การพัฒนารูปแบบบันทึกเพื่อการส่งต่อในการดูแลและติดตามสุขภาพ ทารกเกิดก่อนกำหนดต่อเนื่องที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • วนิสา หะยีเซะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ธิดารัตน์ หวังสวัสดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • ฮัมดี มาแย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • วิมลวรรณ ดำคล้าย โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
  • ณัฐวุฒิ เชื้อกุลา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

แบบบันทึกเพื่อการส่งต่อ, การดูแลและติดตาม, ทารกเกิดก่อนกำหนด, สุขภาพที่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบบันทึกเพื่อการส่งต่อในการดูแลและติดตามสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนดต่อเนื่องที่บ้าน โดยขั้นตอนการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการที่จำเป็น ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุข และมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 35 คน รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวทางการสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 2) ขั้นการออกแบบและพัฒนารูปแบบ          โดยนักวิจัยและผ่านผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบจำนวน 5 คน 3) ขั้นการทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาและทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 30 คู่ กลุ่มทดลอง คือ         กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลและติดตามทารกเกิดก่อนกำหนดตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 15 คู่ และกลุ่มควบคุม คือ ข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลปกติและบันทึกสุขภาพไว้ จำนวน 15 คู่ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกน้ำหนักตัวทารก และแบบทดสอบประเมินพัฒนาการทารก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ สถิติ Chi-Square test สถิติ Fisher’s Exact test และ สถิติ Mann-Whitney U test และ 4) ขั้นการประเมินผลและการปรับปรุงรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลคือ มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดที่ใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแนวทางการสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการบันทึกเพื่อการส่งต่อฯ ประกอบด้วยการดูแลและการติดตามแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะทารกเกิดก่อนกำหนดเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต และ 2) ระยะทารกเกิดก่อนกำหนดได้รับการจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลจนทารกอายุ 12 เดือน

2. การประเมินการใช้รูปแบบบันทึกเพื่อการส่งต่อฯ พบว่า 1) น้ำหนักทารกขณะอายุ 6 และ 12 เดือน กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=-4.57, P<0.00 และ Z=-4.63, P<0.00 ตามลำดับ) 2) พัฒนาการทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือน 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีร้อยละของจำนวนทารกที่ผ่านกิจกรรมประเมินพัฒนาการทั้งหมดไม่แตกต่างกัน (P>0.05)

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า พยาบาลและผู้ที่มีหน้าที่ในการดูแลสุขภาพทารกเกิดก่อนกำหนด สามารถนำรูปแบบบันทึกนี้ไปเป็นแนวทางในการดูแลเพื่อให้ทารกเกิดก่อนกำหนดได้รับการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่องและได้รับการแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว

References

Awindaogo, F., Smith, V., C., & Litt. J., S. (2015). Predictors of Caregiver Satisfaction with Visiting Nurse Home Visit After NICU Discharge. Journal of Perinatology, 36(4), 325-328.

Bureau of Polity and Strategy. (2018). Public Health Statistics A.D.2018. [Database on the Internet]. Retrieved Jan 26, from http://bps.ops.moph.go.th/. (In Thai)

Chookhampaeng, C. (2018). Curriculum Research and Development Concept and Process. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Clark-Gambelunghe, M. B., & Clark, D. A. (2015). Sensory Development. Pediatrics Clinics, 62(2), 367-384.

Colaizy, T. T., Bartick, M. C., jegier, B. J., Green, B. D., Reinhold, A. G., Schaefer, A., J., et al. (2016). Impact of Optimized Breastfeeding on the Costs of Necrotizing Enterocolitis in Extremely Low Birth Weight Infant. The Journal of Pediatric, 175, 100-1016.

Crabtree, B. F., & Miller, W. L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE.

Gardner, S. L., & Goldson, E. (2011). The Neonate and the Environment: Impact on Development. In S. Gardner, B. Carter, M. Enzmam-Hines, & J. Hernandez, (Eds.), Handbook of Neonatal Intensive Care (7th ed.). (pp. 270-331). St. Louis: Mosby.

Hayeese, W., Sap-In, N., Wangsawat, T., & Chaimongkol, N. (2015) Quality of Life of Muslim Preterm Infant in Three Southernmost Provinces of Thailand. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(1), 1-14. (In Thai)

Hayeese, W., Wangsawat, T., Damklia, W., & Chaimongkol, N. (2019). Effects of the Perceived Self-Efficacy Promotion Program of Village Health Volunteers in Caring and Follow-Up Preterm Infants After Discharge from Hospitals. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 27(2), 30-39. (In Thai)

Hines, D. (2012). Culture Competence: Assessment and Education Resources for Home Care and Hospice Clinicians. Home Healthcare Nurse, 30(1), 38-45.

Lee, J-H., Kim, J-M., Kim, Y-D., Lee. S-M., Song, E-S, Ahn, S-Y., & et al. (2014). The Readmission of Preterm Infants of 30-33 Weeks Gestational Age Within 1 Year Following Discharge from Neonatal Intensive Care Unit in Korea. Neonatal Medicine, 21(4), 224-232.

Ministry of Public Health. (2015). Developmental Assessment for Intervention Manual (DAIM). Bangkok: National Health Security Office (NHSO).

Nyquist, K., Haggkvis, A., & Hansen, M. (2013). Expansion of the Baby-Friendly Hospital Initiative ten Steps to Successful Breastfeeding Into Neonatal Intensive Care. Journal of Human Lactation, 29(3), 300-309.

Office of the National Economics and Social Development Council. (2019). National strategy 20 years A.D.2018-2038. [Database on the Internet]. Retrieved Jan 26, from http://www.thailibrary.in.th/wp-content/uploads/2019/08/national-strategy-20yrs.pdf.

Pezzati, M. (2014). Hospital Readmissions in Late Preterm Infants. Italian Journal of Pediatrics, 40(2), 29-32.

Salaeh, T., & Doloh, H. (2014). Islamic Jurisprudence on Breastfeeding: A Case Study of Muslim Families in Baget Village, Khokkhian Sub-District, Mueang District, Narathiwat Province, Princess of Naradhiwas University Journal of Humanitics and Social Sciences, 1(2), 20-29. (In Thai)

Sivichai, A. (2014). Obstacles and Problem in Breastfeeding for Mothers with Preterm Infants. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand, 4(1), 51-58. (In Thai)

Srimala, S., Yenbut, J., & Urharmnuay, M. (2013). Discharge Planning Practices for Preterm Infants in Neonatal Intensive Care Unit, One of Tertiary Hospitals, Northern Region, Nursing Journal, 40(3), 21-29. (In Thai)

Wamback, K., & Riorden, J. (Eds.). (2015). Breastfeeding and Human Lactation (5th ed.). Burlington, MA: Jones & Bartlett.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-29