วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet
<p>วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ (SC-Net) จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือของวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขในเขตภาคใต้ ประกอบด้วยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลาและตรัง รับบทความเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ออกปีละ 3 ฉบับ</p>
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
th-TH
วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
2985-1750
<p>1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย</p> <p>2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้</p>
-
ผลของโปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติด ในวัยรุ่นตอนต้น
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/268505
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มนี้เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ วัยรุ่นตอนต้นหญิงและชายอายุ 10 - 13 ปี ในโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตภาคเหนือ จำนวน 2 โรงเรียน รวม 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติด โปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้น ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ค่า CVI ได้เท่ากับ .91และ .97 ตามลำดับและหาความเชื่อมั่นของมาตรวัดเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดได้เท่ากับ .80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ค่าคะแนนเฉลี่ยเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 96.56, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.95) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 38.88, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 7.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span style="font-size: 0.875rem;">.01</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ค่าคะแนนเฉลี่ยเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของกลุ่มทดลองในระยะ 1 เดือน หลังได้รับโปรแกรม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 96.56, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.95) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 38.88, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 7.94) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ </span><span style="font-size: 0.875rem;">.01</span></p> <p>ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมป้องกันการเสพติดต่อเจตนาเชิงพฤติกรรม<br />ที่จะไม่เสพยาและสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้น สามารถเพิ่มเจตนาเชิงพฤติกรรมที่จะไม่เสพยา<br />และสารเสพติดของวัยรุ่นตอนต้นได้</p>
ภัทราพันธุ์ ดอกจันทร์
สมบัติ สกุลพรรณ์
หรรษา เศรษฐบุปผา
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-12
2024-10-12
12 1
e268505
e268505
-
ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรค ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/271835
<p>การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรค และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 506 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) ปัจจัยส่วนบุคคล 2) ความรู้เรื่องวัณโรค 3) ทัศนคติต่อการควบคุมและป้องกันวัณโรค 4) แรงสนับสนุนทางสังคม และ 5) การรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรค มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง .67 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้วัณโรค ทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคม และการรับรู้การปฏิบัติงาน เท่ากับ .73, .72, .86 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้น แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 66.40</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรค ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">Beta</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .547, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .001) การมีตำแหน่งอื่น ๆ ในหมู่บ้าน นอกเหนือจาก อสม. (</span><em style="font-size: 0.875rem;">Beta</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .104, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .005) และทัศนคติต่อการควบคุมและป้องกันวัณโรค (</span><em style="font-size: 0.875rem;">Beta</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .099, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .008) โดยสามารถร่วมพยากรณ์การรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรคของอสม. ได้ร้อยละ 32.40</span></p> <p>ดังนั้น บุคลากรทางด้านสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการศึกษานี้ไปส่งเสริมสนับสนุนการรับรู้การปฏิบัติงานด้านการควบคุมและป้องกันวัณโรคกับ อสม. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างแรงสนับสนุนทางสังคมและทัศนคติที่ดี เพื่อให้ อสม. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลในการป้องกันและควบคุมวัณโรคต่อไป</p>
วรรณรุษณี มุ่งงาม
ดาวรุ่ง คำวงศ์
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-12
2024-10-12
12 1
e271835
e271835
-
ผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรอบรู้ ด้านสุขภาพในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย ของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/271916
<p>การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปฏิบัติกิจกรรมทางกายและพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายของพนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี โดยประยุกต์กรอบแนวคิดการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 114 คน สุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เป็นกลุ่มทดลอง 57 คน และกลุ่มควบคุม 57 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมไม่ได้โปรแกรมใด ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย และแบบสอบถามกิจกรรมทางกายระดับสากล ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.0 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .977 และ .983 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการปฏิบัติกิจกรรมทางกาย สูงกว่าก่อนการทดลองและสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .05)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. หลังการทดลองค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติกิจกรรมทางกายสูงกว่าก่อนการทดลองและ</span><span style="font-size: 0.875rem;">สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .05)</span></p> <p>ควรนำโปรแกรมฯ ไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานสำหรับบุคลากรทางสุขภาพ เช่น พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ในการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายกลุ่มวัยทำงานผ่านทาง Social Media ที่สอดคล้องกับแนวคิดชีวิตวิถีถัดไป (Next Normal)</p>
ปณิธาน จอกลอย
ยุพา จิ๋วพัฒนกุล
ปิยะธิดา นาคะเกษียร
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-21
2024-10-21
12 1
e271916
e271916
-
กระบวนการฟื้นหายจากภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/271660
<p>วิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีวิทยาการสร้างทฤษฎีฐานรากนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการฟื้นหายจากภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบการสร้างทฤษฎีฐานราก ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกร่วมกับการจดบันทึกเรื่องราว ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีประวัติเข้ารับการรักษาด้วยอาการซึมเศร้า จำนวน 10 ราย และบุคคลสำคัญที่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 21 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดและตามการชี้นำของแนวคิดที่ค้นพบ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้างและการบันทึกเสียง วิเคราะห์ข้อมูลโดยกระบวนการให้รหัสร่วมกับการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างคงที่ ผลการวิจัย พบว่า</p> <p>กระบวนการฟื้นหายจากภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง แบ่งเป็น 3 ระยะ เริ่มจากระยะที่ 1 การรับรู้อาการผิดปกติและยอมรับการรักษา และการได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าจากแพทย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดการยอมรับและผ่านระยะนี้ได้ ระยะที่ 2 การเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ประกอบด้วย การเกิดความมุ่งมั่นในการปฏิบัติตามแผนการรักษา ส่งผลต่อความผูกพันทางอารมณ์ นำไปสู่สร้างปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังที่มีภาวะซึมเศร้าเข้าสู่ระยะที่ 3 ความปลอดภัยทางใจและพลังอำนาจทางจิต ซึ่งเป็นระยะที่ผู้สูงอายุรู้สึกสบายใจและมีความสุขมากขึ้น สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้ ปัจจัยที่ช่วยให้ผู้สูงอายุเผชิญกับภาวะซึมเศร้าได้สำเร็จและเข้าสู่ระยะความแข็งแกร่งทางจิตใจได้ คือ การมีความหวัง และรับรู้ถึงการสุขภาวะทางจิตใจ</p> <p>การรับรู้และเข้าใจถึงกระบวนการฟื้นหายจากภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง เป็นแนวทางให้บุคลากรทางสุขภาพสามารถให้การบำบัดแก่ผู้รับบริการในเชิงรุก ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุโรคเรื้อรังเข้ารับการดูแลทางสุขภาพจิตในระยะเริ่มต้น ช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาทางสุขภาพจิตและโรคเรื้อรัง<br />ที่รุนแรง</p>
ภาวดี เหมทานนท์
กฤตพร สิริสม
ปภาอร ชูหอยทอง
จามจุรี แซ่หลู่
พระครูนิติธรรมบัณฑิต สุริยา คงคาไหว
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-10-23
2024-10-23
12 1
e271660
e271660
-
ผลของโปรแกรมป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่อความตั้งใจ พฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและอัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/272388
<p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังได้รับโปรแกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมป้องกันภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดต่อความตั้งใจ พฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และอัตราการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการวางแผนพฤติกรรมของ Ajzen กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2567 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์การคัดเข้าและสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลากเข้าเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินระดับความตั้งใจในการปฏิบัติพฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด และแบบประเมินพฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา Chi-Square test, Fisher’s Exact test และ t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรม</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการปฏิบัติและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 25.73, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value < </em><span style="font-size: 0.875rem;">.001; </span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 17.58, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value < </em><span style="font-size: 0.875rem;">.001) ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตั้งใจในการปฏิบัติและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 14.88, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value < .</em><span style="font-size: 0.875rem;">001; </span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 15.29, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value < .</em><span style="font-size: 0.875rem;">001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. กลุ่มทดลองมีอัตราการคลอดครบกำหนดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value < .</em><span style="font-size: 0.875rem;">001)</span></p> <p>จากผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมป้องกันเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดอย่างเหมาะสม สามารถตั้งครรภ์ไปจนครบกำหนดคลอด</p>
ฐิติมา คาระบุตร
สินาภรณ์ กล่อมยงค์
จาฏุพัจน์ ศรีพุ่ม
รัชนีกร งามขำ
อุมา ประเสริฐศรี
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-07
2024-11-07
12 1
e272388
e272388
-
การพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาวะด้วยการประสานพลังทุนชุมชน
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/271879
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสุขภาวะพื้นฐานของชุมชนตำบลนราภิรมย์ 2) ศึกษาทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนสุขภาวะ และ 3) ศึกษาการประสานพลังของทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาวะ ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) เก็บข้อมูลสุขภาวะพื้นฐานชุมชนกับคนในชุมชน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือเป็นแบบสอบถามได้ค่า IOC เท่ากับ .67 – 1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 2) ศึกษาทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนสุขภาวะในตำบลนราภิรมย์ กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง 29 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การประสานพลังของทุนชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 41 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือใช้การสังเกต การสนทนา แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สุขภาวะพื้นฐานของชุมชนตำบลนราภิรมย์ พบว่า สุขภาวะพื้นฐาน 4 ด้าน ได้แก่ กาย จิต สังคมและปัญญาอยู่ในระดับดี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.02, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 0.87)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนสุขภาวะ พบว่า ทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาสุขภาวะของตำบลนราภิรมย์ ประกอบด้วย ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนกายภาพ ทุนธรรมชาติ และทุนการเงิน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. การประสานพลังของทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาวะ ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เกิดกิจกรรมทั้งสิ้น 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรม “ธนาคารขยะ” “ร่วมใจพัฒนา ใส่ใจถิ่นเกิด” “พัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาวะดี ตามวิถีนราภิรมย์” ผลความพึงพอใจโดยภาพรวมของแต่ละกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.25, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.94; </span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.07, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.26; </span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 4.25, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.94) ตามลำดับ กิจกรรมส่งผลให้ประชาชนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของการแยกขยะและเกิดการมีส่วนร่วม</span><span style="font-size: 0.875rem;">ของภาคีเครือข่ายในการดูแลสุขภาพของประชาชนในชุมชน</span></p> <p>ข้อเสนอแนะ การประสานพลังของทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาวะ มีทุนมนุษย์เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ดังนั้น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ มุ่งเน้นกระบวนการให้มีความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ดีต่อการประสานพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนต้นแบบสุขภาวะสู่การเป็นชุมชนสุขภาพดีอย่างยั่งยืน</p>
พัทธวรรณ ชูเลิศ
ประสงค์ ตันพิชัย
สันติ ศรีสวนแตง
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-07
2024-11-07
12 1
e271879
e271879
-
การประเมินประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาด้วยการใช้ระบบซิกมาเมทริกซ์ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/273417
<p>การศึกษาแบบย้อนหลังนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพการตรวจวิเคราะห์และวางแผนการควบคุมคุณภาพ การตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาโดยใช้ Sigma metric ในห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ โดยใช้ข้อมูลจากการควบคุมคุณภาพภายใน (Internal Quality Control: IQC) และการควบคุมคุณภาพภายนอก (Peer Group) ของการตรวจวิเคราะห์ทางโลหิตวิทยาคลินิกจำนวน 5 พารามิเตอร์คือ White Blood Cell (WBC), Red Blood Cell (RBC), Hemoglobin (HGB), Mean Corpuscular Volume (MCV) และ Platelet (PLT) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาเก็บรวบรวมจากช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 ถึง เดือนธันวาคม 2566 ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>มีความแม่นยำและมีความถูกต้องในการตรวจวัดอยู่ในช่วงที่ยอมรับได้ เนื่องจากค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรปรวน (%CV) ไม่เกิน 0.33 ของค่า Total Error Allowable (TEa) ร้อยละ 100 และมีค่า %bias ไม่เกิน 0.33 ของค่า TEa ร้อยละ 100 การประเมินความสามารถของเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ Beckman Coulter รุ่น Unicel DxH 800 มีค่า Sigma Metric ที่ต่ำสุดของพารามิเตอร์ HGB, RBC, WBC, MCV และ PLT เท่ากับ 4.04, 5.44, 7.97, 9.27, 10.74 ตามลำดับ สามารถเลือกใช้กฎ single rule 1<sub>3</sub><sub>s</sub> (N = 3, R = 1) พารามิเตอร์ WBC, MCV และ PLT พารามิเตอร์ RBC สามารถเลือกใช้กฎ 1<sub>3s</sub> /2 of 3<sub>2s</sub>/R<sub>4s</sub> (N = 3, R = 1) และพารามิเตอร์ HGB สามารถเลือกใช้กฎ 1<sub>3</sub><sub>s</sub> /2 of 3<sub>2s</sub>/R<sub>4s </sub>/3<sub>1s </sub>(N=3, R=2) ในการควบคุมคุณภาพ</p> <p>จะเห็นได้ว่าการตรวจวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำ และถูกต้อง ทำให้สามารถเลือกใช้กฎในการควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมกับรายการทดสอบได้ โดยใช้กฎที่ง่ายและไม่ซับซ้อน ซึ่งช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้สารควบคุมคุณภาพอีกทั้งยังลดภาระงานในการทดสอบซ้ำ และง่ายต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร ห้องปฏิบัติการต้องติดตาม ประเมินผล และพัฒนาเทคนิคต่าง ๆ ในการควบคุมคุณภาพอย่างต่อเนื่อง</p>
สุภาวดี ดีการกระทำ
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-08
2024-11-08
12 1
e273417
e273417
-
การคาดการณ์แนวโน้มความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/274215
<p>การศึกษาแบบย้อนหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อการคาดการณ์แนวโน้มความต้องการ และเปรียบเทียบความขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุขกับรายรับขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบจ. ปีงบประมาณ 2566 โดยศึกษาข้อมูลของกองบริหารทรัพยากรบุคคล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาความถี่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. รพ.สต. ถ่ายโอนภารกิจจำนวน 3,263 แห่ง โดยมีบุคลากรประสงค์ถ่ายโอน 12,295 คน </span><span style="font-size: 0.875rem;">คิดเป็นร้อยละ 77.62 ของบุคลากรที่อยู่ใน รพ.สต. ก่อนถ่ายโอน</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. แนวโน้มกำลังคนด้านสาธารณสุขภายในระยะเวลา 20 ปี พบว่า วิชาชีพพยาบาลเติมเข้ามา</span><span style="font-size: 0.875rem;">ปีละ 600 คน จะมีบุคลากรตามกรอบก่อนการถ่ายโอนในปี พ.ศ. 2574 จะมีบุคลากรตามกรอบโครงสร้างในปี พ.ศ. 2586 วิชาชีพสาธารณสุขเติมเข้ามาจำนวนปีละ 500 คน จะมีบุคลากรตามกรอบก่อนการถ่ายโอน</span><span style="font-size: 0.875rem;">ในปี พ.ศ. 2577 และจะมีบุคลากรตามกรอบโครงสร้างในปี พ.ศ. 2586 วิชาชีพทันตสาธารณสุขเติมคนจำนวนปีละ 120 คน จะมีบุคลากรตามกรอบก่อนการถ่ายโอนในปี พ.ศ. 2573 จะมีบุคลากรตามกรอบโครงสร้างในปี พ.ศ. 2586 วิชาชีพแพทย์แผนไทยเติมเข้ามาปีละ 120 คน จะมีบุคลากรตามกรอบ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ก่อนการถ่ายโอนในปี พ.ศ. 2571</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ความขาดแคลนกำลังคนตามกรอบโครงสร้างรวมเปรียบเทียบกับรายได้ของ อบจ. พบ 5 จังหวัดที่ความขาดแคลนของบุคลากรมากและเป็น อบจ. ที่มีรายได้น้อย</span></p> <p>การคาดการณ์แนวโน้มจำนวนบุคลากร สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้เกิดการจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิที่เป็นไปตามมาตรฐานการจัดบริการใน รพ.สต.ที่ถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบจ. </p>
นภชา สิงห์วีรธรรม
จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
ปฐมพงษ์ กันธิยะ
ดาวรุ่ง คำวงศ์
มโน มณีฉาย
พัลลภ เซียวชัยสกุล
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-11-27
2024-11-27
12 1
e274215
e274215
-
ผลของโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจ ตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/274057
<p>การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำนี้ เพื่อศึกษาผลของการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ก่อน ระหว่าง และหลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลหลัก ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าการวิจัย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 20 ราย โดยผู้วิจัยให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลแบบฮิวแมนนิจูด ได้แก่ การสบตา การพูด การสัมผัส และการจัดท่าในแนวตั้งตรง ร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรม ระยะเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยเป็นผู้ประเมินได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 2) เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรม และแบบประเมินการดูแลตามแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรม ผ่านการพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 1.0 และ 1.0 ตามลำดับ และผลค่าความเชื่อมั่นจากการสังเกตุที่ได้จากการคำนวณ เท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดย สถิติเชิงพรรณา สถิติการหาค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบเป็นรายคู่ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแลหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมโปรแกรมลดลงกว่าก่อน</span><span style="font-size: 0.875rem;">เข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .001)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ดูแลมีค่าคะแนนเฉลี่ยความเครียดลดลง ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value </em><span style="font-size: 0.875rem;">< .001)</span></p> <p>ควรอบรมให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในเทคนิคการดูแลร่วมกับมีความรู้ในการฝึกสมาธิซึ่งโปรแกรมการดูแลแบบฮิวแมนนิจูดร่วมกับการฝึกสมาธิแบบกำหนดลมหายใจตามหลักวิถีพหุวัฒนธรรมต่อความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุนี้ สามารถช่วยลดความเครียดซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการให้การดูแลในผู้ดูแลได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดูแลเป็นไปอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน</p>
สุภาวดี อดิศัยศักดา
ณัฐติกา ชูรัตน์
อามานี แดมะยุ
จิรสุดา ชินไชยชนะ
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-16
2024-12-16
12 1
e274057
e274057
-
การวิจัยเชิงปฏิบัติการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก ตำบลหนองตรุด อำเภอเมือง จังหวัดตรัง
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/273857
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้เพื่อศึกษาสถานการณ์และผลการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมายเป็นตัวแทนครัวเรือนที่พบภาชนะที่มีลูกน้ำยุงลายอย่างน้อย 1 ภาชนะ จำนวน 266 คน เลือกแบบเจาะจง โดยดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้สมัครใจ จำนวน 85 คน ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายนถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 รวบรวมข้อมูลจากการสังเกตและสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบบันทึกค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ได้แก่ ดัชนีบ้าน (HI) และดัชนีภาชนะ (CI) กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ค่าความเที่ยงตรง (CVI) เท่ากับ .87 แบบสอบถามได้ค่า KR-20 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .84 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สถานการณ์เกี่ยวกับระดับความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำและระดับปานกลาง ร้อยละ 80.45 ด้านปัญหาอุปสรรคต่อความรอบรู้ทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออก ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล เช่น ระดับการศึกษา และอาชีพ ส่วนปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ การมีบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่เข้มแข็ง มีที่ปรึกษาด้านวิชาการจากวิทยาลัยพยาบาล รวมทั้งการได้รับงบประมาณสนับสนุนในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องจากกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและองค์การบริหารส่วนตำบล</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม 4 เดือน พบว่า 1) ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และได้รับข้อมูลมากขึ้น (Obtain) 2) คะแนนความรู้หลังเข้าร่วมกิจกรรมฯสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมฯ (Understand) 3) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ มีความสามารถในการตัดสินใจเพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมากขึ้น (Decide) และ 4) ผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย (Apply) หนึ่งเดือนหลังการดำเนินกิจกรรม ไม่พบค่าดัชนี HI, CI หรือผู้ป่วย</span><span style="font-size: 0.875rem;">โรคไข้เลือดออก</span></p> <p>ดังนั้นควรใช้การดำเนินงานเชิงรุกให้ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับความรอบรู้อยู่ในระดับปานกลางและพบแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อให้สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่</p>
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์
จรูญรัตน์ รอดเนียม
พอเพ็ญ ไกรนรา
อรจิรา วรรธนะพงษ์
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-16
2024-12-16
12 1
e273857
e273857
-
การพยากรณ์จำนวนทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยในจังหวัดชุมพร
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/273194
<p>การวิจัยเชิงปริมาณพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยากรณ์จำนวนทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยในจังหวัดชุมพรปีงบประมาณ 2567 โดยรวบรวมข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มรายงานมาตรฐาน อนามัยแม่และเด็ก ร้อยละของทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม เขตสุขภาพที่ 11 เป็นข้อมูลรายเดือนปีงบประมาณ 2556 - 2566 และ ปีงบประมาณ 2567 มีข้อมูลเดือนตุลาคม 2566 - เมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีที่สอดคล้องกับจำนวนข้อมูลโดยข้อมูลรายเดือนใช้วิธีบอกซ์และเจนกินส์ และข้อมูลรายปีใช้ทฤษฎีระบบเกรย์ ตรวจสอบความแม่นยำของตัวแบบด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ ประมวลผลด้วยโปรแกรม R และโปรแกรม MICROSOFT Excel ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p>เมื่อใช้ข้อมูลรายเดือนปีงบประมาณ 2556 – 2566 พยากรณ์จำนวนทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยปีงบประมาณ 2567 ได้ตัวแบบ ARIMA(0,1,1)(2,0,0)<sub>12 </sub>มีค่าพยากรณ์อยู่ระหว่าง 12 - 15 รายต่อดือน ค่าเฉลี่ย 13 รายต่อเดือน หรือ 156 รายต่อปี เมื่อเทียบกับตัวแบบ GM(1,1)EPC ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละความผิดพลาดสัมบูรณ์ต่ำสุด 5.14 พยากรณ์จำนวนทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 148 รายต่อปี ตามแนวโน้มของจำนวนทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยรายปีที่ลดลง ต่ำกว่าวิธีบอกซ์และเจนกินส์ 8 ราย หรือร้อยละ 5.13</p> <p>กล่าวได้ว่าทั้งสองวิธีให้ค่าพยากรณ์ใกล้เคียงกันหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่สามารถนำผลการพยากรณ์ไปใช้ในการจัดทำงบประมาณเพื่อการรณณรงค์ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของมารดาต่อไป</p>
วัฒนา ชยธวัช
แว่นใจ นาคะสุวรรณ
ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-16
2024-12-16
12 1
e273194
e273194
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/273099
<p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรควัณโรค และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคของผู้สัมผัสร่วมบ้าน อำเภอช้างกลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ปี พ.ศ. 2566 – 2567 จำนวน 156 คน จำนวน 118 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อระหว่าง .67 – 1.00 แบบสอบถามความรอบรู้ทางด้านสุขภาพเกี่ยวกับวัณโรค และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .90 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ </span><span style="font-size: 0.875rem;">(ร้อยละ 74.58) ด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ (ร้อยละ 89.83) ด้านทักษะ</span><span style="font-size: 0.875rem;">การสื่อสาร (ร้อยละ 86.44) ด้านทักษะในการจัดการตนเอง (ร้อยละ 95.76) ด้านทักษะ</span><span style="font-size: 0.875rem;">ในการตัดสินใจ (ร้อยละ 89.83) ส่วนด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้านความรู้เท่าทันสื่อ </span><span style="font-size: 0.875rem;">(ร้อยละ 63.56) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรคอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 85.42)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อวัณโรค ได้แก่ ทักษะในการตัดสินใจ และทักษะการสื่อสาร สามารถร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 37.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> < .01)</span></p> <p>ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรให้ความสำคัญกับความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันวัณโรคแก่ผู้สัมผัสร่วมบ้าน โดยเฉพาะผู้สัมผัสร่วมบ้านที่มีอาชีพเกษตรกรรม เพื่อนำไปปฏิบัติและมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง</p>
ฤทัยรัตน์ วงศ์สวัสดิ์
จิฑาภรณ์ ยกอิ่น
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-16
2024-12-16
12 1
e273099
e273099
-
การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/274229
<p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ และปัญหาการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3) เพื่อประเมินผลลัพธ์ของรูปแบบ ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์สภาพการณ์ และปัญหาการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 46 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้ดูแลเด็กจำนวน 46 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สภาพการณ์การดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ พบว่า ส่วนใหญ่ครูผู้ดูแลเด็ก ขาดความรู้ สำหรับมาตรการในป้องกันควบคุมโรคติดต่อยังดำเนินการไม่ถูกต้อง ได้แก่ มาตรการ</span><span style="font-size: 0.875rem;">การคัดกรองเด็ก การบันทึกอาการป่วยของเด็กในแบบคัดกรองอาการป่วยรายห้องเรียนและการไม่แจ้งข่าวการพบเด็กป่วย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก </span><span style="font-size: 0.875rem;">อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล เป็นรูปแบบ 4 G Model ประกอบด้วย 1) Good Knowledge พัฒนาความรู้ครูผู้ดูแลเด็ก 2) Good Surveillance System มีระบบเฝ้าระวังที่ดี 3) Good Report </span><span style="font-size: 0.875rem;">โดยการพัฒนา Application ในการรายงานข้อมูลเด็กป่วย 4) Good Control มีการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพไม่มีการระบาดของโรคติดต่อ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. ผลลัพธ์ของรูปแบบฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรค สูงกว่าก่อนการพัฒนารูปแบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ครูผู้ดูแลเด็กมีความพึงพอใจในการใช้ Application ในระดับสูง ผลลัพธ์ของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นพบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในอำเภอควนโดน</span><span style="font-size: 0.875rem;">ไม่มีรายงานการปิดศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากการระบาดของโรคติดต่อ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ 3 ปีย้อนหลัง</span></p> <p>ข้อเสนอแนะ รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เหมาะสม จะต้องมีการเสริมความรู้ มีการฝึกทักษะ มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน และมีการกำกับดูแลติดตามอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมดังกล่าวข้างต้นจะสามารถป้องกันและลดอุบัติการณ์การระบาดของโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลงได้</p>
อรนุช นรารักษ์
อับดุลเลาะฮ์ นารอยี
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-16
2024-12-16
12 1
e274229
e274229
-
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บรุนแรงของผู้ประสบอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/274183
<p>การศึกษาข้อมูลย้อนหลังเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะประชากรและสภาพการณ์การเกิดอุบัติเหตุของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ และปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บรุนแรงจากอุบัติเหตุของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ของผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนกับยานพาหนะอื่น ซึ่งเข้ารับการตรวจรักษาที่นิติเวชคลินิก โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 จำนวน 257 คน เก็บรวมรวบข้อมูลด้วยแบบบันทึกข้อมูล ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านการบาดเจ็บ และระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ผู้บาดเจ็บ 257 คน เพศชายร้อยละ 52.1 เพศหญิงร้อยละ 47.9 อายุเฉลี่ย 34.07 ± 17.40 ปี เป็นผู้ขับขี่ร้อยละ 83.3 ไม่สวมหมวกนิรภัยร้อยละ 70.8 อุบัติเหตุร้อยละ 42.8 เกิดช่วงเวลา 08:31 -16:30 น. ร้อยละ 62.6 เป็นอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ชนทางด้านหน้ากับรถคู่กรณี รถคู่กรณีร้อยละ 55.6 เป็นรถยนต์สี่ล้อ ผู้บาดเจ็บร้อยละ 88.3 มาโรงพยาบาลด้วยรถฉุกเฉินหรือบุคลากรทางการแพทย์ โดยพบเป็นผู้บาดเจ็บรุนแรง (ISS ≥ 16) จำนวน 35 คน (ร้อยละ 13.6)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบาดเจ็บรุนแรง ได้แก่ เพศชาย 2.33 เท่า (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;">=2.33, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95</em><em style="font-size: 0.875rem;">%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 1.03 -5.27) เมื่อเทียบกับเพศหญิง ผู้บาดเจ็บที่อายุระหว่าง 20 ถึง 59 ปี และผู้บาดเจ็บที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป 8.59 เท่า (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 8.59, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95</em><em style="font-size: 0.875rem;">%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 1.89 - 38.90) และ 28.09 เท่า (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 28.09, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95</em><em style="font-size: 0.875rem;">%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 5.19 -151.97) ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผู้บาดเจ็บที่อายุน้อยกว่า 20 ปี การไม่สวมหมวกนิรภัย 7.08 เท่า (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 7.08, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95</em><em style="font-size: 0.875rem;">%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 2.01 - 24.95) เมื่อเทียบกับผู้ที่สวมหมวกนิรภัย และผู้บาดเจ็บซึ่งขับขี่หรือซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ไปชนท้ายยานพาหนะอื่น 2.87 เท่า (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 2.87, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95</em><em style="font-size: 0.875rem;">%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 1.01 - 8.14) เมื่อเทียบกับไปชนทางด้านหน้ากับยานพาหนะอื่น</span></p> <p>ดังนั้น การตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในห้องฉุกเฉิน บุคลากรผู้เกี่ยวข้องควรมีการตระหนักถึงปัจจัยที่อาจส่งผลให้ผู้บาดเจ็บมีการบาดเจ็บรุนแรงร่วม ได้แก่ เพศชาย อายุ การไม่สวมหมวกนิรภัยขณะประสบอุบัติเหตุ และลักษณะการชน อีกทั้งควรสนับสนุนให้มีการสวมหมวกนิรภัยแบบเต็มใบซึ่งเป็นปัจจัยป้องกันการเกิดการบาดเจ็บรุนแรงของสมองซึ่งเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตมากในอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์</p>
กชกานต์ รุ่งเรืองศักดิ์
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-18
2024-12-18
12 1
e274183
e274183
-
การพัฒนารูปแบบการพยาบาลเยี่ยมบ้าน แบบ Home Nursing Care ร่วมกับการบริการพยาบาลทางไกล (Tele-nursing) ในการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง (IMC) สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิเครือข่ายฯ จ.สงขลา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/273658
<p>การวิจัยและพัฒนานี้เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบและประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลเยี่ยมบ้าน แบบ Home Nursing Care: HNC ร่วมกับการบริการพยาบาลทางไกลในการพยาบาลผู้ป่วยระยะกลาง สำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิ เครือข่ายฯ จ.สงขลา ดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสภาพการณ์ โดยวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหา และความต้องการจากกลุ่มตัวอย่าง 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา 2) พัฒนารูปแบบและทดลองใช้รูปแบบตามแนวคิดการส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเอง Goal 3S กลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 คน ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบฯ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยระยะกลาง จำนวน 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สถานการณ์ผู้ป่วยระยะกลางมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จากในปี 2562 - 2563 พบว่ามีผู้ป่วย 1,812 คน เพิ่มเป็น 2,020 คน และปี 2566 เพิ่มเป็น 2,595 คน ข้อมูลการส่งต่อเยี่ยมบ้าน ผ่านโปรแกรมการส่งต่อเพื่อการดูแลต่อเนื่อง (COC link) จำนวน 330 คน ปัญหาการจัดรูปแบบการพยาบาลในระบบทางไกล</span><span style="font-size: 0.875rem;">ยังมีน้อย ไม่พบการบูรณาการเพื่อส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วย</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. รูปแบบการพยาบาลเยี่ยมบ้านแบบ HNC ร่วมกับการบริการพยาบาลทางไกล ประกอบด้วย การพยาบาลครั้งที่ 1 แบบ Onsite (ADPIER) A: Assessment, D: Nursing diagnosis, P: Planning, </span><span style="font-size: 0.875rem;">I: Implementation, E: Evaluation, R: Record การพยาบาลครั้งต่อไปแบบ Online ด้วยการพยาบาลทางไกล ใช้การส่งเสริมการจัดการสุขภาพตนเอง Goal 3S ประกอบด้วย Goal: Goal Setting, S: Self Monitoring, S: Self Evaluation, S: Self Reinforcement</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. หลังการใช้รูปแบบฯ คะแนนการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและคุณภาพชีวิตสูงกว่าก่อนการใช้</span><span style="font-size: 0.875rem;">รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ไม่พบภาวะแทรกซ้อนใน 3 กลุ่มโรค ความพึงพอใจของผู้ป่วยผู้ดูแล และพยาบาลอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 86.25 และ ร้อยละ 92.38 ตามลำดับ</span></p> <p>ดังนั้นรูปแบบที่ได้ช่วยลดภาระงานของบุคลากร ด้านระบบบริการมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยให้ง่ายสะดวก รองรับนโยบายบริการไร้รอยต่อ และด้านผู้รับบริการทำให้เข้าถึงบริการสะดวก รวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย และขยายผลไปยังหน่วยบริการปฐมภูมิในเขตสุขภาพ</p>
เพ็ญศิริ อัตถาวงศ์
นันทรัตน์ อุทัยแสง
นฤมล เก็มเบ็นหมาด
Copyright (c) 2024 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้
http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2024-12-18
2024-12-18
12 1
e273658
e273658