ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าในนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตก

Main Article Content

วิกานต์ดา โหม่งมาตย์
กมลภู ถนอมสัตย์
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
ดนัย บวรเกียรติกุล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีรูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสํารวจแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า อิทธิพลจากสื่อสังคมออนไลน์ การส่งเสริมการป้องกันภาวะซึมเศร้าจากสถานศึกษา การส่งเสริมการป้องกันภาวะซึมเศร้าจากครอบครัว ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตก มีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 395 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ประกอบด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามมหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตกและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบจับฉลาก (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า อิทธิพลจากสื่อสังคมออนไลน์ การส่งเสริมการป้องกันภาวะซึมเศร้าจากสถานศึกษา การส่งเสริมการป้องกันภาวะซึมเศร้าจากครอบครัว โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.94, 0.91, 0.97 และ 0.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา One-Way ANOVA และสถิติ Stepwise Multiple Regression Analysis


               ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้าโดยรวมอยู่ในระดับมาก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ (p≤0.000) อายุ (p≤0.007) ค่าใช้จ่ายที่นักศึกษาได้รับจากผู้ปกครอง (p≤0.000) และสถานภาพสมรสของบิดามารดา (p≤0.001) และเมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม พบว่า อิทธิพลจากสื่อสังคมออนไลน์ การส่งเสริมการป้องกันภาวะซึมเศร้าจากสถานศึกษา และการส่งเสริมการป้องกันภาวะซึมเศร้าจากครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันภาวะซึมเศร้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = 0.834 , 0.772 , และ 0.818) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. Depression [Internet]. 2020 [cited 2022 Jun 6]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/depression

กรมสุขภาพจิต. รายงานการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Davies EB, Morriss R, Glazebrook C. Computer-delivered and web-based interventions to improve depression, anxiety, and psychological well-being of university students: a systematic review and meta-analysis. J Med Internet Res. 2014;16(5):e130.

Islam MA, Low WY, Tong WT, Yuen CW, Abdullah A. Factors associated with depression among university students in Malaysia: A cross-sectional study. KnE Life Sci. 2018;4(4):415.

พิชัย อิฏฐสกุล, ศิริไชย หงษ์สงวนศรี. โรคซึมเศร้า. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2558.

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, เนตรชนก แก้วจันทา, วราลักษณ์ กิตติวัฒน์ไพศาล, อิงคฏา โคตนารา. ปัจจัยทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าในกลุ่มนักศึกษา: ความแตกต่างระหว่างชายหญิง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2557;37(2):35-47.

พัชราวรรณ แก้วกันทะ, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ. ความชุกของภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย. พยาบาลสาร. 2558;42(4):48-64.

สุกัญญา รักษ์ขจีกุล. ภาวะซึมเศร้าและพฤติกรรมการฆ่าตัวตาย ในนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2556;58(4):359-70.

Griffiths R, MacLeod G, McIntyre D. Effects of Supervisory Strategies in Microteaching on Students' Attitudes and Skill Acquisition: Investigations of Microteaching. 1977.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน. รายงานจำนวนนักศึกษา. [Internet]. 2566 [cited 2023 Oct 3]. Available from: https://dept.npru.ac.th/ac/data/files/202566.pdf

Yamane, Taro. Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row. 1973.

ดวงใจ วัฒนสินธุ์. การป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น: จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การปฏิบัติ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2559;24(1):1-12.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. [Internet]. 2566 [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://psdg.dmh.go.th/og/files/1

ชนนิกานต์ มุกดาแสงสว่าง. พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน TikTok ของผู้สูงอายุ. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. คณะการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

ศิราคริน พิชัยสงคราม, นุชสรา ทรัพย์อินทร์, ณัฎฐินี ชัวชมเกตุ. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ดูแลเด็ก ปัจจัยด้านเด็กป่วย กับการรับรู้การได้รับการดูแลของผู้ดูแลเด็ก และการรับรู้การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้ครอบครัวเป็นศูนย์กลางของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2558;7(2):63-73.

ชวนันท์ ชาญศิลป์. การพัฒนาและทดสอบความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงเชิงสอดคล้องของแบบประเมินการเลี้ยงดูของผู้ปกครอง Alabama Parenting Questionnaire (APQ) ฉบับภาษาไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2562;27(2):107-20.

คมสันต์ เกียรติรุ่ฤทธิ์. [Internet]. 2566 [cited 2023 Sep 1]. Available from: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/doctor_name/

สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. ผลกระทบของเพศภาวะต่อสุขภาพจิตและแนวคิดเพศภาวะกำหนดนโยบายสุขภาพจิต. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2564;29(3):259-72.

อรรถสุดา เลิศกุลวัฒน์, ฐิติมา พุฒิทานันท์. สภาวะเศรษฐกิจ สังคม และภาวะซึมเศร้า: กรณีศึกษาจากข้อมูลระดับจังหวัดในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ประยุกต์. 2565;29(1):26-55.

ศูนย์สุขภาพจิตที่ 5. [Internet]. 2566 [cited 2023 Oct 1]. Available from: https://mhc5.dmh.go.th/backoffice/myfile/63f86ee9a9873.pdf