การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • สุวิทย์ กาชัย -
  • ชุมพล กาไวย์
  • วันวิสาข์ ชูจิตร

บทคัดย่อ

การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) จังหวัดลำปาง เพื่อศึกษาสถานการณ์ และความสัมพันธ์ของปริมาณฝุ่น PM 2.5 กับการเสียชีวิต และจำนวนผู้ป่วยกลุ่มโรคที่เฝ้าระวังผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จังหวัดลำปาง ได้แก่ กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด โรคผิวหนัง โรคตา โดยใช้ข้อมูลค่าเฉลี่ย PM 2.5 (เฉลี่ย 24 ชม.) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ ข้อมูลการตาย จากฐานข้อมูลมรณบัตร กรมการปกครอง ข้อมูลผู้ป่วยนอกจากหน่วยบริการสาธารณสุข จำแนกตามการวินิจฉัยโรคตามรหัสโรค (ICD-10) เป็นการศึกษาแบบอนุกรมเวลา วิเคราะห์การถดถอยแบบอนุกรมเวลา (Time-series Regression Design) ที่มีการกระจายตัวแบบปัวซองค์ (Poisson Distribution) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ PM 2.5 รายวัน กับจำนวนเสียชีวิต และจำนวนผู้ป่วย ตามกลุ่มโรค รายวัน โดยพิจารณา Lag time ที่ 0-7 วัน (8) โดย Lag time ที่มี p-value น้อยที่สุดจะเป็นตัวแทน และคาดการณ์ผลกระทบต่อสุขภาพจากระดับ PM 2.5 แสดงด้วยค่าความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative Risk: RR) การศึกษาพบว่าเมื่อรับสัมผัส PM 2.5 เพิ่มขึ้น 10 µg/m³ มีความเสี่ยงสัมพัทธ์การเสียชีวิตด้วยโรคระบบปอดอุดกั้นเรื้อรัง 1.0053 (95% CI: 1.0021, 1.0085) และการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด 1.0031 (95% CI: 1.0002 1.0060) ส่วนความสัมพันธ์กับการเข้ารับรักษาพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกพบว่าโรคระบบทางเดินหายใจมีความเสี่ยงสูงสุดที่ LAG 0 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0021 (95% CI: 1.0020 1.0022), โรค COPD ความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 2 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.001861 (95% CI: 1.001442 1.002279), โรคหัวใจขาดเลือดมีความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 1 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0012 (1.0007 1.0017), โรคหลอดเลือดสมองมีความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 2 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0022 (1.0016 1.0028), โรคผิวหนังมีความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 2 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0017 (95% CI: 1.0013 1.0021), โรคตา ความเสี่ยงสูงสุดที่ Lag 0 ความเสี่ยงสัมพัทธ์ 1.0022 (95% CI: 1.0018 1.0026) ข้อมูลนี้จะเป็นหลักฐานของความสัมพันธ์ระหว่างฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนและปัญหาสุขภาพ อันจะนำไปใช้ในการกำหนดมาตรการคุ้มครองสุขภาพต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/25/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย