ผลของระบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีแบบแผนต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย
คำสำคัญ:
เด็กวัยเรียน, โรคธาลัสซีเมีย, การให้ความรู้อย่างมีแบบแผนบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลองเพื่อเปรียบเทียบความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 30 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ ระบบสนับสนุนและให้ความรู้อย่างมีแบบแผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ความรู้และพฤติกรรมการดูแลของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วัดความเที่ยงของแบบสัมภาษณ์ความรู้ในการดูแลตนเองของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียโดยใช้สูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองหาค่าความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลตนเองของเด็กป่วยวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียโดยรวมสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ควรใช้เป็นแนวทางในการสร้างโปรแกรมพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนและเด็กวัยอื่น ๆ ที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียร่วมด้วย เพื่อการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยในอนาคต
References
Kasonbua, P., Nabkasorn, C., & Hengudomsub, P. (2014). Effect of Humor Media Program on Fear of School-Age Children Receiving Intravenous Infusion. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 24(2), 61-72. (in Thai)
Khumnonghee, P. (2014). The Effects of Cartoon Animation and Cartoon Story Book on Self Care Behavior in School Age with Thalassemia. [Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Mapoloon, P., Rutchangul, P., & Muensa, W. (2016). Impact of a Self-Care Development Programme for School-Age Thalassemic Children and Their Caregivers’ Ability on the Children’s Self-Care Behaviour. Thai Journal of Nursing Council, 31(2), 52-68. (in Thai)
Medical Records and Statistics Unit, Siriraj Hospital. (2018). Statistic of Children with Thalassemia in Department of Hematology and Oncology. Bangkok: Siriraj Hospital. (in Thai)
Mukrod, S. (2008). Effectof Supportive Nursing System on Maternal Care Behavior and Selfcare Behaviorsof School Age Children with Thalassemia [Master’s Thesis]. Bangkok: Chulalongkorn University (in Thai)
Ngokwong, C., & Tangvoraphonkchai, J. (2009). The Effect of Learning Program Through a Group Process and Cartoon Storybook on Self Care Behavior in School Age Children with Thalassemia. Nursing Science and Health, 32(3), 39-46. (in Thai)
Orem, D. E. (2001). Nursing: Concept of Practice. (6thed). St Louis: Mosby Year Book.
Phuphaibul, R., Kerddonfeg, P., Areeyanuchitkul, S., & Chantarachote, J. (2014). Comparison of the Effects of Life Skills Training Programs Using Cartoon Books and Using Animation Movie on Life Skills of School-Agers. Rama Nursing Journal, 20(2), 71-87. (in Thai)
Phuphaibul, R., Kerddonfeg, P., Areeyanuchitkul, S., & Chantarachote, J. (2014). Comparison of the Effects of Life Skills Training Programs Using Cartoon Books and Using Animation Movies on Life Skills of School-Agers. Rama Nursing Journal, 20(2), 271-87. (in Thai)
Prabmeechai, S., & Rueangworaboon, S. (2017). The Effect of Animation Media on Knowledge and Self-Care Behavior of School-Age Children with Thalassemia. Nursing Journal of The Ministry of Public Health, 27(2), 96-109. (in Thai)
Sirithai N. (2011). Effectof Animationon Knowledge and Self Care Behaviorof Caregiver for Pre-School Asthmatic Children [Master’s Thesis]. Khon Kaen: Khon Kaen University. (in Thai)
Sitthikhungaew, M., Chintanadilok, N., Sangperm, P., & Au-Yeong, P. A. (2012). Relationship Between Perceived Stressors and Depressive Symptoms in Adolescents with Thalassemia. J. Nursing Sciences-Faculty of Nursing: Mahidol University, 30(3), 25-35. (in Thai)
Srichantaranit, A., Chungsomprasong, P., Vijarnsorn, C., Sukthongsa, W., Nuanchan Udomponglukana, N., & Jaturachaidech, C. (2014). Comparing the Effects of Teaching with VCD and Teaching with Flipchart on Knowledge and Anxiety of Mothers in Caring for Children Undergoing Cardiac Catheterization. J. Nursing Science, 32(2), 41-51. (in Thai)
Torcharus, K. (2012). Diagnosis of Thalassemia. Royal Thai Army Medical Journal, 65(2), 127-132. (in Thai)
Wonkompa, S., kayapart, S., & Arreerard, W. (2012). A Development of 2D Animation Cartoon on Overweight Children Problem Campaign. J. Science and Technology Mahasarakham University, 31(2), 155-63. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารเครือข่าย วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการหรือเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้