ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อ โรคโควิด-19 (COVID-19) ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

กิตติมา เรศจะโป๊ะ
ธนียา เจติยานุกรกุล
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
ดนัย บวรเกียรติกุล

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไป ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 239 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความรู้ ทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการป้องกันตนเองโรคโควิด-19 มีค่าความเชื่อมั่น 0.870, 0.912 และ 0.808 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไค-สแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่าระดับการศึกษามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.010) ประสบการณ์การปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำมากกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.120, p-value = 0.036) ความรู้เกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.220, p-value = 0.001) และทัศนคติเกี่ยวกับโรคโควิด-19 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.257, p-value < 0.001) จากผลการศึกษาที่พบว่า อสม. ส่วนใหญ่มีช่องทางรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์/อินเทอร์เน็ต จึงแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาการสื่อสารระหว่างบุคคลในแต่ละพื้นที่ ส่งเสริมการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีผ่านสื่อสังคมออนไลน์/ อินเทอร์เน็ต เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและถูกต้องที่สุด เพื่อเกิดการรับรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคโควิด-19 (COVID-19). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ความรู้โรคโควิด-19 (COVID-19) สำหรับเจ้าหน้าที่ และ อสม. (นักรบเสื้อเทา ออกเคาะประตูบ้านทุกหลังคาเรือน). นนทบุรี : ม.ป.ท.; 2563.

องค์การอนามัยโลก. What is need now to protect health workers. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://weforum.org/agenda/2020/04/10-april-who-briefing-healthworkers-covid-19-ppe-training/

สารียะห์ เลาะแมง, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, และสมเกียรติยศ วรเดช. พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตเทศบาลนครสงขลา. วารสารออนไลน์มหาวิทยาลัยทักษิณ, 2565; 6(8), 1-8.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี. รายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ระลอกเดือนมกราคม 2565 จังหวัดชลบุรี. [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 30 ธันวาคม 2564] เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/photo.php?fbid= 444113207757023&set=pb.100064750416916.-2207520000..&type=3

ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. รายงานข้อมูลบทบาท อสม.ฯ วัคซีนโควิด 19). [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 18 มิถุนายน 2565] เข้าถึงได้จาก https://www.thaiphc.net/new2020/vaccine_p2/ampur?province=20

กาญจนา ปัญญาธร, กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย, กมลทิพย์ ตั้งหลักมั่นคง และพรพิมล ศรีสุวรรณ. ความรู้ ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้านตําบลเชียงพิณ อําเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 2565; 30(1), 1-11.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2564; 4(1), 33-48.

เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2564; 4(1), 44-58.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ และบุญประจักษ์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคโควิด-19 ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 2564; 6(12), 360-375.

นฤเนตร ลินลา และสุพจน์ คำสะอาด. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตัวต่อการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาไวรัส 2019 ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 2564; 8(3), 8-24.

ธัชธา ทวยจัด, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, สาวิตรี วิษณุโยธิน และเสาวนีย์ ทองนพคุณ. ความรู้ เจตคติ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดจันทบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 2565; 17(2), 42-55.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย (สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต). คณะสาธารณสุขศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Bloom, B. S., Madaus, G. F., Hastings, J. T., & Baldwin, T. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill, 1971.

Best, J. W. Research in education (3rd ed.). New Jersey: Prentice Hall, 1977.

Zhong, B. L. et al. Knowledge, attitudes, and practices towards COVID - 19 among Chinese residents during the rapid rise period of the COVID - 19 outbreak: A quick online cross - sectional survey. International Journal of Biological Sciences, 2020;16(10), 1745-1752.

ณัฎฐวรรณ คำแสน. ความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 2563;4(1), 33-48.

คณยศ ชัยอาจ และจุลจิลา หินจำปา. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดขอนแก่น. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7, 2565.