การพัฒนารูปแบบการจัดการสารเคมีตกค้างในเลือด ด้วยการดูแลสุขภาพตามหลัก 4 อ. ในพื้นที่ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการจัดการสารเคมีตกค้างในเลือดด้วยการดูแลสุขภาพตามหลัก 4 อ. (อารมณ์ อาหาร ออกกำลังกาย และ เอาพิษออก) กลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มที่มีสารพิษตกค้างในเลือดที่อยู่ในระดับเสี่ยงและระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 36 คน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาบริบท ระยะที่ 2 กระบวนการพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 การศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินพฤติกรรม สมุดบันทึกข้อมูล และ แบบบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา นำเสนอด้วยค่าความถี่ และ ค่าร้อยละ เปรียบเทียบผลลัพธ์การพัฒนาก่อนและหลังด้วยสถิติ Dependent t-test (Paired t-test) และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการสารเคมีตกค้างในเลือด ด้วยการดูแลสุขภาพตามหลัก 4 อ. มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) หลักสูตรฝึกอบรม อสม. และ ผู้มีสารเคมีตกค้างในเลือด (2) ศูนย์เรียนรู้การจัดการสารพิษด้วยหลัก 4 อ. (3) การจัดกิจกรรมให้กลุ่มผู้ที่มีสารเคมีตกค้างทุกสัปดาห์โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) (4) การตรวจสารเคมีในเลือดทุกเดือน (5) ห้องอบสมุนไพร และ (6) การติดตามและประเมินผล 2) ผลลัพธ์ของการพัฒนาตามหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติ และทักษะการจัดการตนเอง ของกลุ่มเป้าหมาย ก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) การประเมินระดับสารเคมีในเลือดของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายมีสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับเสี่ยง จำนวน 22 คน และ อยู่ในระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 14 คน ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มเป้าหมายมีสารเคมีตกค้างในเลือดอยู่ในระดับปกติ จำนวน 35 คน หรือ ร้อยละ 97.22 โดยจากที่เป็นกลุ่มเสี่ยง จำนวน 22 คน อยู่ในระดับปกติ 21 คน คิดเป็นร้อยละ 95.45 แต่มี 1 คน ยังอยู่ในระดับเสี่ยงเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 4.55 และ จากกลุ่มไม่ปลอดภัย จำนวน 14 คน อยู่ในปกติทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100.00 ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นวิธีการจัดการสารเคมีที่ตกค้างในเลือดที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับกลุ่มเกษตรกรและกลุ่มผู้บริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักโรคประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข. ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชต่อสุขภาพคนไทย [ออนไลน์]. 2554 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงจาก https://thaipan.org/data/369.
นิรมล ธรรมวิริยสติ และ คณะ. ระดับเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรัมต่อผลกระทบสุขภาพของผู้บริโภคผักผลไม้สด.วารสารการวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562: 13 (2): 52 – 61.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. อันตรายจาการสัมผัสสารเคมีจากการเกษตร. [ออนไลน์]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงจาก https://www.facebook.com/%20BureauofEpidemiology%20/posts/2523597911069611/.
ทองถม ชะลอกุล และ คณะ. การจัดการโรคเรื้อรังแนวใหม่ ด้วยหลัก 4 อ. ( ยา 8 ขนาน) จังหวัดนครราชสีมา : คณะสาธารณสุขศาสตร์. 2563.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานสารเคมีตกค้างในเลือด ในกลุ่มเกษตรกรที่ใช้สารเคมี: เอกสารอัดสำเนา; 2563.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าลาดขาว. รายงานการประเมินเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในกลุ่มเกษตรกรและการใช้สารเคมีในครัวเรือน ตำบลท่าลาดขาว อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา : เอกสารอัดสำเนา; 2562.
กองโรคไม่ติดต่อ. ผลกระทบของสารเคมีที่ตกค้างในเลือดต่อสุขภาพ. [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563]. เข้าถึงจาก http://www.thaincd.com.
อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ และ พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์. การพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ ในการป้องกันโรคและภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรัง ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 2565: 28 (1): 88-100.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรึก. รายงานการการประเมินผลโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตำบลทุ่งอรุณ อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา: เอกสารอัดสำเนา; 2562.
สมเกียรติ อินทะกนก, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์, อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง, รชานนท์ ง่วนใจรัก, ชูสง่า สีสัน และ ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์. การพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง: กรณีศึกษาพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำซับ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา 2564: 27 (1): 56-67.
นุชรัตน์ มังคละคีรี และ คณะ. ผลของวิธีการต้มรางจืดต่อระบบโคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยของแก่น 2560: 5 (2): 362-377.
ภัทราธร จรรยาเลิศอดุลย์ และ คณะ. ผลของสารน้ำสกัดรางจืดต่อระบบเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสในเลือดของเกษตรกรที่เคยสัมผัสสารพิษกำจัดศัตรูพืชในจังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา 2556: 17 (1): 52-63.
Kemmiss and Mc taggrat. The Action research planner.3rd ed. Deakin University press: Victoria; 1980.
Bandura. Self–efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 1977: 84 (2): 191-215.
ศิริพร พึ่งเพ็ชร์. การพัฒนารูปแบบกรสอนภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับลีลา การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน. นครราชสีมา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 2553.
Taba and Hida. Curriculum Development Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace&World; 1962.
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม. รายงานผลการวิจัยเรื่อง การศึกษาพัฒนาแนวทางการลดสารเคมีในการเกษตรด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม กรณีศึกษา อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: 2557; เอกสารอัดสำเนา.
วิชัย วงษ์ใหญ่. การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา. เอกสารประกอบการสอนนักศึกษาปริญญาเอก รุ่นที่ 4 มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล: อัดสำเนา; 2553.
ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์ และ อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง. การพัฒนาศักยภาพนักศึกษาในการเยี่ยมบ้านคลายทุกข์ ตำบลหนองพลวง อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 19 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. เชียงใหม่: 2562; 105-118.
รชานนท์ ง่วนใจรัก, นฤพร พร่องครบุรี, วรลักษณ์ สมบูรณ์นาดี, ทองทิพย์ สละวงษ์ลักษณ์, พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ และ อรรถวิทย์ สิงห์ศาลาแสง. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแนวใหม่ด้วยหลัก 4 อ. ตำบลตะขบ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสุขศึกษา 2565: 45 (1): 40-55.
Kanfer, F. Self-management methods.In Kanfer,F. and A.P.Glodstein. (EDs.). Hellping people change: Atextbook of methods. (3rd ed.) New York:Pergamon; 1988.
เริงฤทธิ์ ทองอยู่, ดวงพร ปิยะคง และ สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลอย่างมีเป้าหมายร่วมกันต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2562: 37 (2): 103-112.
King IM. A Theory for Nursing: System, Concepts, Process. New York: Wiley Century-Crofts; 1981.
ชุติมา ทองวชิระ และ คณะ. ชุมชนสุขภาวะบนพื้นฐานศักยภาพของชุมชนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย: กรณีศึกษาชุมชนท่าเสด็จอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2561: 5 (1): 51-61.