การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรคโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ, การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค, การเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน, การวิจัยและพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคโดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ของนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์การเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 47 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพฯ โดยนำรูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพฯ และคู่มือการเรียนรู้รวมทั้งแบบสอบถามที่เป็นแบบวัดและแบบประเมินต่างๆ ประกอบด้วยความรู้ ผลลัพธ์ ทักษะ ภาวะผู้นำ และทัศนคติในการทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ ให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ หลังจากปรับปรุง จึงนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาวิทยาศาสตร์สุขภาพจำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความคิดเห็นต่อรูปแบบ จากอาจารย์ พี่เลี้ยงในชุมชน ตัวแทนชุมชน และนักศึกษา นำรูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพและคู่มือการเรียนรู้ฯไปใช้จริงหลังการปรับปรุง ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นไปใช้จริงในนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์สุขภาพ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 50 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test รวมทั้งวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. สถานการณ์การเรียนรู้ พบว่าหลักสูตรการสอนของสถาบันพระบรมราชชนก สำหรับนักศึกษาพยาบาลและสหสาขาวิชาชีพที่ผ่านมายังไม่มีเนื้อหาการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพโดยตรง นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสหสาขาวิชาชีพ ระดับปานกลาง ผลลัพธ์การเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพระดับปานกลาง อย่างไรก็ตามความสามารถและประสบการณ์เกี่ยวกับสหสาขาวิชาชีพในการทำงานมีค่อนข้างน้อยควร และเน้นชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้
2. รูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพฯ มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและหลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการเรียนรู้ มี 5 กิจกรรม คือ สร้างความเข้าใจ สร้างทัศนคติปรับการเรียนรู้ เสริมความรู้แบบสหสาขาวิชาชีพ ฝึกทักษะการเรียนรู้และการทำงานเป็นทีมในสถานการณ์จำลอง และ ศึกษาในสถานการณ์จริงในชุมชน 4) ผลลัพธ์ และ 5) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จ ได้แก่ ภาวะผู้นำในการสนับสนุนเชิงนโยบายของผู้บริหารสถานศึกษา การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง และการใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้
3. การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบสหสาขาวิชาชีพฯ พบว่า หลังการใช้รูปแบบการเรียนรู้ นักศึกษามีความรู้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ ทักษะ ทัศนคติในการทำงานร่วมกัน และภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนดำเนินการรูปแบบการเรียนรู้ฯ โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .001
References
Crabee, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE Publications.
Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internet Structure of Tests. Phychometrika, 16(3), 297-334.
Fox, L., Onders, R., Hermansen-Kobulnicky, C. J., Nguyen T. N., Myran L., Linn B., et al, (2018). Teaching Interprofessional Teamwork Skills to Health Professional Students: A Scoping ReviewJournal of Interprofessional Care, 32(2), 127-135.
Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). New Jersey: Pearson Education.
Hosny, S., Kamel, M. H., El-Wazir, Y., & Gilbert, J. (2013). Integrating Interprofessional Education in Community - Based Learning Activities: Case Study, Suppl(1), S68-S73. doi: 10.3109/0142159X.2013.765550. Retrieved March 4, from https://www.ncbi.nlm. nih.gov/pubmed/23581899
Johns, C. (2000). Becoming a Reflective Practitioner: a Reflective and Holistic Approach to Clinical Nursing, Practice Development and Clinical Supervision. Oxford: Blackwell Science.
Mahajan, R., Mohammed, C. A., Sharma, M., Gupta P., & Singh T. (2018). Interprofessional Education: An Approach to Improve Healthcare Outcomes. Indian Pediatrics, 55, 241–249. Retrieved March 9, from https://doi.org/10.1007/s13312-018-1326-0
Nielsen, A. (2016). Concept-Based Learning in Clinical Experiences: Bringing Theory to Clinical Education for Deep learning, Journal of Nursing Education, 55(7), 365-371.
Praboromarajchanok Institute Strategic Plan, (2020-2024). Praboromarajchanok Institute Strategic Plan. Retrieved March 9, 2020 from http://www.bcnb.ac.th/bcnb/uploads/documents/wg2/20190820_165729_121_4050.pdf
Putthasri, W., & Chuenkongkaew, W. (2017). The Report on 3rd Annual National Health Professional Education Reform Forum: ANHPERF "IPE towards Thai Health Team". Nonthaburi: P.A Living Ltd.; Bangkok,Thailand. (in Thai)
Rajiah, K., & Maharajan, M. (2016). Frammework for Action to Implement Interprofessional Education and Collaborative Practice in Pharmacy and Allied Health Sciences Program in India. India Journal of Phamaceutical Education and Research, 50(2), 238-245.
Reeves, S., Zwarestein, M., Goldman, J., Barr, H., Freeth, D., Hammick, et al. (2008). Interprofessional Education: Effects on Professional Practice and Health Care Outcomes. Coachrane Database of Systemic Reviews. DOI: 10.1002/14651858. CD00213.pub2.
Rittikoop, W. (2018). Community-Based Learning: Effective Pedagogy Strategies for Teachers in the 21st Century. Graduate School Journal, 11(3), 179-191.
Royal Thai Government Gazette. (2019). Royal Thai Government Gazette. Retrieved March 9, 2020 from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/082/T_0001.PDF
Sarakshetrin, A., Sriyasak, A., Ketin, V., & Rongmuang, D., (2019). A Development of Interprofessional Education Learning Model for Health Promotion among the Elderly in the Community. Journal of Health and Nursing Research, 35(2), 140-152.
The Employers Satisfaction for Graduate. (2559-2561). The Employers Satisfaction for Graduate Students from Boromarajonnani College of Nursing, Buddhachinaraj. Annual Report of Academic Affair of Boromarajonnani College of Nursing, Buddhachinaraj.
World Health Organization. (2010). Framework for Action on Interprofessional Education & Collaborative Practice. (WHO/HRH/HPN/10.3)
Zwarestein, Reeves, Barr, Hammick, Koppel, & Atkins. (2000) Interprofessional Education: Effects on Professional Practice and Health Care Outcomes. Retrieved March 4
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้