https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/issue/feed วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2023-10-10T20:23:43+07:00 ดร.กิตติพร เนาว์สุวรรณ jock2667@gmail.com Open Journal Systems <p>วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ (SC-Net) จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือของวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขในเขตภาคใต้ ประกอบด้วยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ยะลา และวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลาและตรัง รับบทความเกี่ยวกับการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข การศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ ออกปีละ 3 ฉบับ</p> https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258719 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง จังหวัดพัทลุง 2023-01-31T15:44:45+07:00 จันทราวรรณ แก้วดุก somkiattiyos@tsu.ac.th ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์ somkiattiyos@tsu.ac.th สมเกียรติยศ วรเดช somkiattiyos@tsu.ac.th <p>การศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในจังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และปฏิบัติงานในจังหวัดพัทลุง จำนวน 278 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์รายข้อ อยู่ระหว่าง 0.66-1.00 แบบสอบถามความรู้มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR20) เท่ากับ 0.72 แบบสอบถามด้านทัศคติ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านองค์กรและสังคม และสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาของคอนบาคของเท่ากับ 0.75 0.89 0.88 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยโลจิสติกพหุตัวแปร ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. สมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดพัทลุงภาพรวมอยู่ในระดับสูง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=4.26, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=0.46) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า สมรรถนะหลัก (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=4.38, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=0.51) สมรรถนะการจัดการ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=4.15, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=0.55) และสมรรถนะหน้าที่ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=4.23, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=0.56) อยู่ในระดับสูง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยระดับความรู้ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;">=2.36, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 15-4.86) การสนับสนุนจากครอบครัว (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;">=2.06, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 1.11-3.80) และการสนับสนุนจากองค์กรและสังคม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">OR<sub>adj</sub></em><span style="font-size: 0.875rem;">=3.37, </span><em style="font-size: 0.875rem;">95%</em><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;">: 1.82-6.25) มีความสัมพันธ์ต่อสมรรถนะของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจังหวัดพัทลุง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</span></p> <p>ดังนั้น จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ควรมีการสนับสนุนให้ครอบครัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตลอดจนภาคองค์กรและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง เพื่อให้ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงมีสมรรถนะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น</p> 2023-08-29T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258277 ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างจากการทำงาน ในนักศึกษาทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2022-11-04T09:14:30+07:00 เสมอจิต พิธพรชัยกุล samerchit.p@psu.ac.th วรรธนะ พิธพรชัยกุล wattana.p@psu.ac.th ธนวิชญ์ ปานศรี 5910810011@psu.ac.th ณิชนันทน์ อยู่ยงชื่น 5910810041@psu.ac.th สโรชา ธูปหอม 5910810044@psu.ac.th ศศลักษณ์ กุกุดเรือ 5910810035@psu.ac.th <p>การศึกษาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างจากการทํางาน (WMSDs) ในนักศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง 235 ราย เก็บข้อมูลโดยแบบประเมินที่ประยุกต์จากแบบประเมินความปวดนอร์ดิกร่วมกับมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยตัวเลข (Numerical Rating Scales ; NRS) และปัจจัยที่ส่งผล โดยส่งแบบสอบถามออนไลน์ ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ อยู่ในช่วง 0.67 - 1.00 และทดสอบความเชื่อมั่น โดยใช้วิธี Test-retest ได้ค่าความเชื่อมั่น Correlation coefficient of Stability เท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ Logistic Regression ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. ความชุกของอาการผิดปกติอย่างน้อย 1 ตำแหน่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาและในช่วง 7 วันที่ผ่านมาพบเป็นร้อยละ 100 และ 66.8 ตามลำดับ ตำแหน่งที่รายงานอาการผิดปกติ สูงสุด 3 ตำแหน่งแรกคือ คอ ไหล่ และหลังส่วนบนตามลำดับ ความรุนแรงของอาการปวดอยู่ในช่วงคะแนน 0.58 - 3.08 จากคะแนนเต็ม 10</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดอาการผิดปกติ ได้แก่ เพศหญิง ชั่วโมงการทำงานในคลินิกหรือห้องปฏิบัติการที่มากกว่าหรือเท่ากับ 15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และระยะเวลาในการใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต 5 – 8 ชั่วโมง และ มากกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน มีความเสี่ยงในการเกิด อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างจากการทํางานเพิ่มขึ้นเป็น 2.46, 2.27, 2.26 และ 3.85 เท่าตามลำดับ</span></p> <p>ข้อเสนอแนะ อาการผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาทันตแพทย์ จึงควรหาทางลดหรือป้องกันตั้งแต่ต้น เช่น ปรับระยะเวลาในการเรียน การใช้คอมพิวเตอร์หรือแท็บเล็ต จัดให้มีช่วงพักระหว่างการเรียน</p> 2023-08-13T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/265232 การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุม โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) ในกลุ่มผู้แสวงบุญฮัจย์ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย 2023-08-29T19:09:58+07:00 สวรรยา จันทูตานนท์ somdara@gmail.com ชูพงศ์ แสงสว่าง sawanya.sc@gmail.com <p> การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ ปัญหาการดำเนินงาน พัฒนารูปแบบ ประสิทธิผลของรูปแบบ และข้อเสนอแนะเชิงนโยบายการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง ในกลุ่มผู้แสวงบุญฮัจย์ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์สภาพการณ์ และปัญหา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดหนึ่งกลุ่มวัดผลหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เดินทางไปแสวงบุญฮัจย์ ใน 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง และบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา ขั้นตอนที่ 4 ศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายจากผู้บริหาร ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ดำเนินการเดือนตุลาคม 2565 – เดือนสิงหาคม 2566 ผลวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ไม่มีรายงานผู้ป่วยที่ติดเชื้อ MERS-CoV ใช้รูปแบบแนวทางในการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรคแบบเชิงรับ ซึ่งไม่ครอบคลุมทุกกิจกรรมภายใน 14 วัน ของผู้แสวงบุญฮัจย์</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลางในกลุ่มผู้แสวงบุญฮัจย์ พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เป็น “MERS-PCH” ประกอบด้วยการเฝ้าระวังโรคใน 3 จุดที่สำคัญ คือ POE Surveillance (การเฝ้าระวังในช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศ) Community Surveillance (การเฝ้าระวังในชุมชน) และ Hospital Surveillance (การเฝ้าระวังในโรงพยาบาล)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ประสิทธิผลของรูปแบบใหม่ คือ คัดกรองผู้เดินทางในสนามบิน 7,636 ราย (ร้อยละ 100) ตรวจจับ PUI MERS ได้ 53 ราย ทุกรายได้รับการสอบสวนโรค เจ้าหน้าที่ติดตามอาการในชุมชนได้ ร้อยละ 100 โรงพยาบาลรายงาน PUI MERS 53 ราย มีความไวของการตรวจจับร้อยละ 93.5 มีความถูกต้อง ร้อยละ 93.5 และสอบสวนโรคทันเวลาร้อยละ 100 ผลความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 4. ได้ให้คำแนะนำเชิงนโยบายในการขยายรูปแบบนี้ไปในจังหวัดอื่นที่มีผู้แสวงบุญฮัจย์ และสามารถขยายไปตรวจจับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคตได้</span></p> <p> ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยขยายรูปแบบนี้ไปใช้ในจังหวัดอื่นที่มีผู้แสวงบุญฮัจย์ และสามารถขยายผลสู่การตรวจจับโรคอุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคตได้</p> 2023-11-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258128 สมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าของพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2023-07-24T20:03:58+07:00 ทิพย์ศิริ สหวรพันธุ์ thipsiri@bcnsk.ac.th กิตติกร นิลมานัต Thipsiri@bcnsk.ac.th ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ Thipsiri@bcnsk.ac.th <p> การศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าของพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต และ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าของพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลทั่วไป 41 แห่งและโรงพยาบาลศูนย์ 23 แห่งจำนวน 385 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วย สูตรของยามาเน การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 2) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าของพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตผ่านการตรวจสอบค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่านได้ค่าเท่ากับ .96 และทดสอบค่าความเที่ยงใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. สมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าของพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.47, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .83)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ตัวแปรอายุ ประสบการณ์ทำงาน ระดับการศึกษา จำนวนการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการวางแผนดูแลล่วงหน้า และการได้รับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลประคับประคอง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .47,</span><em style="font-size: 0.875rem;"> r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .38, </span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .25, </span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .47, </span><em style="font-size: 0.875rem;">r </em><span style="font-size: 0.875rem;">= .33, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; .01)</span></p> <p> จากผลวิจัย ใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาสมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้าของพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไต และควรมีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาพยาบาลเวชปฏิบัติการบำบัดทดแทนไตให้มีสมรรถนะการวางแผนดูแลล่วงหน้า </p> <p><strong> </strong></p> 2023-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258203 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ต้องขังโรคจิตเภท 2023-07-03T20:37:59+07:00 เจนวิทย์ ณาคะโร bell.nursing1992@gmail.com วินีกาญจน์ คงสุวรรณ vineekarn.kongsuwan@gmail.com อรวรรณ หนูแก้ว orawan.n@psu.ac.th <p> การวิจัยเชิงทำนายนี้เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองและศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ต้องขังจิตเภทในเรือนจำและทัณฑสถาน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการต้องโทษในเรือนจำและทัณฑสถานเขตบริหารเรือนจำที่ 9 จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วนคือ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและการเจ็บป่วย (2) แบบประเมินการทำหน้าที่ด้านการรู้คิดของผู้ป่วยโรคจิตเภท (3) แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคจิตเภท (4) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของผู้ป่วยโรคจิตเภท และ (5) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคจิตเภท ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือส่วนที่ 3 และ 5 เท่ากับ 1<strong>, </strong>1<strong>, </strong>และ 1 ตามลำดับ ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือส่วนที่ 3 ถึง 5 โดยคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .72<strong>, </strong>89<strong>, </strong>และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์ปัจจัยทำนายโดยใช้สถิติถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผู้ป่วยจิตเภทที่ได้รับการต้องโทษในเรือนจำและทัณฑสถานมีระดับพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับสูง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 77.63</span><strong style="font-size: 0.875rem;">, </strong><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 0.92) ตัวแปรปัจจัยทำนายสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 42 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">R</em><em style="font-size: 0.875rem;"><sup>2</sup></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .421</span><strong style="font-size: 0.875rem;">, </strong><em style="font-size: 0.875rem;">p</em><strong style="font-size: 0.875rem;">-</strong><span style="font-size: 0.875rem;">value &lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">05)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด (β= 0.239, </span><em style="font-size: 0.875rem;">t </em><span style="font-size: 0.875rem;">= 2.907</span><strong style="font-size: 0.875rem;">, </strong><span style="font-size: 0.875rem;">p &lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">01) และการสนับสนุนทางสังคม</span><strong style="font-size: 0.875rem;"> </strong><span style="font-size: 0.875rem;">(β= 0.478, t = 4.495</span><strong style="font-size: 0.875rem;">, </strong><em style="font-size: 0.875rem;">p<strong>-</strong>value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt; </span><strong style="font-size: 0.875rem;">.</strong><span style="font-size: 0.875rem;">01)</span></p> <p> ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองต่อไป</p> 2023-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258580 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นของผู้สูงอายุ 2023-09-05T21:20:08+07:00 ปรียนุช ชัยกองเกียรติ preeyanuch@bcnyala.ac.th ซัมซูดีน เจะเฮาะ nuch2172@gmail.com กมลวรรณ สุวรรณ nuch2172@gmail.com เปรมฤดี ดำรักษ์ nuch2172@gmail.com <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้น และปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 115 คน สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เข็มกระตุ้นของผู้สูงอายุ ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง .67 – 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคด้านการรับรู้ในการป้องกันโรคโควิด-19 สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ปัจจัยเอื้อ และการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 เท่ากับ .84, .84, .85 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> การตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลาในภาพรวมอยู่ในระดับ กลาง/ไม่แน่ใจ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">= 3.18, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">= 1.51)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครยะลา ได้แก่ สิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">Beta</em><span style="font-size: 0.875rem;">=.773) และการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคโควิด-19 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">Beta</em><span style="font-size: 0.875rem;">=-.281) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 32.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">adj.R<sup>2</sup></em><span style="font-size: 0.875rem;">=.327, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;">&lt;.001)</span></p> <p> ดังนั้น บุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องในการบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 แก่ผู้สูงอายุ จึงควรให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และส่งเสริมสิ่งชักนำให้เกิดการปฏิบัติ ได้แก่ ให้ข้อมูลกับสมาชิกในครอบครัวเพื่อจูงใจให้ผู้สูงอายุตระหนักถึง ความจำเป็นในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ตลอดจนขจัดการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคโควิด-19 ได้แก่ การต้องแยกรับประทานอาหาร และการตรวจหาเชื้อในกลุ่มเสี่ยงสูง </p> 2023-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258519 การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยในหอแยกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง 2023-07-03T20:55:36+07:00 รัชกร ชาญพานิชย์ rchanpanich@gmail.com เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย rchanpanich@gmail.com พัชราภรณ์ อารีย์ rchanpanich@gmail.com <p><strong> </strong>การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยในหอแยกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งโดยใช้แนวคิดการวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลประชากรเป้าหมาย คือรายงานต้นทุนบุคลากรทางการพยาบาลจำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างคือ รายงานต้นทุนผู้ป่วยในหอแยกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 30 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูล 2 แบบคือ 1) เก็บข้อมูลแบบย้อนหลัง 2) เก็บข้อมูลแบบไปข้างหน้า เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุดคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนบริการทางการพยาบาล 2) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยในหอแยกโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนตัวผลักดันกิจกรรมการพยาบาลโดยเครื่องมือมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 มีค่าความเชื่อมั่นของการสังเกตเท่ากับ 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนาคือ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยรวมกิจกรรมหลักเท่ากับ 264,773.37 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงสุดคือการพยาบาลต่อเนื่องขณะรับการรักษา 97,766.31 บาท (ร้อยละ 36.92) รองลงมาคือต้นทุนกิจกรรมการบริหารจัดการและงานสนับสนุนเท่ากับ 47,627.05 บาท (ร้อยละ 17.99)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยต่อกิจกรรมเท่ากับ 1,468.97 บาท โดยกิจกรรมการบริหารจัดการและงานสนับสนุนมีต้นทุนสูงสุดเท่ากับ 417.78 บาท</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยต่อรายเท่ากับ 8,825.78 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนต่อรายสูงสุดคือการพยาบาลต่อเนื่องขณะรักษาตัวเท่ากับ 3,258.88 บาทต่อราย</span></p> <p> การวิจัยนี้แสดงถึงความสำคัญของต้นทุนกิจกรรมที่สามารถนำไปวางแผนการบริหารงบประมาณ การบริหารเวลา การบริหารวัสดุเพื่อบริหารจัดการด้านต้นทุนในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> 2023-11-01T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/263111 ผลทางคลินิกของผลิตภัณฑ์สูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่า ในการรักษาโรคอ้วน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน 2023-05-22T09:27:05+07:00 ปิยะนุช ทิมคร phiyanuch@acttm.ac.th ศุภวรรณ พงศ์พัฒนาวุฒิ supawanp@nu.ac.th ธีรพล ทิพย์พยอม supawanp@nu.ac.th <p> การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิศักย์และเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดสูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าในการรักษาโรคอ้วนผู้วิจัยทำการสืบค้นการทดลองแบบสุ่มชนิดที่มีกลุ่มควบคุม จากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed, Embase และ Cochrane Central Register of Clinical Trial (CENTRAL) โดยสืบค้นตั้งแต่วันเริ่มต้นของแต่ละฐานข้อมูลจนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2566 จากนั้นคัดเลือกงานวิจัยที่ศึกษาผลของการใช้ผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดสูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่าในการรักษาโรคอ้วนในกลุ่มตัวอย่างอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และมีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 kg/m<sup>2</sup> ขึ้นไป หรือได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน และวัดผลลัพธ์ทางคลินิกผลลัพธ์ใดผลลัพธ์หนึ่งดังต่อไปนี้ 1) น้ำหนักตัว 2) ดัชนีมวลกาย 3) เส้นรอบเอว โดยประเมินการศึกษาที่คัดเข้ามาทบทวนด้วย Cochrane Risk of Bias version 2 (RoB 2) และวิเคราะห์ผลลัพธ์รวมโดยใช้โมเดลแบบสุ่มและแสดงผลด้วยผลต่างของค่าเฉลี่ย (Mean Difference, MD) กับช่วงความเชื่อมั่น 95% (95% Confidence Intervals, 95%<em>CI</em>) ทำการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม Review Manager 5.4 (RevMan 5.4) ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. คุณภาพของงานวิจัยทั้ง 5 ฉบับ จัดว่ามีความเสี่ยงในการเกิดอคติพอสมควรโดยพบประสิทธิศักย์ของผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดสูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่า คือ สามารถลดเส้นรอบเอวของผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">MD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = -4.59 cm, 95%</span><em style="font-size: 0.875rem;">CI</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = -9.01, -0.16) แต่ไม่มีผลต่อดัชนีมวลกายและน้ำหนักตัวเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ไม่พบการรายงานเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์จากการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว</span></p> <p> การศึกษาที่มีในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์แคปซูลสารสกัดสูตรผสมระหว่างกระเจี๊ยบแดงและเลม่อนเวอบีน่ามีผลช่วยลดเส้นรอบเอวและมีความปลอดภัยในการรักษาโรคอ้วน อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาที่มีคุณภาพเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผลดังกล่าว</p> 2023-11-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258350 ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาและทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช 2023-07-24T20:21:00+07:00 สุรีรัตน์ ณ วิเชียร taptim17@hotmail.com จินดาวรรณ เงารัศมี jindawanu@hotmail.com ประกฤต ประภาอินทร์ prakrit@scphpl.ac.th <p> การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้เป็นแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐานต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาและทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ กลุ่มทดลองเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เป็นระยะเวลานาน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบบันทึกส่วนบุคคล 2) แบบประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .8 และ 3) แบบสอบถามทักษะศตวรรษที่ 21 ค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .73 ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .96 เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบของวิลคอกซัน ผลการศึกษาพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนทักษะทางปัญญา สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนทักษะในศตวรรษที่ 21 สูงกว่าก่อนได้รับการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> <p> ดังนั้นวิทยาลัยพยาบาลควรมีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อเพิ่มผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาและทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์</p> 2023-11-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/261938 ผลของการบริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ต่อการชะลอการเสื่อมของไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 2023-06-02T15:50:08+07:00 นพดล พลานุกูลวงศ์ jeabjeab_9@hotmail.com ธนเทพ วณิชยากร npalanukunwong15@gmail.com <p> การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมต่อผลลัพธ์ทางคลินิกและผลลัพธ์ด้านการดูแลผู้ป่วยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 หรือ 4 เริ่มเก็บข้อมูลในเดือน พฤศจิกายน 2564 – กรกฎาคม 2565 จำนวนผู้ป่วย 124 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม กลุ่มทดลอง 62 ราย และกลุ่มที่ได้รับตามมาตรฐาน กลุ่มควบคุม 62 ราย โดยโปรแกรมการให้การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยใช้รูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณี ประกอบด้วย การค้นหาปัญหาจากการใช้ยา การปรับขนาดยา การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยา โรคไตเรื้อรังและการปฏิบัติตน การส่งขอคำปรึกษาทีมสหวิชาชีพ โดยวัดผลลัพธ์ด้านคลินิก ได้แก่ ค่าการทำงานของไต ค่าความดันโลหิต ในขณะที่ผลลัพธ์ด้านการดำเนินการวัดคุณภาพชีวิต การวัดความรู้ การประเมินความร่วมมือในการใช้ยา และการค้นหาและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test และ Independent t-test ในการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการให้การบริบาลทางเภสัชกรรม และการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม ตามลำดับ ในกลุ่มที่มีการกระจายตัวข้อมูลไม่ปกติใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผลลัพธ์ทางคลินิกพบว่าค่าการทำงานของไต (eGFR) ในกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (</span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value &lt;</em><span style="font-size: 0.875rem;"> .05</span><em style="font-size: 0.875rem;">)</em><span style="font-size: 0.875rem;"> ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงค่า SCr ไม่ได้มีความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเสร็จสิ้นการศึกษาพบค่า SCr ของกลุ่มทดลองมีระดับลดลง ในขณะที่กลุ่มควบคุมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นภาวะการทำงานที่แย่ลงของไต</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ผลลัพธ์การดำเนินการในประเด็นคุณภาพชีวิตความรู้เรื่องโรคและยา ความร่วมมือจากการใช้ยา และสามารถตรวจจับและแก้ไขปัญหาจากการใช้ยาของกลุ่มทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</span></p> <p> การให้การบริบาลทางเภสัชกรรมรูปแบบการจัดการผู้ป่วยรายกรณีช่วยให้ผู้ป่วยมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องยาเพิ่มขึ้นและลดปัญหาจากการใช้ยา ซึ่งส่งผลต่อผลลัพธ์ทางคลินิก การชะลอการเสื่อมของไต และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> 2023-11-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/259076 รูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก: องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ 2022-10-01T00:52:18+07:00 อัศรีย์ พิชัยรัตน์ aussareepi@bcnt.ac.th Amonwan Werathummo aussareepi@bcnt.ac.th ศิลป์ชัย สุวรรณมณี aussareepi@bcnt.ac.th <p> การวิจัยแบบขั้นตอนเชิงอธิบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารวิชาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก (สบช.) ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ออนไลน์เพื่อระบุปัจจัยและตัวชี้วัดของร่างแบบจำลอง AL ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารวิชาการพยาบาล 13 คน นักศึกษาพยาบาล และผู้ปกครอง อย่างละ 11 คน และการอภิปรายกลุ่มเพื่อรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 9 คน ในการพัฒนาแบบจำลอง AL โดยแบบจำลองโมเดลประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก 5 ด้าน องค์ประกอบย่อย 16 ด้าน และ 97 ตัวบ่งชี้ แบบจำลองได้ถูกทดสอบความตรงด้านเนื้อหา ซึ่งได้ค่า IOC อยู่ในช่วง 0.6-1.0 และขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อทดสอบแบบจำลอง AL โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยยืนยัน (CFA) กับกลุ่มตัวอย่าง 271 คน ผลการวิจัย พบว่า</p> <p> การวัดลำดับที่สองของแบบจำลอง AL มีดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน (χ<sup>2</sup>/<em>df</em>) เท่ากับ 0.68237, <em>GFI</em> = 0.97, <em>AGFI</em> = 0.94, <em>SRMR</em> = 0.0063, <em>RMSEA</em> = 0.000 โดยองค์ประกอบย่อยที่สำคัญของแบบจำลอง คือ VE2 (L = 0.60) FP2 (L = 0.55) FP3 (L = 0.55) CL1 (L = 0.57) RI4 (L = 0.65) SQ1 (L = 0.60) และ SQ2 (L = 0.60)</p> <p> จากผลการวิจัยครั้งนี้ แบบจำลองควรนำไปใช้ในการเตรียมและพัฒนาผู้บริหารมือใหม่และผู้บริหารที่กำลังดำรงตำแหน่งในคณะพยาบาลศาสตร์ สบช.</p> <p> </p> 2023-11-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/263295 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่นในสถานการณ์โควิด-19 2023-09-22T09:18:07+07:00 วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ vivyrose@yahoo.com จีรนุช สมโชค ไวท์ wiparat@knc.ac.th <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงของครอบครัววัยรุ่นในสถานการณ์โควิด-19 และปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 อายุระหว่าง 13-18 ปี ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (CVI) เท่ากับ .98 และค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความรุนแรงในครอบครัวในสถานการณ์โควิด-19 เท่ากับ .71 และแบบสอบถามรูปแบบความรุนแรงในครอบครัวเท่ากับ .70 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. กลุ่มตัวอย่างมีการรายงานการใช้ความรุนแรงในครอบครัวภาพรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=1.72, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=0.58) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่ามีการใช้ความรุนแรงด้านจิตใจมากที่สุด (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;">=2.55, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;">=1.05)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ปัจจัยด้านการทำหน้าที่ของครอบครัวมีความสัมพันธ์เชิงลบกับความรุนแรงในครอบครัวของวัยรุ่นในสถานการณ์โควิด-19 ในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =-.695, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt;.01) ด้านสภาพแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (</span><em style="font-size: 0.875rem;">r</em><span style="font-size: 0.875rem;"> =-.212, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt;.01) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่ การทำหน้าที่ของครอบครัว (</span><em style="font-size: 0.875rem;">Beta</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = -.695) โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 47.80 (</span><em style="font-size: 0.875rem;">adj.R<sup>2</sup></em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .478, </span><em style="font-size: 0.875rem;">p-value</em><span style="font-size: 0.875rem;"> &lt;.001) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001</span></p> <p> บุคลากรทางสุขภาพที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กวัยรุ่นและครอบครัว ควรเฝ้าระวังเกี่ยวกับการใช้ความรุนแรงในครอบครัวและมีการประเมินการทำหน้าที่ของครอบครัวก่อนออกแบบการป้องกัน หรือลดความรุนแรงในครอบครัวของเด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและสภาพแวดล้อมไม่ดี</p> 2023-11-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/262632 ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด 2023-09-27T19:11:53+07:00 ปาลีรัญญ์ ฐาสิรสวัสดิ์ drongmuang@gmail.com ดาราวรรณ รองเมือง drongmuang@gmail.com นุชนาถ ประกาศ drongmuang@gmail.com <p> การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี จำนวน 37 คน เลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการวิจัยในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม 2565 เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ .83 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะโภชนาการ สมุดบันทึกชนิดและปริมาณอาหารที่ผู้ป่วยเลือกรับประทาน และแบบบันทึกการติดตามผ่านไลน์แอปพลิเคชัน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-test และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัยพบว่า</p> <p> ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่างมีค่ามัธยฐานของจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือด (<em>Mdn</em>=6,660, <em>IQR</em>=3,965) เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (<em>Mdn</em>=5,690, <em>IQR</em>=3,210) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>z</em>=-3.07, <em>p</em>-value&lt;.001) และมีระดับอัลบูมินในเลือด (<em>M</em>=4.46, <em>SD</em>=.39) เพิ่มสูงขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (<em>M</em>=4.00, <em>SD</em>=.56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>= 3.25, <em>p-value </em>&lt;.001) ส่วนดัชนีมวลกายภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม (<em>M</em>=20.81, <em>SD</em>=3.80) ลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (<em>M</em>=21.32, <em>SD</em>=4.12) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>= -4.79, <em>p-value</em>&lt;.001)</p> <p> โปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับพยาบาลและทีมสุขภาพสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความพร้อมสำหรับการได้รับยาเคมีบำบัด ลดการเสียโอกาสในการรักษา </p> 2023-11-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/260398 ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนราธิวาส ภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 2023-10-10T20:23:43+07:00 อัณญ์ยภัคสร ใจสมคม anyapaksorn.j@pnu.ac.th พัชราวดี ทองเนื่อง anyapaksorn.j@pnu.ac.th ฟุรซาน บินซา anyapaksorn.j@pnu.ac.th สรวงสุดา เจริญวงศ์ anyapaksorn.j@pnu.ac.th <p> การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จังหวัดนราธิวาสภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 142 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ตามแบบสอบถาม ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์รายข้อ (IOC) อยู่ระหว่าง .67-1.00 แบบสอบถามความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (ยกเว้นด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ) และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาของคอนบาคเท่ากับ .94, .95, .81, .81 และ .89 ตามลำดับ สำหรับแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีการคูเดอร์ริชาร์ดสัน 20 เท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ผู้สูงอายุมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันและพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส อยู่ในระดับดี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 19.53, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 1.70 และ </span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 22.23, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 3.53 ตามลำดับ) คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 93.61</span><em style="font-size: 0.875rem;">, SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 21.11) ส่วนการรับรู้ภาวะสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่ดี (</span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 108.37,</span><em style="font-size: 0.875rem;"> SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 30.31 และ </span><em style="font-size: 0.875rem;">M</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 36.23, </span><em style="font-size: 0.875rem;">SD</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = 7.52 ตามลำดับ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. การรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนราธิวาสภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ได้ร้อยละ 24.10 (</span><sub>adj</sub><em style="font-size: 0.875rem;">R<sup>2</sup></em><span style="font-size: 0.875rem;">= .241; </span><em style="font-size: 0.875rem;">β</em><span style="font-size: 0.875rem;"> = .450, .137 และ .060 ตามลำดับ)</span></p> <p> ดังนั้น บุคลากรทางสุขภาพควรจัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาการรับรู้ภาวะสุขภาพ ความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19</p> 2023-11-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/article/view/258674 การวิเคราะห์ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง 2023-09-22T09:48:12+07:00 พนิตนันทร์ หมื่นตั้ง ktawtawan2559@gmail.com เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ktawtawan2559@gmail.com เนตรชนก ศรีทุมมา ktawtawan2559@gmail.com <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนต่อรายกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจ ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ประชากรเป้าหมาย คือ รายงานต้นทุนของบุคลากรทางการพยาบาลทั้งหมด 22 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ รายงานต้นทุนการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวน 30 ราย เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยมี 3 ชุด คือ 1) พจนานุกรมกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหาย มีกิจกรรมหลัก 5 กิจกรรม 2) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนกิจกรรมการพยาบาล 3) แบบบันทึกข้อมูลต้นทุนตัวผลักดันกิจกรรม ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือทุกชุด เท่ากับ 0.94 ความเที่ยงของการสังเกต เท่ากับ 1.0 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 1. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลรวมเท่ากับ 286,22 บาท กิจกรรมที่มีต้นทุนสูงสุดคือ การพยาบาลระหว่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ เท่ากับ 171,294.91บาท (ร้อยละ 59.75) รองลงมาคือ กิจกรรมแรกรับใหม่/รับย้าย เท่ากับ 43,704.14 บาท (ร้อยละ15.25)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 2. ต้นทุนต่อกิจกรรมพบว่า พยาบาลระหว่างผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจสูงสุดเท่ากับ 4,530.06 บาทต่อกิจกรรม</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;"> 3. ต้นทุนกิจกรรมการพยาบาลต่อรายในการดูแลผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ มีต้นทุนที่สูงที่สุด เท่ากับ 5,709.80 บาทต่อราย</span></p> <p> ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นเรื่องใหม่ที่ต้องนำไปเพื่อบริหารต้นทุน บริหารเวลา กำลังคนและวัสดุอุปกรณ์ในสถานการณ์ที่โรคอุบัติการณ์ใหม่ในโอกาสต่อไป </p> 2023-11-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้