ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ถิระวรรษ บุตรโพธิ์ศรี
นาฏนภา หีบแก้ว ปัดชาสุวรรณ์

บทคัดย่อ

โรคโควิด-19 (COVID-19) เป็นโรคอุบัติใหม่ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากมีการระบาดใหญ่ไปทั่วโลก การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยกึ่งทดลองสองกลุ่ม โดยกลุ่มทดลองคือ อสม.ตำบลบ้านโคก จำนวน 33 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ อสม.ตำบลกุดธาตุ จำนวน 33 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ประกอบด้วย กิจกรรม อสม.เข้าถึงได้ อสม.เข้าใจดี อสม.มีไตร่ตรอง อสม.ทดลองทำ กิจกรรม ปฏิบัติจริง และกิจกรรมสรุปการเรียนรู้ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการส่งเสริมการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขตามปกติ ระยะเวลาดำเนินการวิจัย 10 สัปดาห์ เก็บรวบรวบข้อมูลด้วยแบบสอบถามได้แก่ ข้อมูลทั่วไป ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Independent t – test และ Paired t – test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัย พบว่า 1) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเฝ้าระวังโรค โควิด-19 สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 4.33, 95%CI 3.81 ถึง 4.79, p < 0.001) และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 4.42, 95%CI 3.97 ถึง 4.87, p < 0.001) และ 2) หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 8.33, 95%CI 7.36 ถึง 9.30, p < 0.001) และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mean difference 10.69, 95%CI 9.70 ถึง 11.69, p < 0.001) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 และพฤติกรรมการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 ในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ด้วยรูปแบบการเฝ้าระวังโรคโควิด-19 “สอบติด ร. ม3” ร่วมกับกิจกรรมความรอบรู้ด้านสุขภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anuttra Ratnarathon. Coronavirus infectious disease-2019 (COVID-19) : a case report, the first patient in Thailand and outside China. Journal of Bamrasnaradura Infect, 2020; 14(2): 116-23

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถาณการณ์ผู้ติดเชื้อ โควิด-19 อัพเดทรายวัน. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2564]: เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/covid19-dashboard/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. ระบบสารสนเทศโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : จังหวัดขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2564]: เข้าถึงได้จาก https://covid19.kkpho.go.th/situation

โรงพยาบาลหนองนาคำ. สถานการณ์ COVID-19 อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 31 ตุลาคม 2564]: เข้าถึงได้จาก https://datastudio.google.com/u/0/reporting

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. รู้ทันภัยข้อมูลภาพออนไลน์. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนาเพื่อการแปลงานวิจัยสุขภาพสู่การปฏิบัติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2559

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. Health literacy and public health: a systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 2012; 12(80): 1-13.

Arunothai Pathan & Sirima Mongkolsomlit. Effectiveness of Mental Health Care Literacy Promotion Program of Elderly People among Village Health Volunteers, Pathumthani Municipalality Province. Journal of Behavioral Science for Development (JBSD), 2020; 12(2): 215-232

เชษฐา งามจรัส. การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2564

เอื้อจิต พูนสุข และคณะ. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและ พฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563: 29 (3): 419-429

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิทยพัฒน์จำกัด; 2552

Rojanat Choojai, Chonticha Boonsiri and Kamonporn Patcheep. Effects of a Health Literacy Enhancement Program for COVID-19 Prevention on Health Literacy and Prevention Behavior of COVID-19 among Village Health Volunteers in Don Tako Sub-district, Mueang District. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 2021; 8(1): 250-262.

Dale, E. Audio-visual methods in teaching (3rded.). New York : Dryden Press;1969

Roger R.W. Protection Motivation Theory Health Education Research Theory and Practice. 1986: 153-161

Kritsapon Thepin, Sutteeporn Moolsart and Napaphen Jantacumma. Effectiveness of a Health Literacy Developmental Program in Patients with Uncontrolled Hypertension. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 2019; 11(1): 197-212.