi–square test, Independent t-test, Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความรู้ในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t=3.51</em><span style="font-size: 0.875rem;">)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจของนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนด้วยสถานการณ์จำลองเสมือนจริงมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t=13.06</em><span style="font-size: 0.875rem;">)</span></p> <p>ข้อเสนอแนะ ควรพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในการดูแลผู้ป่วยวิกฤตทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติโดยการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริงร่วมกับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ</p> วรนิภา กรุงแก้ว, ชุติมา รักษ์บางแหลม, อรุณรัตน์ โยธินวัฒนบำรุง, นิสากร จันทวี, นันท์ณภัส สารมาศ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268232 Fri, 05 Apr 2024 00:00:00 +0700 การเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมและสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-12 ปี ระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอน ไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268398 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ รูปแบบการจัดบริการ และการให้บริการทางทันตกรรม เพื่อเปรียบเทียบการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมและสภาวะสุขภาพช่องปากของเด็กอายุ 0-12 ปี ระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ รูปแบบการบริหารจัดการ และการให้บริการทางทันตกรรม คัดเลือก รพ.สต. ที่มีการจัดบริการทางทันตกรรมร่วมกันระหว่างคู่สัญญาบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ (CUP) ภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 12 แห่ง สัมภาษณ์เชิงลึกในผู้รับผิดชอบงานทันตกรรม โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหา และขั้นตอนที่ 2 เปรียบเทียบการเข้าถึงบริการทางทันตกรรมและสภาวะสุขภาพช่องปาก โดยใช้ข้อมูลการได้รับบริการทางทันตกรรมและการตรวจสุขภาพช่องปาก จากฐานข้อมูลของระบบกระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีงบประมาณ 2560 - 2565 วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติ Chi-square Test</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สถานการณ์ รูปแบบการจัดบริการ และการให้บริการทางทันตกรรม โดยส่วนใหญ่เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้ง รพ.สต. ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอน แตกต่างกันที่รายละเอียดของการรับรองการทำงานของทันตาภิบาล และการสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือทางทันตกรรม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. การเข้าถึงบริการทางทันตกรรม ได้แก่ การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-12 ปี การเคลือบหรือทาฟลูออไรด์เฉพาะที่เด็กอายุ 0-5 ปี และการเคลือบหลุมร่องฟันแท้เด็กอายุ 6 ปี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สภาวะสุขภาพช่องปาก ได้แก่ การมีฟันผุในกลุ่มเด็กอายุ 3, 6 และ 12 ปี ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</span></p> <p>ควรมีแนวทางการรับรองที่มีรายละเอียดการทำงานของทันตาภิบาลและการกำกับติดตามตัวชี้วัดที่ชัดเจนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการจัดบริการที่มีความเป็นธรรม ไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำระหว่าง รพ.สต. ถ่ายโอนและไม่ถ่ายโอน</p> อนนต์ เฟื่องขจร, นภชา สิงห์วีรธรรม, พัลลภ เซียวชัยสกุล, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268398 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนาและผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเฮโรอีน ที่บำบัดรักษาด้วยยาเมทาโดนระยะยาวต่อคุณภาพชีวิต https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267793 <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเฮโรอีนที่บำบัดรักษาด้วยยาเมทาโดนระยะยาวต่อคุณภาพชีวิต โดยมีกระบวนการพัฒนาเป็น 2 ระยะ คือ 1) พัฒนาแนวปฏิบัติฯ ประกอบด้วย กําหนดประเด็นปัญหาโดยการสนทนากลุ่มของทีมผู้ปฏิบัติงานคลินิกเมทาโดน ทบทวนวรรณกรรมและหลักฐานเชิงประจักษ์ พัฒนาร่างแนวปฏิบัติฯ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่า CVI เท่ากับ .98 และตรวจสอบคุณภาพแนวปฏิบัติฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 4 คน และ 2) ทดลองใช้และประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพ 10 คน และผู้ป่วยเฮโรอีน 10 คน เครื่องมือ ได้แก่<strong> </strong>แบบประเมินความเป็นไปได้ ความพึงพอใจ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน<strong> </strong>ได้ค่า CVI เท่ากับ .90 และ 1.0 ตามลำดับ และแบบประเมินคุณภาพชีวิต ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .79 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon Signed Rank test ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเฮโรอีนที่บำบัดรักษาด้วยยาเมทาโดนระยะยาว ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย ผังขั้นตอนแนวปฏิบัติฯ และสาระสำคัญของแนวปฏิบัติฯ โดยใช้กระบวนการพยาบาล ประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพยาบาลระยะเริ่มต้น 2) การพยาบาล ระยะคงที่ และ 3) การพยาบาลระยะต่อเนื่อง ตรวจสอบคุณภาพแนวปฏิบัติฯ ด้วย AGREE II เท่ากับ ร้อยละ 92.85</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ความเป็นไปได้ของการนำใช้แนวปฏิบัติฯ โดยพยาบาลวิชาชีพ พบว่า ความเป็นไปได้ ในการนำใช้แนวปฏิบัติฯ การพยาบาลระยะเริ่มต้น เท่ากับ ร้อยละ 90 - 100 การพยาบาลระยะคงที่ เท่ากับ ร้อยละ 70 - 100 และการพยาบาลระยะต่อเนื่อง เท่ากับ ร้อยละ 90 - 100 โดยความพึงพอใจของการใช้แนวปฏิบัติฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.90, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.32) และค่าคะแนนมัธยฐานคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเฮโรอีนหลังได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติฯ สูงกว่าก่อนได้รับการดูแล ตามแนวปฏิบัติฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">z</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = -2.807, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p </em><span style="font-size: 0.875rem;">= .005)</span></p> <p>แนวปฏิบัติฯ นี้สามารถให้พยาบาลวิชาชีพนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเฮโรอีนในคลินิกเมทาโดนโรงพยาบาลธัญญารักษ์ และโรงพยาบาลอื่น ๆ</p> รัตติยา สันเสรี, รัชณีย์ วรรณขาม, ทิพสุคนธ์ มูลจันที, ธัญญาภรณ์ อุปมัยรัตน์ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267793 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267681 <p>การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี และเพื่อเปรียบเทียบทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ขั้นตอนที่ 1 ผู้ให้ข้อมูลหลัก สำหรับการสนทนากลุ่ม คือ ทีมสหสาขาวิชาชีพ และผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี รวม 10 คน และขั้นตอนที่ 2 กลุ่มตัวอย่าง สำหรับใช้รูปแบบฯ คือ พยาบาลวิชาชีพ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แนวคำถามในการสนทนากลุ่มและแบบประเมินทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา และสถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทักษะการพยาบาลก่อนการฉายรังสี เกี่ยวกับความรู้ด้านโรคมะเร็งศีรษะและคอ การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งศีรษะและคอ การประเมินสภาพผู้ป่วย และการดูแลผู้ป่วยที่รับการรักษาด้วยการฉายรังสี และ 2) การพัฒนาทักษะการพยาบาลระหว่าง การฉายรังสี เกี่ยวกับทักษะด้านการดูแลการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง การดูแลภาวะน้ำลายแห้ง การดูแลรับรสชาติเปลี่ยนแปลง การดูแลภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ การดูแลภาวะช่องปากแคบและการดูแลภาวะขาดเลือดและพังผืด</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. พยาบาลวิชาชีพมีคะแนนทักษะการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีหลังสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</span></p> <p>ดังนั้น โรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งสามารถนำรูปแบบการพัฒนาทักษะการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสี ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาทักษะการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพดูแลในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับการฉายรังสีและผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น ๆ</p> โสพิณ แก้ววิลัย, กาญจนา ศรีสวัสดิ์, ดวงกมล วัตราดุลย์ Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/267681 Wed, 17 Apr 2024 00:00:00 +0700 ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับการเรียนรู้ผ่านแผนที่มโนทัศน์ และการสะท้อนคิด ต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268098 <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เพื่อศึกษา 1) ระดับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) ผลของการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับการเรียนรู้ผ่านแผนที่มโนทัศน์และการสะท้อนคิดต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 3) การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับการเรียนรู้ผ่านแผนที่มโนทัศน์ และการสะท้อนคิดต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 80 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการสนทนากลุ่ม ได้ค่าดัชนีความตรงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และความเชื่อมั่น จากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. นักศึกษาพยาบาลมีระดับคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเฉลี่ยก่อนเรียนอยู่ในระดับดี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 108.81, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 10.48) ส่วนหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับดีมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 147.81, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 13.90 )</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนความสามารถในการคิดอย่างมิวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สถานการณ์เสมือนจริงร่วมกับการเรียนรู้ผ่านแผนที่มโนทัศน์และการสะท้อนคิดต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มี 4 ประเด็นหลัก คือ 1) มีความมั่นใจมากขึ้นเวลาขึ้นฝึกปฏิบัติงาน 2) มีการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียนมากขึ้น 3) เรียนรู้การทำงานเป็นทีม และ 4) ยากที่จะเข้าถึงจิตใจที่แท้จริงของผู้ป่วย</span></p> <p>ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปส่งเสริมการเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลก่อนขึ้นฝึกปฏิบัติ โดยใช้สถานการณ์เสมือนจริง ร่วมกับแผนที่มโนทัศน์ และการสะท้อนคิด เพื่อเพิ่มความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียน</p> นิซรีน เจ๊ะมามะ, นริสา จันทบุรี, มุสลินท์ โตะแปเราะ, นันทา กาเลี่ยง, นัจญวา นิยมเดชา Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268098 Fri, 19 Apr 2024 00:00:00 +0700