ผลของการสอนด้วยสื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวเมื่อตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป ต่อความรู้และความพึงพอใจของสตรีที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติ

Main Article Content

เกตุแก้ว เจ็งประเสริฐ
สุวิมล คงรอต

บทคัดย่อ

     การให้ความรู้แก่ผู้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกที่มีผลการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกผิดปกติเป็นสิ่งสำคัญสามารถลดความวิตกกังวล ที่ผ่านใช้ภาพพลิกอาจไม่น่าสนใจและใช้เวลาสอนมาก อย่างไรก็ตามการใช้วีดิทัศน์เป็นสื่อการสอนที่นำเสนอได้ทั้งภาพเสียงที่สมจริงไปพร้อมกัน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบ 2 กลุ่ม ก่อน – หลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปและความพึงพอใจระหว่างกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อ วีดิทัศน์ กับกลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยภาพพลิกและโมเดลในสตรีที่มีผลการตรวจมะเร็งปากมดลูกผิดปกติที่หน่วยตรวจผู้ป่วยนอกนรีเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงในสตรีกลุ่มดังกล่าวโดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 40 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ทดสอบความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป ทั้งก่อนสอน และหลังสอน รวมทั้งตอบแบบประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิกและโมเดล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติบรรยาย เปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างกลุ่มด้วยไคสแควร์ เปรียบเทียบคะแนนความรู้ และความพึงพอใจระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่มด้วยสถิติที เปรียบเทียบคะแนนประเมินคุณภาพของสื่อวีดิทัศน์และภาพพลิกระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติทดสอบทีอิสระ ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคปเปรียบเทียบก่อนสอน หลังสอน รวมทั้งความเหมาะสมของการออกแบบข้อความบนจอภาพและความชัดเจนของภาพประกอบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีคะแนนความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวเมื่อตรวจด้วยกล้องคอลโปสโคป ระหว่างการสอนผู้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูก  ทั้ง 2 วิธี ไม่แตกต่างกัน จากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่ารูปแบบการสอนทั้งสองวิธีได้ผลไม่แตกต่างกันแต่การสอนโดยใช้สื่อวิดีทัศน์ มีคุณภาพดีกว่าภาพพลิก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (พ.ศ. 2556-2560). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด; 2556.

จตุพล ศรีสมบูรณ์ และชำนาญ เกียรติพีรกุล. มะเร็งนรีเวชวิทยา. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี จำกัด; 2554.

Quek SC, Lim BK, Domingo E, Soon R, Park JS, Vu TN, et al. Human papillomavirus type distribution in invasive cervical cancer and high-grade cervical intraepithelial neoplasia across 5 countries in Asia. Int J Gynecol Cancer 2013;23(1):148-156.

Bray F, Ferlay J, Soerjomataram I, Siegel RL, Torre LA, Jemal A. Global cancer statistics 2018: GLOBOCAN estimates of incidence and mortality worldwide for 36 cancers in 185 countries. CA Cancer J Clin 2018;68(6):394-424.

Imsamran W, Chaiwerawattana A, Wiangnon S, Pongnikorn D, Suwanrungrung K, et al eds. Cancer in Thailand Volume VIII, 2010-2012. Bangkok: New Thammada Press Co., Ltd; 2015.

ชัชวาลย์ เพ็ชรกอง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารสุขศึกษา 2562;42(2):23-32.

สมฤทัย บุญชูดวง, วิภารัตน์จุฑาสันติกุล, อาพรรณ จันทโรกร และวิรัตน์ วศินวงศ์. ผลการใช้สื่อวีดิทัศน์เรื่องการฝึกหายใจแบบมี ประสิทธิภาพเพื่อเตรียมตัวผู้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกก่อนได้รับยาระงับความรู้สึก. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555;27(2):139–146.

Grant J, Moss J, Epps C, Watt P. Using video-facilitated feedback toimprove student performance following high-fidelity simulation. Clinical Simulation in Nursing 2010;6(5):177-184.

Ozturk D, Dinc L. Effect of web-based education on nursing students’urinary catheterization knowledge and skills. Nurse Educ Today 2014;34(5):802-808.

พิชานี แหล่งสท้าน และรุจิรา ดวงสงค์. ผลโปรแกรมสุขศึกษาร่วมกับสื่อหนังสั้นเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ในตับอายุ 40-59 ปี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสุขศึกษา 2563;43(2):1-17.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2556.

Glass GV. Prymary Secondary and Meta – Analysis of Research. Education Research 1976;52(07):117-125.

ศศิกานต์ กาละ, สุนันทา ยังวนิชเศรษฐ และโสเพ็ญ ชูนวล. ผลของการสอนด้วยสื่อวีดิทัศน์ต่อความรู้และทักษะการปฏิบัติ การพยาบาลในห้องคลอดของนักศึกษา พยาบาล. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26(2):111–120.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd Ed. New York: Academic; 1998.

พัชราภรณ์ วิริยะประสพโชค และศิลปะ ไชยขันธ์. ประสิทธิภาพของการสอนญาติ ผู้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกหลังผ่าตัดตาต้อกระจกโดยใช้สื่อวีดีทัศน์ หอผู้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกโสตศอนาสิกและจักษุ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร 2555;4(2):43-53.

มัทนา สังวาล และนิตยา โรจนนิรันดร์กิจ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของสื่อการสอนระหว่างสื่อวีดิทัศน์กับภาพพลิก ในด้านความรู้เรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและทักษะการให้นมมารดาของ สตรีหลังคลอด. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2558;29(1):56-66.