ประสิทธิผลของโปรแกรมเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

Onnuch Moudkoon
Manirat Therawiwat
Kwanmuang Kaeodumkoeng
Nirat Imamee

บทคัดย่อ

การวิจัย กึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 65 คน เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 35 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน ที่พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์แนวคิดแบบจำลองการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะด้านพฤติกรรม  เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ มีกิจกรรมสร้างเสริมความรู้โดยการบรรยายประกอบสื่อสไลด์ สาธิตการสวมถุงยางอนามัยและฝึกปฏิบัติ  ฝึกทักษะการเจรจาต่อรองและการปฏิเสธ  การเสริมสร้างแรงจูงใจผ่านกลุ่มไลน์ การเรียนรู้จากตัวแบบทางบวก  ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired samples t-test และ Independent samples t-test  ผลการทดลอง กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องเพศศึกษาและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน เจตคติต่อการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียน การรับรู้ความสามารถตนเองและพฤติกรรมป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยเรียนดีกว่าก่อนการทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนั้นสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ในการจัดการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาให้แก่นักเรียนวัยรุ่นโดยปรับใช้ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของนักเรียนและบริบทของโรงเรียนได้  

Article Details

บท
Articles