ผลของการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ ในแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: การติดเชื้อดื้อยา, การติดเชื้อในโรงพยาบาล, การพัฒนาคุณภาพโดยความร่วมมือบทคัดย่อ
การส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพในรูปแบบที่เหมาะสม เป็นแนวทางสำคัญในการช่วยเพิ่มคุณภาพการพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยา ในแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานในแผนกหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า Fisher’s exact probability test
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ พบว่าการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.1 เป็น ร้อยละ 96.3 ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.000) และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19)
กล่าวได้ว่า การส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาโดยความร่วมมือของพยาบาลวิชาชีพ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล
References
World Health Organization. Regional strategy on prevention and containment of antimicrobial resistance. Geneva: World Health Organization; 2020.
ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. สถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในไทย. กรุงเทพฯ; ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ; 2562.
Hamberger H, Walther S, Leone M, Barie S, Rello J & Lipman J. Increasedmortality associated with meticillin- resistant Staphyllococcus aureus (MRSA) infectionin the intensive care unit: results from the EPIC II study. International Journal ofAntimicrobial Agents. 2019; 38(4): 331-335.
ภาณุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย, ดวงรัตน์ โพธะ, อาทร ริ้วไพบูลย์, สุพล ลิ้ม วัฒนานนท์. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จาก การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษา เบื้องต้น. ว.วิจัยระบบสาธารณสุข. 2558; 6(3): 352-360.
Chen, YC & Chuang YC. Modelling the impact of infection control measures on the incidence of vancomycin-resistance enterococci: a time-series analysis. BMC Proc. 2021; 5(6): 25-36.
อะเคื้อ อุณหเลขกะ, สุชาดา เหลืองอาภาพงศ์ และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. การป้องกันการติดเชื้อดื้อยาในหออภิบาลผู้ป่วย. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.); 2557.
ขวัญตา กล้าการนา. ผลของโปรแกรมการส่งสริมความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลต่อการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อสแตปฟิโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อต่อยาเมธิซิลลินในหอผู้ป่วยหนัก. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.
นุชจรีย์ ชัยขันท์, อะเคื้อ อุณหเลขกะ และ นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล. การพัฒนาระบบเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พยาบาลสาร. 2563; 47(2): 122-132.
Bearman G, Rosato AE, Duane TM, Elam K, Sanogo K & Haner C, et al. (2017). Trial of universal gloving with emollient-impregnated gloves to promote skin health and prevent the transmission of multidrug-resistant organisms in a surgical intensive care unit. Infection Control & Hospital Epidemiology 2017; 31(5):91-497.
โรงพยาบาลลำพูน. รายงานอัตราการเกิดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลลำพูน ปี 2565. ลำพูน: โรงพยาบาลลำพูน; 2565
The Institute for Healthcare Improvement. The Breakthrough Series: IHI’s Collaborative Model for Achieving Breakthrough Improvement. Boston, Massachusetts: The Institute for Healthcare Improvement; 2013.
Luckenbaugh AN, Miller, DC & Ghani KR. Collaborative quality improvement. Curr Opin Urol 2017; 27(4): 395-401.
วิจิตย์ ทองแสน. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อดื้อยาของบุคลากรพยาบาล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. 2564: 4(1): 19-28.
กิตติรัตน์ สวัสดิ์รักษ์, จุทารัตน์ บางแสง, ชลนรรจ์ แสนชั่ง, สายตา จังหวัดกลาง, มาลีทิพย์ อาชีวกุลมาศ, วรรณวฉัช วรรธนะมณีกุล และศันสนีย์ ชัยบุตร. ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต่อการปฏิบัติของพยาบาลในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2558; 23(1): 15-23.
อัษฎางค์ สุทนต์. ผลของการปฏิบัติด้วยวิธีผสมผสานเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2565; 6(12): 70-83.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.