ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาบตาพุด จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นโรคที่มีความรุนแรง การควบคุมการบริโภคอาหารเป็นพฤติกรรมเป้าหมายสำคัญสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในการควบคุมน้ำตาลในเลือดและลดโอกาสของการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) มาบตาพุด จังหวัดระยอง กลุ่มทดลองเป็นผู้ป่วยเบาหวาน 40 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิตามเพศ ในวันที่มีคลินิกเบาหวาน 3 ครั้งติดต่อกัน เพื่อจัดเป็นกลุ่มการทดลอง 3 กลุ่มย่อย เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมการทดลองเป็นเวลา 12 สัปดาห์ กิจกรรมการทดลองได้รับการพัฒนามาจากแบบจำลองการกำกับตนเองในการควบคุมโรคเรื้อรังของคลาร์ก เพื่อให้ความตรงภายในของการวิจัยสูง กลุ่มเปรียบเทียบที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มทดลองจำนวน 40 คน ในด้าน เพศ อายุ ระยะเวลาป่วย และระดับน้ำตาลในเลือด ได้คัดเลือกจากคลินิกเบาหวานในสัปดาห์ต่อๆ ไป รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง โดยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired sample’s t-test
ผลการทดลองพบว่า โปรแกรมการจัดการตนเองเป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิผล ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของน้ำตาลในเลือดลดลงจากระดับน้ำตาลสูง ( =166.10 mg/dl) มาอยู่ในระดับที่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ ( =125.93 mg/dl) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เนื่องจากมีการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมขึ้น มีการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารที่ดีขึ้น มีความคาดหวังในผลที่จะลดภาวะแทรกซ้อนจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น และมีการจัดการตนเองในการควบคุมน้ำตาลในเลือดมากขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ดังนั้น ในการออกแบบกิจกรรมปรับพฤติกรรมในการจัดการกับโรค อาจเริ่มจากการรับรู้ความสามารถตนเอง และข้อมูลที่ใช้ควรสอดคล้องกับพฤติกรรมเป้าหมายที่จะปรับ
Article Details
References
American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes. Diabetes Care. 2017;40(Suppl 1):33-43.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติผู้ป่วยโรคเบาหวานทั่วโลก [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 14 เมษายน 2561]; เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd. com/document/info/non-communicable-disease.
วิชัย เอกพลากร. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย. วารสารเบาหวาน 2560;49(1):7-14.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2554. นนทบุรี: มูลนิธิเพื่อพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2557. หน้า 6.
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพ (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. (2561). การป่วยการตายด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 11 กรกฎาคม 2561]; เข้าถึงได้จาก http:/hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index pk.php.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560. หน้า 35, 45.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด. 2554. หน้า จ.
สุธีรา บุญแต้ม, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขศึกษา 2556;36(123):65-80.
ศุภัชฌา สุดใจ, สุปรียา ตันสกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมส่งเสริมการบริโภคอาหารประยุกต์แบบจำลองข่าวสาร แรงจูงใจและทักษะพฤติกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดนนทบุรี. วารสารสุขศึกษา 2559;39(132):35-50.
Green LW & Kreuter MW. Health promotion planning: An educational and ecological approach 3rd Ed. CA: Mayfield; 1999. pp. 113-116.
Green LW, Kreuter MW, Deeds SG, & Partridge KB. Heath education planning: A diagnostic approach. Palo Alto, CA: Mayfield; 1980.
Clark NM, Gong M, & Kaciroti N. A model of self-regulation for control of chronic disease. Health education & behavior 2001;28(6):769-782.
Bandura A. Perceived self-efficacy in cognitive development and functioning. Educational Psychologist 1993;28:117-148.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Second Edition. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers; 1988.
Cohen J. Quantitative methods in psychology: A power primer. Psychological Bulletin 1992;112(1):155-159.
นิรัตน์ อิมามี. เครื่องมือการวิจัยใน เอกสารประมวลสาระชุดวิชาสถิติและการวิจัยในการจัดการสุขภาพ หน่วยที่ 9. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2554.
วิชัย เทียนถาวร. ระบบการเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มปกติ/กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556. หน้า 20.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560. ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็นมีเดียจำกัด; 2560. หน้า 5, 50-58.
Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice, 5th Ed. NJ: Pearson Education; 2006. pp. 57-59.
สุรีย์พร ปัญญาเลิศ, นิรัตน์ อิมามี และวรากร เกรียงไกรศักดา. การกำกับตนเองในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวาน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสุขศึกษา 2560;40(1):69-81.
อรวรรณ มุงวงษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, สุปรียา ตันสกุล และนิรัตน์ อิมามี. โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองในการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดนครปฐม. วารสารกรมการแพทย์ 2560;42(5):62-70.
อุมาลี ธรศรี, พัชราณี ภวัตกุล, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ และกานดาวสี มาลีวงษ์. โปรแกรมส่งเสริมโภชนาการ: ลดหวาน มัน เค็ม ประยุกต์การกำกับตนเองและแรงสนับสนุนจากครอบครัวในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 2561;48(3):284-295.