ผลของโปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการผ่าตัดคลอดครั้งแรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุกัญญา ศรีเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : ความรู้ในการดูแลตนเอง, ระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์, การผ่าตัดคลอดครั้งแรก

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยด้วยซึ่งสูงกว่าอัตราการผ่าตัดคลอดที่องค์การอนามัยโลกกำหนด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการผ่าตัดคลอดครั้งแรก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่วิจัยเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการผ่าตัดคลอดครั้งแรก แบ่งเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม 2 ส่วน ประกอบด้วย โปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ และแบบสอบถามโปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์ ที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ค่า CVI เท่ากับ 0.95 และ หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20) = 0.50 ความเชื่อมั่นปานกลาง นำมาหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 1.04 และ 0.99 ตามลำดับ

วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1. หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001) 2.หลังเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มทดลองสามารถปฏิบัติตนในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001)

ดังนั้นการใช้ โปรแกรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองระยะหลังผ่าตัดของหญิงตั้งครรภ์สามารถช่วยให้หญิงตั้งครรภ์กลุ่มดังกล่าวมีความพร้อมในการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ปฏิบัติตนได้ถูกต้อง สามารถจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้

References

Marianne E Weiss , Linda B Piacentine, Lisa Lokken, et al. Perceived Readiness for Hospital Discharge in Adult Medical-Surgical Patients. Clinical Nurse Specialist. 2007;21: 31-42. [internet]. (c2007). [cited 17 January 2024]. Available from: https:// pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/ 17213738 /doi : 10.1097/00002800-200701000-00008

ช่อกนก ป้อมหิน , อุไรศรี ปัญหา. การพัฒนารูปแบบการให้ข้อมูลผ่านสื่อวีดีทัศน์ระบบสแกน QR code ในการเตรียมความพร้อม สำหรับผู้ป่วยที่รับยาระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัด แผนกวิสัญญี โรงพยาบาลศรีสะเกษ.[อินเทอร์เนต]. ศรีสะเกษ : โรงพยาบาลศรีสะเกษ ; [เข้าถึงเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2567], เข้าถึงได้จาก http://203.157.165.36/ssko_presents/file_presents/3339900058927-25-2106.pdf

World Health Organization. WHO recommendations on antenatal care for a positive pregnancy experience 2016;1: [internet]. (c1970). [cited 17 Jan 2024]. Available from: https://iris.who.int/bitstream/ handle/10665/250796/9789241549912-eng.pdf?sequence=1

ภิชารีย์ กรุณายาวงศ์ , วรรณฤดี อิสรานุวัฒน์ชัย , นพ.ภิเศก ลุมพิกานนท์ นพ.พิษณุ ขันติพงษ์ และ ชัยยศ คุณานุสนธิ์. แนวโน้มการผ่าคลอดในไทย เพิ่มสูง: ถึงเวลาต้องพูดคุยอย่างจริงจังแล้วหรือไม่. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายสุขภาพ 2565 ;10: 139-142

Yeneabeba Tilahun Sima, Maria Christine Magnus, DLiv Grimstvedt Kvalvik, el al. The relationship between cesarean delivery and fecundability: a population-based cohort study. American journal of Obstetric Gynecology October 2023; 23:00759-7 [internet]. (c1970). [cited 17 Jan 2024]. Available from: DOI: https://doi.org/10.1016/j.ajog.2023.10.029

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี.ฝ่ายบริการพยาบาล. สถิติหน่วยงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. ราชบุรี: โรงพยาบาล; 2567

Wylie BJ, Gilbert S, Landon MB, et al. Comparison of transverse and vertical skin incision for emergency cesarean delivery. Obstetrics and gynecology. 2010;115(6):1134-40.

Bloom, B.S. (Ed.). Englehart, M.D., Furst, E.J., Hill, W.H., Krathwohl, D.R. Taxonomy Of Educational Objectives, Handbook I: The Cognitive Domain. New York: David McKay Co Inc.2014 ;30: 1629-1641 [internet]. (c2014). [cited 17 Jan 2024]. Available from: https://www.scirp.org/pdf/CE

Cohen J. Quantitative methods in psychology: A power primer. [Internet]. 2018 [cited 2024 Jan 23]. Available from: URL https://doi.org/10.1037/0033-2909.112.1.155

Faul, F et.al. Statistical Power Analyses Using G*Power 3.1: Tests for Correlation and Regression Analyses. [Internet] . 2009 [cited 2019 Aug 23]. Available from: URL https://doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149

ขวัญจิตร ศักดิ์ศรีวัฒนา. ผลการใช้รูปแบบการปฏิบัติการพยาบาลอย่างมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ ต่อการรับรู้ความมีคุณค่าในตนเองของหญิงที่มารับการผ่าตัดคลอด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา ; 2560.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Likert, R. “The Method of Constructing and Attitude Scale,” in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son 1967 : 90-95.

Best and Kahn James V. Research in Education. 7 th ed. Boston: Allyn and Bacon.1993

Ayre, C., & Scally, A. J. Critical values for Lawshe’s content validity ratio: revisiting the original methods of calculation. Measurement and Evaluation in Counseling and Development. 2014; 47(1) : 79-86. [internet]. (c2014). [cited 17 January 2024]. Available from: https://doi.org/10.1177/0748175613513808

Cronbach, L. Essentials of Psychological testing. (5th ed). New York: Harper.1990

ดวงดี, ศรีสุขวัน, วันทนา, มาตเกตุ, และ นฤวรรณ, นิไชยโยค. ศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อความรู้และความสามารถในการปฏิบัติตนของมารดาหลังคลอด. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2563; 3(2): 37-43.

ฐิตารีย์ อิงไธสง. ผลของการใช้โปรแกรมการเตรียมความพร้อมระงับความรู้สึกแบบฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังต่อความรู้และพฤติกรรมการปฏิบัติตนของหญิงตั้งครรภ์ครรภ์แรกนัดผ่าคลอดที่ โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2564; 4(2): 15-24

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11/19/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย