การพัฒนาระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ ที่เป็นเบาหวาน ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลวังชิ้น

ผู้แต่ง

  • จารุนิล ไชยพรม โรงพยาบาลวังชิ้น อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่

คำสำคัญ:

การพัฒนาระบบ, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง, หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานและการให้บริการในคลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลวังชิ้น 2) พัฒนาระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน 3) ศึกษาผลการใช้ระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย
สหวิชาชีพในโรงพยาบาลวังชิ้น ได้แก่ ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล แพทย์ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก พยาบาลในคลินิกฝากครรภ์ นักกายภาพบำบัด และนักโภชนาการ โรงพยาบาลวังชิ้น จำนวน 11 คน หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน อายุครรภ์ระหว่าง 12–28 สัปดาห์ ที่มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลวังชิ้น ในช่วงระยะเวลาดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม-กันยายน 2566 จำนวน 20 คน ดำเนินการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง แบบประเมินคุณภาพของระบบ แบบบันทึกระดับน้ำตาลในเลือด แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจุบันการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานขาดความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันของทีมสหวิชาชีพและครอบครัวในการวางแผนการรักษาและดูแลสุขภาพตนเอง หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เนื่องจากขาดความรู้ ความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ไม่ได้รับคำแนะนำและไม่มีการติดตามหรือสนับสนุนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองจากพยาบาล 2) ระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย (1) ปัจจัยนำเข้า: การคัดกรองและวินิจฉัยโรคเพื่อจัดทำฐานข้อมูล (2) กระบวนการ: การวางแผนทางการพยาบาล และปฏิบัติตามคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง 5 ขั้นตอน คือ การประเมินสภาพ การให้คำแนะนำ การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน การวางแผนร่วมกัน และการติดตามให้ความช่วยเหลือ (3) การติดตามผลลัพธ์: ติดตามความรู้หญิงตั้งครรภ์ด้านความรู้ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง และการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด (4) การให้ข้อมูลย้อนกลับ: การติดตามทางโทรศัพท์ การเยี่ยมบ้าน การให้ข้อมูลทาง Line Open Chat 3) ผลการใช้ระบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน พบว่า หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานมีความรู้เรื่องเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่าก่อนใช้ระบบ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ หญิงตั้งครรภ์และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

References

International Diabetes Federation [IDF]. (2017). Care & prevent gestational diabetes. Retrieved from https://www.idf.org/our-activities/ careprevention/ gdm.html

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.

เจนพล แก้วกิติกุล และคณะ. (2555). ภาวะ แทรกซ้อนของมารดาและทารกในหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ที่มารับบริการในโรงพยาบาลพิจิตร. วารสารโรงพยาบาลพิจิตร, 27(2), 70-82.

Poth, M., & Carolan, M. (2013). Pregnant women’s knowledge about the prevention of gestational diabetes mellitus: A qualitative study. British Journal of Midwifery, 21, 692-701.

American College of Obstetricians and Gynecologists. (2013). ACOG practice bulletin no. 137: gestational diabetes. Obstet Gynecol. 122:406-16.

กนกวรรณ ฉันธนะมงคล. (2556). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรมนรีเวชและศัลยกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักท์.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. (2002). Health promotion in nursing practice. 4th ed. Upper Saddle River, NJ: Pearson.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. (2006). Health promotion in nursing practice. 5th ed. Jurong, Singapore: Pearson.

Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice (6th ed.).

Glasgow, R. E., Emont, S., & Miller, D. C. (2006). Assessing delivery of the five A’s for patient-centered counseling. Health Promotion International, 21(3), 245-55.

Poth, M., & Carolan, M. (2013). Pregnant women’s knowledge about the prevention of gestational diabetes mellitus: A qualitative study. British Journal of Midwifery, 21, 692-701.

วลัยลักษณ์ สุวรรณภักดี, มลิวัลย์ บุตรดำ, ทัศณีย์ หนูนารถ, และอื่นๆ. (2019). ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์:บทบาทพยาบาลกับการดูแล. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 9(2),100-13.

Creer. (2000). Self-management. In M Bockaert, PR Pintrich, M Zeidner (Eds.), Handbook of self- regulation. San Diego; California: Academic Press.

Bloom, B. S. (1964). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. New York: David McKay.

ณัฐภัสสร เดิมขุนทด, ประสิทธิ์ ลีวัฒนภัทร. (2560). การศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้เรื่องเบาหวานต่อระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. Vajira Nursing Journal, 19: 33-41.

อังศินันท์ อินทรกำแหง อรพินทร์ ชูชม วรสรณ์ เนตรทิพย์ พัชรี ดวงจันทร์. (2552). การบริหารจัดการและประเมินโครงการเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของหน่วยงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 28-38.

กฤษณี สุวรรณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี และสุพิศ ศิริอรุณรัตน์. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริม การจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลในเลือดในหญิงที่เป็นเบาหวานจากการตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 1-13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03/08/2024

ฉบับ

บท

บทความวิจัย